Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29629
Title: | การศึกษาจรรยาบรรณของนักอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
Other Titles: | A study of code of ethics of human resource training and development officers |
Authors: | พันพัชร ปิ่นจินดา |
Advisors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวกับจรรยาบรรณของนักอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อพัฒนาข้อกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณของนักอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมถึงข้อกำหนดต่อวิชาชีพข้อกำหนดต่อหน่วยงาน ข้อกำหนดต่อเพื่อนร่วมงาน และข้อกำหนดต่อสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีหน้าที่ในการบริหารงานการอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน จำนวน 30 ท่าน ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย โดยให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นจำนวน 3 รอบ โดยรอบแรกใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 7 ข้อ สำหรับรอบที่ 2 และ 3 เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับข้อกำหนด จำนวน 53 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละรอบโดยหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ โดยกำหนดข้อความที่เป็นจรรยาบรรณได้ต้องมีค่ามัธยฐานเท่ากับหรือมากกว่า 3.5 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เท่ากับหรือน้อยกว่า 1.50 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรอบสุดท้าย ทำให้ได้ข้อความที่เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณจำนวน 51 ข้อ จากจำนวนข้อความ 53 ข้อ แยกเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณของนักอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในและด้านดังนี้ 1. ข้อกำหนดต่อวิชาชีพ จำนวน 20 ข้อ 2. ข้อกำหนดต่อหน่วยงาน จำนวน 11 ข้อ 3. ข้อกำหนดต่อเพื่อนร่วมงาน จำนวน 16 ข้อ 4. ข้อกำหนดต่อสังคม จำนวน 6 ข้อ |
Other Abstract: | The purposes of the study were to obtain the opinions from the experts and to determine a code of ethics of human resource training and development officers towards their commitment to profession, organization, colleague and society. The methodology used to generate group consensus was the Delphi technique. A group of 30 experts in human resource training and development officers from the governmental organizations and private sectors were selected using purposive sampling. The data were collected by three rounds of Delphi questionnaire. The first round was performed by direct interview with 7 questions. The second and third rounds consisted of 53 items of commitments. The median and interquartile ranges were used to analyze the data. Findings were considered as a code of ethics when the median value was equal to or more than 3.5 and the interquartile range was equal to or less than 1.5. The final analysis revealed that 51 out of 53 Delphi items were regarded as a code of ethics. They were classified as follows; (1) 20 commitments to profession (2) 11 commitments to organization (3) 16 commitments to colleagues (4) 6 commitments to society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29629 |
ISBN: | 9746337599 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Panpachara_pi_front.pdf | 3.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panpachara_pi_ch1.pdf | 4.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panpachara_pi_ch2.pdf | 37.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panpachara_pi_ch3.pdf | 3.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panpachara_pi_ch4.pdf | 4.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panpachara_pi_ch5.pdf | 6.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panpachara_pi_back.pdf | 20.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.