Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29605
Title: การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บและค้นคืนวัสดุจดหมายเหตุ ของโครงการจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศิลปากร
Other Titles: Use of microcomputer in information storage and retrieval for archival materials in Silpakorn University Archives
Authors: พัชรี พันตาวงษ์
Advisors: นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ
บุญเรือง เนียมหอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บและค้นคืนวัสดุจดหมายเหตุของโครงการจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อสำรวจระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลและผู้ใช้บริการทั่วไปที่มีผลต่อการค้นคืน และเพื่อประเมินผลประสิทธิภาพของระบบโดยหาค่า Recall และค่า Precision การสร้างฐานข้อมูลที่ใช้ทดลอง สร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Mini-Micro CDS/ISIS Version 2.3 ที่ปรับปรุงให้สามารถรับอักขระภาษาไทยได้ถูกต้องแล้ว กลุ่มตัวอย่างเป็นวัสดุจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 692 รายการ นำมาทำเรื่องย่อและแปลงข้อมูลของแต่ละรายการให้อยู่ในรูปแบบของ US MARC:AMC แล้วจึงบันทึกลงฐานข้อมูลในไมโครคอมพิวเตอร์ การประเมินผลระบบมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบระบบตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ จากการตอบแบบ ประเมินผลของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล และผู้ใช้บริการทั่วไป สามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้ ระบบการจัดเก็บและค้นคืนที่สร้างขึ้น สามารถนำไปใช้ในการดำเนินงาน และบริหารงานของโครงการจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดี โดยผู้ประเมินผลมีความเห็นว่าโครงสร้างของฐานข้อมูล มีความเหมาะสมในระดับมาก และระบบมีประสิทธิภาพในการทำงานด้านจัดเก็บและค้นคืนได้ดีในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจที่มีต่อผลการค้นคืน ผู้ประเมินผลทุกกลุ่มมีความพึงพอใจในระดับมาก แต่เนื่องจากฐานข้อมูลมีขนาดเล็ก จึงทำให้ผู้ประเมินผลมีความพึงพอใจค่อนข้างต่ำในปัจจัยเกี่ยวกับ จำนวนของรายการที่ค้นคืนได้ จำนวนของรายการที่สัมพันธ์กับคำถาม และความครอบคลุมของเรื่องที่ต้องการในฐานข้อมูล ส่วนการหาความสัมพันธ์ของค่า Recall และค่า Precision นั้น ปรากฏว่ามีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน
Other Abstract: This thesis has three objectives : to create information storage and retrieval system for Silpakorn University Archives; to survey the satisfaction of both database users including librarians and system analysts and general public users including lecturers and students; and to evaluate the efficiency of the system through recall and precision. A database used in this thesis was created by Mini-Micro CDS/ISIS Version 2.3. The program was adopted to be able to display Thai alphabets correctly. The sample data collected were of 692 titles selected from archival materials at Silpakorn University Archives. They were abstracted and converted into us MARC:AMC format before being keyed into the database, employing a microcomputer. The storage and retrieval system can be utilized in managing the Silpakorn University Archives. The database structure is very appropriate and the system operates effectively. The evaluators are highly satisfied with search results. Since the database is quite small, the evaluators indicate low level of satisfaction in terms of number of items retrieved, relevant items, and coverage of subject needed. It is also found that the recall and precision are not inversely correlated.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29605
ISBN: 9745830178
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee_pu_front.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_pu_ch1.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_pu_ch2.pdf12.47 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_pu_ch3.pdf14.14 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_pu_ch4.pdf11.48 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_pu_ch5.pdf7.92 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_pu_back.pdf45.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.