Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29537
Title: การเปรียบเทียบพัฒนาการด้านความจำเกี่ยวกับตำแหน่งของวัตถุ ที่ถูกซ่อนไว้ของทารกอายุ 9 เดือน ระหว่างทารกที่คลอดครบกำหนด และทารกที่คลอดก่อนกำหนด
Other Titles: A Comparison of the development of memory of hidden object position between nine months old fullterm infants and premature infants
Authors: พัชราวลัย เวทศักดิ์
Advisors: เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้านความจำเกี่ยวกับตำแหน่งของ วัตถุที่ถูกซ่อนไว้ของทารกอายุ 9 เดือน ระหว่างทารกที่คลอดครบกำหนดและทารกที่คลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นทารก อายุ 9 เดือน คลอดครบกำหนด น้ำหนักแรกคลอด ตั้งแต่ 2,500 กรัม ขึ้นไปจำนวน 30 คน และคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 30 คน จาก คลินิกสุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต 6 จังหวัดขอนแก่น โดยดำเนินการทดลองเป็นรายบุคคล และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบพิชเชอร์ เอ๊กแซค พร้อบแบบบิลิตี้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ทารกคลอดครบกำหนด ที่มีอายุ 9 เดือนมีความสามารถผ่านการทดสอบด้านความจำ เกี่ยวกับตำแหน่งของวัตถุที่ถูกซ่อนไว้ได้มากกว่า ทารกคลอดก่อนกำหนดในระดับอายุเดียวกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 เมื่อให้ค้นหาวัตถุในทันที 2. ทารกคลอดครบกำหนดและทารกคลอดก่อนกำหนด ที่มีอายุ 9 เดือน มีความสามารถ ผ่านการทดสอบด้านความจำเกี่ยวกับตำแหน่งของวัตถุที่ถูกซ่อนไว้เมื่อยืดระยะเวลาออกไป ได้ไม่แตก ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the development of memory of hidden object positions between nine months old full term infants and premature infants. Subjects were 30 nine months old full term infants whose body weight at birth was more than 2,500 gms. and 30 nine months old premature infants whose body weight at birth was less than 2,500 gms. They were selected from the Well Baby Clinic at Srinagarind hospital. Faculty of Medicine, Khonkaen University and khonkaen province’s 6 th Division Health Promotion Center. The infants individually tested. The data were analyzed by using the Chi- square test and Fisher Exact Probability test. Result show that:1.Nine months old full term infants showed significantly more capacity to pass the memory test of hidden object positions than nine months old premature infants in the no delay condition (p<.05). 2. Nine months old full term infants and premature infants showed no significant difference in passing the memory test of hidden object position in the delay condition (p<.05) .
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29537
ISBN: 9746319302
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patchharawalai_we_front.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Patchharawalai_we_ch1.pdf16.82 MBAdobe PDFView/Open
Patchharawalai_we_ch2.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
Patchharawalai_we_ch3.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Patchharawalai_we_ch4.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Patchharawalai_we_ch5.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Patchharawalai_we_back.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.