Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29805
Title: การเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอนประเภทต่างๆ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน
Other Titles: A comparision of behavior in instructional media utilization of Sukhothai Thammathirat Open University students with different learning achievement
Authors: มนต์ผกา เกียรติภักดีกุล
Advisors: ปทีป เมธาคุณวุฒิ
ทองอินทร์ วงศ์โสธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าและความเหมาะสมของสื่อการเรียนการสอบประเภทต่าง ๆ โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนและเข้าสอบไล่ในภาคการศึกษาที่ 2/2532 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าร้อยละ การทดสอบค่าไคส-แควร์ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการใช้สื่อการเรียนสอนประเภทต่าง ของนักศึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาตามลำดับขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในเอกสารการสอน นักศึกษาที่สอบผ่านส่วนมากศึกษาจากสื่อหลัก ได้แก่ อ่านเอกสารการสอน หาแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน ทำการบันทึกสาระสำคัญและทำกิจกรรมท้ายเรื่องแตกต่างจากนักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน ส่วนการดูรายการวิทยุโทรทัศน์ประจำชุดวิชา การฟังรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชา การอ่านทบทวนเอกสารการสอนและการอ่านทบทวนแบบฝึกปฏิบัติที่ได้ทำแล้ว นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน 2. ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าและความเหมาะสมของสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ นักศึกษาที่สอบผ่านเห็นคุณค่าของเอกสารการสอนแบบฝึกปฏิบัติ รายการวิทยุโทรทัศน์ประจำชุดวิชาระดับมาก และเห็นคุณค่าของรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชาระดับปานกลาง นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านเห็นคุณค่าของสื่อการเรียนการสอนทั้ง 4 ประเภท ระดับปานกลาง เมื่อเปรียบความคิดเห็นในคุณค่าของสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ นักศึกษาที่สอบผ่านเห็นคุณค่าของเอกสารการสอน และแบบฝึกปฏิบัติสูงกว่านักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน ส่วนคุณค่าของรายการวิทยุโทรทัศน์และรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชา นักศึกษาทั้งสองกลุ่มเห็นคุณค่าไม่แตกต่างกัน ความเหมาะสมของสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ นักศึกษาที่สอบผ่านเห็นว่าเอกสารการสอน แบบฝึกปฏิบัติมีความเหมาะสมระดับมาก และเห็นว่ารายการวิทยุโทรทัศน์และรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชา มีความเหมาะสมระดับปานกลาง นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านเห็นว่าเอกสารการสอนมีความเหมาะสมระดับมาก และเห็นว่าแบบฝึกปฏิบัติ รายการวิทยุโทรทัศน์และรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชา มีความเหมาะสมระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ นักศึกษาที่สอบผ่าน เห็นว่าเอกสารการสอนและแบบฝึกปฏิบัติ มีความเหมาะสมมากกว่านักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน ส่วนความเหมาะสมองของรายการวิทยุโทรทัศน์ และรายการวิทยุกระจายเสียงประจำชุดวิชา นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความเห็นไม่แตกด่างกัน
Other Abstract: This study was to survey Sukhothai Thammathirat Open University (STOU) students' behaviors in media utilization and their opinions towards the benefits and the appropriateness of the university media. The comparison between the students with different learning achievements was analyzed. The sample were STOU students studying in the second semester of 1989. chi-square and t-test were used in data analysis. The findings were as follows: 1. As for media utilization, it was found that most students did not follow the steps of learning suggest in the textbooks. Most of them who passed the examination studied from the main media such as textbooks, workbooks and, doing the pre-and post-tests. There was significant difference of media utilization between two groups of students who passed and did not pass the examination. However, these two groups of students were not significantly different regarding utilization of other media such as radio programs, textbook and workbook re-studying. 2. Concerning the opinions towards the benefits and the appropriateness of the media: the textbooks, the workbooks and the TV programs were rated useful at the 'high' level and the radio programs at the 'medium' level for the students who passed the examination while all of the media were rated useful at the 'medium' level for the students who failed. When comparing the opinions of the two groups, the benefits of the textbooks and the workbooks were rated significantly higher for the students who passed the examination than for those who failed, but the benefits of the TV and radio programs were not significantly different. Regarding the appropriateness of the media: the textbooks and the workbooks were rated appropriate at the 'high' level and the TV and radio programs at the 'medium' level for the students who passed the examination while the textbooks were rated appropriate at the 'high' level and the other media at the 'medium' level for those who failed. Their opinions were significantly different for the textbooks and workbooks but not for the other media.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29805
ISBN: 9745818933
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monpaka_ki_front.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open
Monpaka_ki_ch1.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open
Monpaka_ki_ch2.pdf17.12 MBAdobe PDFView/Open
Monpaka_ki_ch3.pdf6.39 MBAdobe PDFView/Open
Monpaka_ki_ch4.pdf26.44 MBAdobe PDFView/Open
Monpaka_ki_ch5.pdf13.25 MBAdobe PDFView/Open
Monpaka_ki_back.pdf18.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.