Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29542
Title: ทรรศนะของนักเรียนโรงเรียนมัธยม สังกัดกรมสามัญศึกษาต่อนิตยสารวัยรุ่น
Other Titles: Viewpoints of students in the secondary schools under the jurisdiction of the department of general education towards juventle magaztnes
Authors: พัชรินทร์ แก้วเกียรติยศ
Advisors: กล่อมจิตต์ พลายเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติ นโยบาย วัตถุประสงค์ของการจัดทำ และการเผยแพร่นิตยสารวัยรุ่น จำนวน 13 ชื่อเรื่อง ที่พิมพ์จำหน่ายมาแล้ว อย่างน้อย 1 ปี พร้อมทั้งศึกษาทรรศนะของนักเรียนมัธยมต่อนิตยสารวัยรุ่นในด้านรูปเล่ม ภาพ ราคา ตัวอักษร คอลัมน์ การใช้ภาษา การโฆษณา การจัดหา และประโยชน์ที่ได้รับ ผลการวิจัยพบว่า บงกช เป็นนิตยสารวัยรุ่นที่ออกจำหน่ายก่อนฉบับอื่น (พฤษภาคม 2524) ต่อมา ได้แก่ เปรียว แพรวสุดสัปดาห์ เรา เธอกับฉัน ทอป-ป๊อป วัยหวาน วัยน่ารัก ซิกทีน/ซิกทีน'ส โลกดนตรี HELLO น้ำหวาน และ YOU & ME ตามลำดับ แต่ละชื่อเรื่องมีนโยบายและวัตถุประสงค์ในการจัดทำเพื่อกลุ่มผู้อ่านวัยรุ่น เน้นความบันเทิง และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสังคมวัยรุ่น มีวางจำหน่ายทั่วไปตามแผงและร้านขายหนังสือ โดยที่ บงกช เปรียว แพรวสุดสัปดาห์ วัยน่ารัก วัยหวาน และ HELLO เปิดรับสมาชิกด้วย ส่วนการศึกษาทรรศนะของนักเรียนมัธยมต่อนิตยสารวัยรุ่นในด้านต่าง ๆ ปรากฏผลดังนี้ ด้านรูปเล่ม นักเรียนเกินกว่าร้อยละ 60 เห็นว่า รูปเล่มของนิตยสารทุกชื่อเรื่องเหมาะสมดีแล้ว ด้านภาพ ภาพประกอบและภาพปกของนิตยสารเกือบทุกชื่อเรื่องพอใช้ได้ ด้านราคา ราคาของนิตยสารทุกชื่อเรื่องพอซื้อได้ (12-20 บาท) ด้านตัวอักษร ขนาดเหมาะสมดีแล้ว และชัดเจนปานกลาง ยกเว้น แพรวสุดสัปดาห์ ที่ชัดเจนมาก สีถูกใจนักเรียนปานกลาง ระยะห่างระหว่างอักษร (ช่องไฟ) ความเห็นใกล้เคียงกันระหว่าง เหมาะสมดีแล้วและพอใช้ได้ ระยะห่างระหว่างบรรทัดสะดวกต่อการอ่านปานกลาง ด้านคอลัมน์ ชื่อคอลัมน์ ดึงดูดความสนใจให้อยากอ่านปานกลาง จำนวน 20-40 คอลัมน์นั้นเหมาะสมดีแล้ว มีนักเรียนไม่ถึงร้อยละ 30 อ่านนิตยสารทั้งเล่ม ส่วนใหญ่เลือกอ่านแต่ที่ชอบ ชอบเล่นเกมในนิตยสารปานกลาง และมีนักเรียนไม่ถึงร้อยละ 10 เคยเข้าร่วมกิจกรรมในนิตยสารเป็นการส่วนตัว นักเรียนเกินกว่าร้อยละ 60 คิดอยากเข้าร่วม แต่ไม่เคยปฏิบัติ โดยอยากเข้าร่วมใน วัยหวานมากที่สุด ค้านการใช้ภาษา ใช้ภาษาที่อ่านง่าย เข้าใจเรื่อง ได้ดี ยกเว้น ทอป-ป๊อป และ บงกช ที่บางครั้งไม่เข้าใจ และรู้สึกเฉย ๆ กับการใช้คำแสลงหรือ คำย่อด้านการโฆษณา จำนวนโฆษณาเหมาะสมดีแล้ว และเหมาะสมกับเนื้อหาของนิตยสารบางส่วน ด้านการจัดทำ มีความพึงพอใจในนิตยสารที่อ่านปานกลาง ยกเว้น วัยน่ารัก ที่พอใจมาก และเห็นว่า เธอกับฉัน วัยน่ารัก และ วัยหวาน จัดทำได้ดี ด้านประโยชน์ที่ได้รับ เห็นว่าได้ประโยชน์จากการอ่านปานกลาง
Other Abstract: The purposes of this research were to study the history, policy, purpose and distribution of thirteen juvenile magazines which have been printed for one year at least. Additionally, to study the viewpoints of students in the secondary schools towards juvenile magazines in the following aspects ; format, illustrations, price, letters, columns, use of language, advertisements, producing and advantages. It was found that Bongkoch has been printed before the other juvenile magazines (May 1981). Afterwards they were Priaw, Praewsudsupda, Rao, Therkubchun, .Top-Pop, Waiwaan1 Wainaruk, Sixteen/Sixteen's Lokdontree, Hello, Namwaan and You & me. Each magazine has the same policy and main purpose for the juvenile readers, entertainment and offering varieties of contexts concerning to the juvenile society. The readers can get these magazines from any bookstalls or book shops. Some magazines are subscribed i.e. Bongkoch1 Priaw, Praewsudsupda1 Wainaruk, Waiwaan and Hello. For the viewpoints of students towards juvenile magazines: For the format, more than 60% students thought that all -thirteen juvenile magazines have the appropriate format. For the illustrations, the illustrations and cover pictures in most magazines are satisfactory. For the price, all magazines have the reasonable price of 12-20 baht. For the letters 1 the size of letters in all magazines is appropriate and median clear except in Praewsudsupda is very clear. The preference of colors of letters is satisfactory. The space between letters in all magazines is both appropriate and satisfactory whereas the line-spacing is satisfactory. For the columns, the title of columns attracted the reading interest satisfactorily. All magazines have the suitable numbers of columns (20-40 columns). Students of less than 30% read all through the magazines. Most of them read some parts they preferred. They liked playing games in all magazines satisfactory. Students of less than 10% contacted personally with the producers whereas more than 40% of students thought to contact but never did, especially with Waiwaan For the use of language, all magazines used the most understanding language, but sometimes the students didn't understand the language in Top-Pop and Bongkoch They were indifferent with the use of slangs and abbreviations. For the advertisements, All magazines have the suitable numbers of advertisement and appropriate with some parts of contexts. For the producing all magazines were pleased satisfactorily except Wainaruk that were pleased very much and thought that Therkubchun, Wainaruk, and Waiwaan were good in producing. For the advantages, the students gave their opinions that all magazines offered the median profits.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29542
ISBN: 9745765961
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharin_ka_front.pdf7.71 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_ka_ch1.pdf8.83 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_ka_ch2.pdf52.68 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_ka_ch3.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_ka_ch4.pdf37.34 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_ka_ch5.pdf10.29 MBAdobe PDFView/Open
Patcharin_ka_back.pdf14.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.