Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29503
Title: อุปสรรคในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียต ในยุคหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2
Other Titles: Obatacles in Thai-Soviet relations after the second Indochina war
Authors: ภรณ์พรรณ์ สุขสวัสดิ์
Advisors: วิวัฒน์ มุ่งการดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยกับสหภาพโซเวียตในยุคหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 ไม่อาจพัฒนาให้ดีขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่ได้โดยมีสมมติฐานว่า การที่สหภาพโซเวียตขยายบทบาทเข้ามาเป็นพันธมิตรกับเวียดนามในปี 1978 และให้ความช่วยเหลือเวียดนามในปัญหากัมพูชาทำให้เวียดนามมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทางด้านการทหาร ได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่ไทยเป็นอย่างมาก ทำให้ไทยและสหภาพโซเวียตไม่อาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างเท่าเทียมกับมหาอำนาจอื่นได้ ยิ่งไปกว่านั้น การกระทำดังกล่าวของสหภาพโซเวียตยังส่งผลให้ไทยหันไปปรับความสัมพันธ์กับจีนและสหรัฐฯซึ่งเป็นมหาอำนาจฝ่ายตรงข้ามของสหภาพโซเวียต จึงยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียตมากยิ่งขึ้น การศึกษาได้กระทำโดยแบ่งระยะเวลาของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียต ออกเป็น 3 ช่วงคือ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (1917-1945) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (1945-1975) และหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 (1975-ปัจจุบัน) แล้วศึกษาว่าในแต่ละช่วงเวลาไทยได้ดำเนินนโยบายอย่างไรต่อสหภาพโซเวียตและมีปัจจัยใดบ้างที่มีส่วนในการกำหนดแนว นโยบาย โดยได้แบ่งกลุ่มปัจจัยดังกล่าวออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับ ระหว่างประเทศ นอกจากนั้นยังได้ศึกษาถึงรูปแบบในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย ในอดีตที่ผ่านมา เพี่อนำมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์การดำเนินนโยบายของไทยต่อสหภาพ โซเวียตในแต่ละช่วงเวลาที่กล่าวมาข้างต้น จากการศึกษาพบว่า ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (1917-1945) นั้น ไทยไม่ปรารถนาจะมีการติดต่อสัมพันธ์กบสหภาพโซเวียต เนื่องจากมีความหวาดระแวงต่อท่าทีของพรรคบอลเชวิคที่ได้ประกาศในปี 1919 ว่าจะให้การสนับสนุนการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก ในช่วงเวลานี้ ปัจจัยระดับชาติคือความแตกต่างทางอุดมการณจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดแนวนโยบายของไทยต่อสหภาพโซเวียต ต่อมาในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (1947-1975) ซึ่งเป็นยุคที่สงครามเย็นได้เข้ามามีผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในเอเชียอาคเนย์ ผู้นำไทยมีทัศนคติที่เป็นปรปักษ์ต่อสหภาพโซเวียตโดยพิจารณาว่าสหภาพโซเวียตเป็นผู้สนับสนุนสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการทำสงครามขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคแถบนี้ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงของประเทศไทย ทำให้ไทยต้องผูกสัมพันธ์ทางการเมืองและการทหารกับสหรัฐฯ มากขึ้น สถานการณ์สงครามเย็นที่โลกแบ่งออกเป็น 2 ค่ายและไทยเข้าข้างสหรัฐฯ นั้นนับว่าเป็นอุปสรรคที่ขัดขวาง การมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียต ส่วนในยุคหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 ปีซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 1975 เป็นต้นมาอันเป็นยุคผ่อนคลายความตึงเครียด (Detente) ไทยได้ปรับปรุงแนวนโยบายต่อประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์ ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และไทยกับสหภาพโซเวียตได้พยายามที่จะหันมาพัฒนาความสัมพันธ์ที่มี ต่อกันให้ดีขึ้น แต่เมื่อสหภาพโซเวียตได้เข้ามาเป็นพันธมิตรกับเวียดนามและสนับสนุนเวียดนามในปัญหากัมพูชาก่อให้เกิดความวิตกกังวลในการเสียดุลอำนาจให้แก่ไทยเป็นอย่างมากจนกลาย เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง ในขณะเดียวกันไทยได้เขยิบเข้าไปมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนและสหรัฐฯมากขึ้นซึ่งทั้งสองประเทศเป็นฝ่ายต่อต้านสหภาพโซเวียต จึงยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียตมากขึ้น ฉะนั้นตราบใด ที่ปัญหากัมพูชายังคงอยู่ในสภาวะชะงักเช่นนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียต ก็มิอาจจะพัฒนาให้ดีขึ้นไปกว่านี้ได้ ทั้งๆที่มีความพยายามจากทั้งสองประเทศที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ดีขึ้นกว่าสภาพปัจจุบันก็ตาม
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study obstacles to the improvements of relations between Thailand and the Soviet Union subsequent to the Second Indochina War. The hypothesis is as follows: The encroachment of the Soviet Union in this region was evidenced by Soviet - Vietnamese alliance of 1978, followed by the Soviet support of Vietnam on the invasion of Kampuchea. Such moves have provided Vietnam with greater military strength, becoming a matter of great concern on the part of Thailand, bringing about limited Thai- Soviet relations in comparison with the other great powers. Moreover, the Soviet moves have compelled Thailand to align herself with china and the us., both of which are the Soviet Union’s adversaries, thereby, hindering further development of Thai - Soviet relations. This study traces the history of Thai - Soviet relations during 3 periods: the pre-World War II (1 91 7 -1 945), the post-World War II (1 945 -1975) and the post-Second Indochina War (1 975 - present), Each period is an attempt to identify the main obstacles in the relations between the two countries, with 3 levels of analysis being cited: the personal level, the national level and the international level. The study is supported by the traditional approaches of Thai foreign relations in order to shed light on each of the 3 different periods of Thai - Soviet relations. According to the study, Thailand had no desire during the pre - World War II (1917 - 1945) period of having contact with the Soviet Union. This was due to the Bolshevik pronouncement in 1919 supporting a worldwide proletariat revolution. In this period, therefore, the dominant factor in determining the relations between the two countries was that of the second level or differences in the national systems. In the post-World War II period, with the coming of the Cold War in Southeast Asia, the Soviet Union was perceived as a source of threat in its support of China's national liberation war. Alliance between Thailand and the US was established, reflecting the existing bipolar system, this scenario was viewed as a stumbling block in the relation between Thailand and the Soviet Union. In the post-Second Indochina War, or from 1975 onwards, generally known as the Detente period Thai foreign policy was marked by its flexibility in adjusting its relations with most communist countries, and Thai - Soviet relations improved considerably. But with the Soviet - Vietnamese alliance of 1978 and the intervention of Vietnam in Kampuchea with the support of the Soviet Union, the situation changed drastically. Thailand was deeply concerned over the loss of the balance of power in this region, thereby, preventing further development of good relations between Thailand and the Soviet Union. In the meantime, Thailand has adopted a policy of alignment with China and the us.; both are Soviet adversaries. Such alignment has aggravated the state of relations between Thailand and the Soviet Union. As long as there is a stalemate in the Kampuchean problem, with this configuration of power persisting, Thai - Soviet relations cannot be improved despite the fact that certain efforts are being made by the two countries.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29503
ISBN: 9745674566
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpun_su_front.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_su_ch1.pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_su_ch2.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_su_ch3.pdf8.75 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_su_ch4.pdf14.32 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_su_ch5.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_su_back.pdf11.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.