Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29857
Title: การวิเคราะห์แนวโน้มปริมาณผลผลิตของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศไทย
Other Titles: An analysis of the trend of economic crop production in Thailand
Authors: ปรีชา ล่ามช้าง
Advisors: สุภาพ เดชะรินทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและทรัพยากรส่วนใหญ่ของประเทศถูกใช้ไปในการผลิตภาคเกษตรกรรม กล่าวคือ การใช้ที่ดินและแรงงานซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการผลิตที่มีอยู่ในประเทศได้ถูกใช้ไปในภาคเกษตรกรรม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2529 ได้เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้านการเกษตรของประเทศเพื่อขยายขีดความสามารถในการส่งออกเพื่อหารายได้เข้าประเทศ เนื่องจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกไม่สามารถทำได้อีกแล้ว ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตที่จะทำได้มีอยู่ทางเดียวคือ การเพิ่มผลผลิตพืชต่อไร่ และในช่วงปี พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2529 รัฐบาลมีเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญโดยส่วนรวมในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ดังนั้นการวิเคราะห์แนวโน้มปริมาณผลผลิตของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศไทยจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผน และกำหนดนโยบายในการเพิ่มผลผลิต การส่งออกและการกำหนดราคาผลผลิต ผลจากการวิเคราะห์ปรากฏว่า แนวโน้มปริมาณผลผลิตของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศไทยส่วนมากไม่เป็นไปตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2529 กล่าวคือ ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปี พืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่มีปริมาณผลผลิตต่ำกว่าปริมาณผลผลิตที่กำหนด ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ถั่วลิสง ถั่วเขียว ยาสูบ ฝ้าย ละหุ่งและข้าวป่าง ส่วนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่มีปริมาณผลผลิตสูงกว่าเป้าหมายปริมาณผลผลิตที่กำหนดคือ ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน ถั่วเหลือง และมันสำปะหลัง ซึ่งเมื่อคิดเป็นมูลค่าผลผลิตรวมตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปี จะทำให้มูลค่าผลผลิตรวมต่ำกว่ามูลค่าผลผลิตที่ควรจะได้ประมาณ 21,718 ล้านบาท ดังนั้นการที่จะทำให้ปริมาณผลผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2529 สำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่มีปริมาณผลผลิตต่ำกว่าเป้าหมายปริมาณผลผลิตที่กำหนดไว้ ควรเร่งรัดและส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตพืชต่อไร่ให้สูงขึ้น และพืชเศรษฐกิจที่สำคัญบางชนิดที่เคยมีเนื้อที่เพาะปลูกในปีที่ผ่านสูงกว่าปัจจุบัน อาจจะขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นได้บ้าง และสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่มีปริมาณผลผลิตสูงกว่าเป้าหมายปริมาณผลผลิตที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านการตลาดและราคาควรจะลดการผลิตลงบ้าง โดยเฉพาะ อ้อยโรงงานและมันสำปะหลัง ซึ่งอาจจะทำได้โดยวิธีลดเนื้อที่เพาะปลูก และ/หรือ เอาเนื้อที่เพาะปลูกบางส่วนไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน
Other Abstract: Thailand as an agricultural country, therefore, most of the important resources such as land and man-power have been used in producing agriculture products. According to the Fifth National Economic and Social Development Plan BE. 2525-2529; the agricultural production efficiency is emphasized for exporting in order to increase national income. Expansion of cultivated area is not possible. The only solution to increase production is to increase yield per rai. During BE. 2525-2529 the target of economic crop productions per rai is set at the rate of 4 percent per annum. The analysis of trend of the economic crop production in Thailand will be very useful in planning policy formulation in increasing production for export, and in price setting. The result of the analysis shows that most of trend, of economic crop production in Thailand do not comply the target of the Fifth National Economic and Social Development Plan BE. 2525-2529. During the period of 5 years, the most of economic crop production do not reach the target of the plan, such as rice, maize, rubber, groundnut, mung bean, tobacco, cotton, castor seed and sorghum. Some economic crop productions show higher than the target, such as second crop rice, soybean, sugar cane and cassava. It is found that the total value of the agricultural production in the period of 5 years will not reach the target of 21,718 million baht. The solution to reach the target of the economic crops in the Fifth National Economic and Social Development plan to acceterate and to promote yield per rai. For some economic crops with high yield last year, production area can be expanded. For economic crops such as sugar can and cassava which yield are higher than the target, it is recommended to reduce production area in order to prevent problem of market and price level.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29857
ISBN: 9745622907
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_lam_front.pdf5.52 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_lam_ch1.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_lam_ch2.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_lam_ch3.pdf34.03 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_lam_ch4.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_lam_back.pdf6.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.