Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29686
Title: ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: Effects of dental health education program on dental health behaviors of Prathom Suksa One students
Authors: สุวิภา อนันต์ธนสวัสดิ์
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษา ต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 67 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง34 คน กลุ่มควบคุม 33 คน ซึ่งนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มนี้มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติทางทันตสุขภาพและแผ่นคราบนุ่มของเศษอาหารใกล้เคียงกัน ก่อนการทดลอง 1 สัปดาห์ ทำการตรวจแผ่นคราบนุ่มของเศษอาหาร ทดสอบความรู้สอบถามทัศนคติ และสังเกตการปฏิบัติทางทันตสุขภาพของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จากนั้นดำเนินการสอนให้กับกลุ่มทดลองโดยใช้โปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ติดต่อกัน หลังการทดลองแล้ว 1 สัปดาห์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นเดียวกับก่อนการทดลอง ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความแตกต่างโดยการทดสอบค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยความรู้ การปฏิบัติทางทันตสุขภาพ และแผนคราบนุ่มของเศษอาหาร ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยทัศนคติทางทันตสุขภาพของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติทางทันตสุขภาพ และแผ่นคราบนุ่มของเศษอาหาร ภายในกลุ่มทดลองพบว่า ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติทางทันตสุขภาพ และแผ่นคราบนุ่มของเศษอาหารภายในกลุ่มควบคุมพบว่าก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: This research aimed to study the effects of dental health education program on dental health behavior of Prathom Suksa one students. The sample groups were Prathom Suksa one students of Plubplachai School. Sixty-seven students in Prathom Suksa one had been divided into two groups: the study group and the control group. Both groups had been examined and recorded oral hygiene status by using plaque index. Informations concerning with oral health behavior had derived from questionnaires and observations. Dental health education program had been introduced to the control group a week after collecting base-line data. This program took four weeks for implementation. The final information had been collected in the same way as base-line data a week later. The "t-test" method had been used for analysing those data. The results showed that the different of mean scores of knowledge, practice and dental plaque between the experimental group and the control group were statistically significant at .05 level. Only the mean attitude scores of those two groups were not statistically significant. .Analysis of the mean scores of the experimental group on knowledge, attitude, dental practice and dental plaque before and after intervention given showed also statistically significant at. 05 level. However, the same analysis of the control group showed no statistical significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29686
ISBN: 9746337882
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwipa_an_front.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Suwipa_an_ch1.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
Suwipa_an_ch2.pdf10.36 MBAdobe PDFView/Open
Suwipa_an_ch3.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open
Suwipa_an_ch4.pdf7.47 MBAdobe PDFView/Open
Suwipa_an_ch5.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open
Suwipa_an_back.pdf25.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.