Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29815
Title: การพัฒนารูปแบบหลักสูตรและการเรียนการสอน สาขาคอมพิวเตอร์ศาสตร์ที่บูรณาการจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: A development of computer science curriculum and instruactional model integrated ethics of computing
Authors: ปทีป เมธาคุณวุฒิ
Email: Pateep.M@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: คอมพิวเตอร์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
คอมพิวเตอร์ -- หลักสูตร
วิทยาการคอมพิวเตอร์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
วิทยาการคอมพิวเตอร์ -- หลักสูตร
คอมพิวเตอร์ -- แง่ศีลธรรมจรรยา
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพสังคมและจริยธรรที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรสาขาคอมพิวเตอร์ศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบหลักสูตรและการเรียนการสอนสาขาคอมพิวเตอร์ศาสตร์ที่บูรณาการจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ และ 3) ประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนารูปแบบจากากรวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วสังเคราะห์ผลการวิเคราะห์เหล่านี้นำมาสร้างเป็นรูปแบบ ขั้นตอนที่สองเป็นการประเมินรูปแบบโดยการนำไปทดลองสอนกับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 30 คนใน 1 ภาคการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบหลักสูตรและการเรียนการสอนที่พัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ ระดับที่ 1 รูปแบบหลักสูตรที่เป็นภาพรวมของระบบ ระดับที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบหลักสูตรผสมผสานกันระหว่างประเด็นทางเทคนิคและประเด็นทางสังคมและจริยธรรม ระดับที่ 3 รูปแบบการจัดรายวิชาที่บูรณาการจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์และระดับสุดท้าย คือ องค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ที่เน้นการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผลและการเน้นการเรียนรู้เชิงความร่วมมือ 2. เมื่อนำรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองสอน พบว่า 2.1 ตัวแปรตามที่เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการสอนแบบบูรณาการจริยธรรมและการเรียนรู้เชิงความร่วมมือ 2 ประการ คือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ และคุณลักษณะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยแตกต่างจากนักศึกษากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เรียนรายวิชานี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และที่ระดับ .05 ตามลำดับ แต่ตัวแปรตามการยอมรับนับถือตนเองและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 2.2 รูปแบบการเรียนการสอนไม่มีปฏิสัมพันธ์กับระดับความสามารถพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ และพบว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์และคุณลักษณะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ภายหลังการเรียนการสอนนักศึกษาร้อยละ 90 ได้ให้ข้อมูลย้อนกลับในทางบวกต่อการจัดเนื้อและการเรียนการสอนที่บูรณาการจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์และเน้นการเรียนรู้เชิงความร่วมมือ
Other Abstract: The purposes of the study aimed to analyze the social and ethical environment regarding computer science curriculum; 2) to develop computer science curriculum and instructional model integrated ethics of computing; and 3) to evaluate the model. The research procedures were comprised of 2 steps. First, developing the model by synthesizing related documents and experts’ opinions. Then, testing the developed model with the 30 third year computer engineering and computer science undergraduate students. The research results revealed that: 1. The developed model was composed of 4 levels: 1) the systemic-holistic approach of the curriculum model; 2) the structure of the curriculum model; 3) the instructional model integrated ethics of computing; and, 4) the components of the instructional model emphasizing of ethics reasoning and cooperative learning. 2. The findings of the instructional model implementation were as follow: 2.1 The average scores of the two dependent variables derived from the instructional model emphasizing ethics reasoning and cooperative learning as the ethical analysis ability and the critical thinking dispositions were significantly higher than those of the controlled group at the .01 and .05 respectively. The average scores of the other two dependent variables, however, as self-esteem and group working behaviors were not significant. 2.2 There was no interaction effect between the instructional model and the levels of basic ability in computer science. The instructional model was the only variable that had an effect on the ability of ethical analysis and critical thinking dispositions. 2.3 The ninety percent of students’ reactions to the instructional model at the end of semester were very positive for the contents integrated ethics of computing and the cooperative learning process.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29815
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pateep_me.pdf26.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.