Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29932
Title: | การพัฒนาแบบสอบแบบเอ็ม อี คิว เพื่อวัดความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Other Titles: | The development of M.E.Q. test for prathom suksa six students' problem solving ability |
Authors: | ทิพย์วรรณ มูลทองชุน |
Advisors: | พวงแก้ว ปุณยกนก |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและพัฒนาแบบสอบถาม เอ็ม อี คิว เพื่อใช้วัดความสามารถในการแก้ปัญหาและหาคุณภาพของแบบสอบ เอ็ม อี คิว ที่สร้างขึ้นในเรื่องความเที่ยง ความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ และความเที่ยงในการตรวจให้คะแนน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2534 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 420 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายชั้น แบบสอบ เอ็ม อี คิว ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนี้ ประกอบด้วย 5 กรณีศึกษาเกี่ยวข้องกับ 4 กลุ่มประสบการณ์ คือ กลุ่มทักษะ ได้แก่วิชาภาษาไทยและวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ มีคำถามทั้งหมด 20 ข้อ คะแนนเต็ม 80 คะแนน ในการวิเคราะห์หาคุณภาพแบบสอบนั้นใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS[superscript x] ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเที่ยงของแบบสอบเอ็ม อี คิว ประมาณโดยสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.7485 2. ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์โดยใช้คะแนนผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2534 เป็นเกณฑ์เทียบ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.4056 3. ความเที่ยงในการตรวจให้คะแนน โดยมีกรรมการตรวจให้คะแนน 3 ท่าน ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของการตรวจให้คะแนนเท่ากับ 0.9435 แสดงว่าแบบสอบเอ็ม อี คิว ชุดนี้มีความเที่ยงในการตรวจให้คะแนน |
Other Abstract: | The aim of this research was to construct and develop a Modified Essary Question test to measure the problem solving ability of the students in Prathom Suksa Six. The subjects were 420 Prathom Suksa Six students studying in the primary schools in the academic year 1991. These schools were under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission located in Surin province. Samples were drawn by multi-stage random sampling. The test constructed by the author was composed of 20 items from 5 cases measuring problem solving abilities under 4 areas: Skills; Thai Language and Mathematics, Life Experiences, Character Development and Work Experience. The data were analyzed by computer using SPSS[superscript x]. The findings were as follows; 1. The test reliability estimated by Cronbach Alpha coefficient was 0.7485 2. The criterion-related validity, using the scores on mathematics test in the first semester 1991 as criterion, was 0.4056 3. The reliability in marking by three raters was 0.9435. This finding showed high reliability of scoring by different raters. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29932 |
ISBN: | 9745797677 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tippawan_mo_front.pdf | 4.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippawan_mo_ch1.pdf | 5.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippawan_mo_ch2.pdf | 12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippawan_mo_ch3.pdf | 14.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippawan_mo_ch4.pdf | 4.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippawan_mo_ch5.pdf | 5.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tippawan_mo_back.pdf | 12.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.