Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29879
Title: พฤติกรรมการออมของครัวเรือน : วิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลภาคตัดขวางในปี 2535/2536
Other Titles: Househld saving behavior : an analysis of cross - section data 1992/1993
Authors: อรวรรณ ยี่สาร
Advisors: โสตถิธร มัลลิกะมาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงปัจจัยที่มากำหนดพฤติกรรมการออมของครัวเรือนใน กทม. และปริมณฑล และในต่างจังหวัด โดยแยกประชากรออกเป็น ครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ต่อเดือนและครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาท ต่อเดือนขึ้นไปและคาดการณ์ถึงสัดส่วนการออมต่อรายได้ของครัวเรือนเมื่อรายได้ของครัวเรือนเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งพยากรณ์แนวโน้มของสัดส่วนการออมต่อรายได้ของครัวเรือนในอนาคตทั้งในกทม. และปริมณฑล และในต่างจังหวัด โดยใช้ข้อมูลตามโครงการสำรวจเงินออมของฝ่ายวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี 2535/2536 วิเคราะห์โดยใช้การถดถอยแบบพหุ และประมาณการด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบถ่วงน้ำหนัก (Weighted Least Square: WLS) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการออมของครัวเรือนที่อยู่ในกทม. และปริมณฑล ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ได้แก่ รายได้ประจำและรายได้ชั่วคราวของครัวเรือน โดยมีค่าความยืดหยุ่นของการออมต่อรายได้ เท่ากับ 0.96, MPS = 0.16 และ APS = 0.1678 อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาและอาชีพ ส่วนครัวเรือนที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปนั้นปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการออม ได้แก่ รายได้ประจำและรายได้ชั่วคราวของครัวเรือน โดยมีค่าความยืดหยุ่นของการออมต่อรายได้ เท่ากับ 0.51, MPS = 025 และ APS = 0 4979 อสังหาริมทรัพย์ เพศชายที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน และระดับการศึกษาและปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการออมของครัวเรือนที่อยู่ในต่างจังหวัดที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ได้แก่ รายได้ประจำและรายได้ชั่วคราวของครัวเรือน โดยมีค่าความยืดหยุ่นของการออมต่อรายได้ เท่ากับ 1.11, MPS = 0.27 และ APS = 0.2429 ทรัพย์สินทางการเงินสุทธิ ระดับการศึกษา อาชีพ และครัวเรือนในภาคใต้ ส่วนครัวเรือนที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปนั้น ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการออม ได้แก่ รายได้ชั่วคราวของครัวเรือน โดยมีค่าความยืดหยุ่นของการออมต่อรายได้ เท่ากับ 0.38, MPS = 0.21 และ APS = 0.5626 หัวหน้าครัวเรือนที่มีการศึกษาระดับอาชีวะศึกษา โดยครัวเรือนในกทม. และปริมณฑล มีค่าความยืดหยุ่นของการออมต่อรายได้ เท่ากับ 1.06, MPS = 0.42 และ APS = 0.3978 ส่วนครัวเรือนในต่างจังหวัดมีค่าความยืดหยุ่นของการออมต่อรายได้ เท่ากับ 1.11, MPS = 0.41 และ APS =0.3728 และคาดการณ์ว่าเมื่อระดับรายได้ของครัวเรือนเพิ่มขึ้น สัดส่วนการออมต่อรายได้ (APS) ของครัวเรือนในกทม. และปริมณฑลจะสูงกว่าในต่างจังหวัด โดยในปี 2541 สัดส่วนการออมต่อรายได้ (APS) ของครัวเรือนในกทม.และ ปริมณฑลเท่ากับ 0.4102 และเท่ากับ 0.0815 ในต่างจังหวัด
Other Abstract: This thesis is to analyze the factors determining household saving behavior in area Bangkok Metropolitan and area in other provinces. The analysis is devided into two income class: 1) lower than 15,000 baht per month 2) 15,000 baht per month or above. And saving – income ratio is forcasted due to an increase in income. Employing the study uses cross-section data from the survey of Bank of Thailand in 1992/1993.Weighted Least Square Estimation technique. The findings show that the factors influencing saving’s households living in Bangkok Metropolitan with income lower than 15,000 baht per month are permanent income transitory income, age of head’s household, education and occupation. The elasticity of saving to income, MRS and APS are 0.96, 0.16 and 0.1678 respectively. Factors influencing of households living in Bangkok Metropolitan with income 15,000 baht per month or above are permanent income, transitory income, real-estate, sex, and education. The elasticity of saving to income, MPS and APS are 0.51, 0.25 and 0.4979 respectively. Factors influencing of households living in area other provinces with income lower than 15,000 baht per month are permanent income, transitory income, net financial assets, education, occupation and household in South. The elasticity of saving to income, MPS and APS are 1.11, 0.27 and 0.2429 respectively. Factors influencing of households living in area other provinces with income 15,000 baht per month or above are transitory income and education. The elasticity of saving to income, MPS and APS are 0.38, 0.21 and 0.5625 respectively. The elasticity of saving to income of household in Bangkok Metropolitan is 1.06, MPS is 0.42, APS is 0.3978 and area other provinces’ elasticity of saving to income is 1.11, MPS is 0.41, APS is 0.3728. In addition, the study show that saving-income ratio will rise as income increase. As a result, in 1988, APS is estimated at 0.4102 and 0.3815 in Bangkok Metropolitan and other provinces respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29879
ISBN: 9746328972
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orawan_ye_front.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_ye_ch1.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_ye_ch2.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_ye_ch3.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_ye_ch4.pdf7.14 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_ye_ch5.pdf9.5 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_ye_ch6.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_ye_back.pdf12.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.