Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29840
Title: การออกแบบและทดสอบสมรรถนะกังหันลมแกนนอนชนิด 3 ใบ สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า
Other Titles: Design and performance test of a 3 blade horizontal axis wind turbine for electricity generation
Authors: ปรีชา บุปผาชาติ
Advisors: สมศักดิ์ ไชยะภินันท์
สถาพร สุปรีชากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กังหันลม -- การออกแบบและการสร้าง
กังหันลมแกนนอนชนิด 3 ใบ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
อากาศพลศาสตร์
พลังงานลม
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิจัยนี้ ได้มีการศึกษาและออกแบบกังหันลมแกนนอนชนิด 3 ใบ สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าให้มีรูปร่างที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในเชิงอากาศกลศาสตร์แล้วจึงดัดแปลงสร้างใบกังหันที่ได้ออกแบบไว้ โดยมีความยาวเท่ากับ 60 เซนติเมตร และได้ทำการทดสอบสมรรถนะโดยใช้อุโมงค์ลม และใช้ติดตั้งบนรถปิคอัพ พบว่าค่าสมรรถนะในเทอมไร้มิติ (สัมประสิทธิ์กำลังงานและสัมประสิทธิ์แรงบิด) ที่วัดได้มีค่า แปรตามความเร็วลม ที่ทำการทดลองอันเนื่องมาจากผลของเรโนลด์นัมเบอร์ ที่มีต่อค่าแรงยกและแรงหน่วงบนใบกังหัน เมื่อทำการทดลองโดยใช้อุโมงค์ลม พบว่าค่าสัมประสิทธิ์กำลังงานสูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.33 ที่ความเร็วลม 7.2 เมตร/วินาที และเมื่อทำการทดลองโดยรถปิคอัพแล่นบนถนนพบว่าค่าสัมประสิทธิ์กำลังงานสูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.296 ที่ความเร็วลม 8 เมตร/วินาที เมื่อนำผลการทดลองมาเปรียบเทียบกับผลเฉลยของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกังหันลมที่ได้ออกแบบสร้างไว้ พบว่า เส้นกร๊าฟของผลเฉลยของแบบจำลอง และของผลการทดลองมีลักษณะคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน ความแตกต่างระหว่างผลทั้งสองนั้นมีสาเหตุจาก ความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัด และข้อมูลสมรรถนะของแพนอากาศที่จะใช้แทนรูปภาคตัดขวางของใบกังหัน และจากการศึกษาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกังหันที่มีขนาดเดียวกันแต่มีลักษณะใบต่างกัน ยืนยันว่ากังหันที่ได้สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเชิงอากาศกลศาสตร์สูงสุด
Other Abstract: In this research a study and design of an optimum performance 3-blade horizontal axis wind turbine for electricity generation has been made. Then the turbine was built with 60 cm. blade length and was tested by using wind tunnel and by installing on a moving pick-up truck. The tested results on performance (power and torque coefficients) were found to be varied with the tested wind speed. The variation was mainly due to the effect of Reynolds number on the lift and drag coefficient of the turbine blade. The maximum power coefficient was found to be 0.33 at wind speed of 7.2 m/s for the wind tunnel test while the power coefficient from the pick-up test was found to be maximum at wind speed of 8 m/s with value equal to 0.296. The performance predicted by using mathematical model was found to have the values and trend of the curves close to the tested result. Some discrepancies between mathematical solutions and tested results were resulted from instrumental error and lack of exact data of lift and drag on turbine blade cross section. The turbine was also verified for its optimum performance by comparing mathematical solutions for different turbine blade.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29840
ISBN: 9745761931
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_bu_front.pdf6.85 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_bu_ch1.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_bu_ch2.pdf7.24 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_bu_ch3.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_bu_ch4.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_bu_ch5.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_bu_ch6.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_bu_ch7.pdf867.57 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_bu_back.pdf28.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.