Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29533
Title: การเปรียบเทียบความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตนระหว่างผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตได้ กับผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้
Other Titles: A comparison of hypertension knowledge and self-practice between controlled and uncontrolled hypertensive patients
Authors: ยี่ซ่วน แซ่ต๊ก
Advisors: ประนอม โอทกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตนของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตได้ และกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ เลือกกลุ่มตัวอย่างตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งสิ้น 50 คู่ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ที่มีความตรงและความเที่ยง สร้างโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที (t - test) ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตได้ และกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ มีความรู้เรื่อง โรคความดันโลหิตสูงรวมทุกด้าน รายด้านและรายข้อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตได้ และกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ มีการปฏิบัติตนรวมทุกด้านและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตได้ปฏิบัติดีกว่ากลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2 ข้อคือ การรับประทานอาหารรสจืด และการรักษาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยาเอง
Other Abstract: This research was designed to study and compare the hypertension knowledge and self – practice between controlled and uncontrolled hypertensive patients. The subjects of study were fifty pairs of controllable and uncontrollable essential hypertensive patient. The instrument of study was interview guide which was designed and tested for validity and reliability by the researcher. The major finding were as follow: 1. There was no statistical significant difference at 0.5 level of the hypertension knowledge between the controlled and uncontrolled group. 2. The self – practice, in overall and in each aspect, between the controlled and uncontrolled group were no statistically significant difference at 0.5 By analyzing in each item, the study found that the controlled group had more mean score of low salt diet practicing and taking medicine regularly than uncontrolled group at 0.5 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29533
ISBN: 9745813303
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yisuan_sa_front.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open
Yisuan_sa_ch1.pdf8.28 MBAdobe PDFView/Open
Yisuan_sa_ch2.pdf24.18 MBAdobe PDFView/Open
Yisuan_sa_ch3.pdf9.3 MBAdobe PDFView/Open
Yisuan_sa_ch4.pdf18.79 MBAdobe PDFView/Open
Yisuan_sa_ch5.pdf13.76 MBAdobe PDFView/Open
Yisuan_sa_back.pdf27.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.