Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29789
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพการสอน ฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา ความเชื่อด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ในภาคเหนือ |
Other Titles: | The relationship betuveen marital status economics status, educational levels, health belief, social support and health behaviors of pregnant women in Northern Region |
Authors: | ปริศนา นวลบุญเรือง |
Advisors: | ณัฐนิภา คุปรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | สตรีมีครรภ์ -- ไทย (ภาคเหนือ) |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายในลักษณะของการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์จากกลุ่มตัวอย่าง หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 280 คน เครื่องมือในการวิจัยนี้คือ แบบสัมภาษณ์ความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ .81, .79 และ .70 ตามลำดับ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนความเชื่อด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ทั้งปกติ และมีการแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ที่สถานภาพการสมรสคู่ จดทะเบียนและไม่จดทะเบียน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกลุ่มที่มีการศึกษาสูง มีรายได้ของครอบครัวมากกว่า 1,500 บาท/เดือน และมีอาชีพไม่ใช้แรงงานและแม่บ้าน 4. ความเชื่อด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ (รายได้ของครอบครัวต่อเดือน, อาชีพไม่ใช้แรงงานและแม่บ้าน) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันโรคของหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ระดับการศึกษา การสนับสนุนทางอารมณ์ การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ แรงจูงใจทางด้านสุขภาพ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ .45 (R = .4543) สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 20.64 (R² = .2064) 6. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การสนับสนุนทางด้านวัตถุและข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจทางด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางด้านอารมณ์ อาชีพไม่ใช้แรงงานและไม่บ้าน การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ภาวะคุกคามของโรคแทรกซ้อน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ .55 (R = .5526) สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 30.54 (R² = .3054) 7. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การสนับสนุนทางด้านอารมณ์ แรงจูงใจทางด้านสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ อาชีพไม่ใช้แรงงานและแม่บ้าน การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ .57 (R = .5711) สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 32.61 (R² = .3261) |
Other Abstract: | This research was designed to study and to compare the health behaviors of pregnant women and to investigate the relationship between marital status, economics status, educational levels, health belief, social support and health behavior of the sample. The sample was 280 pregnant women selected by stratified random sampling. The research instruments developed by the investigator were the health belief, social support and health behavior which the Cronbarch Alpha were .81, .79 and .70 respectively. The following were the major results of the study. 1. The score of health belief, social support, health prevention health promotion and health between normal pregnant women and those who had Obstetrics complications were not significantly difference at the .05 level. 2. The score of health prevention, health promotion and health behavior between pregnant women who had registered and no registered in marital status were not significantly difference at the .05 level. 3. The score of health prevention, health promotion and health behavior of pregnant women showed the significantly higher at the .05 level in the group of higher educational level, earned more the 1,500 baht per month, in unlabour workers, and housewives. 4. The relationship between health belief, social support, educational levels, economics status, positively related to health prevention health promotion, and health behavior at the .05 level of significant. 5. Educational levels, emotional support, perceived barrier, and health motivation, predicted health prevention at the .05 level and coefficient of multiple correlation was .45 (R = .4543) which accounted for 20 percent. (R² = .2064) 6. Material and Information support, health motivation, emotional support, unlabour workers and housewives perceived benifit, perceived susceptibility, predicted health promotion at the .05 level and Coefficient of multiple correlation was .55 (R = .5526) which accounted for 30 percent, (R² = .3054) 7. Emotional support, health motivation, perceived barrier, unlabour workers and housewives, perceived benifit, predicted health behavior at the .05 level and coefficient of multiple correlation was .57 (R = .5711) which accounted for 32 percent, (R² = .32641) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29789 |
ISBN: | 9745810401 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prissana_na_front.pdf | 5.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prissana_na_ch1.pdf | 7.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prissana_na_ch2.pdf | 17.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prissana_na_ch3.pdf | 5.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prissana_na_ch4.pdf | 14.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prissana_na_ch5.pdf | 8.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prissana_na_back.pdf | 22.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.