Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29933
Title: การศึกษาผลกระทบจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่ : กรณีศึกษาโครงการชลประทาน พิษณุโลก
Other Titles: The impact study of large scale irrigation project : a case study of pitsanuloke irrigation project
Authors: ไพรัช โตสวัสดิ์
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การชลประทานมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดพิษณุโลกซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการทำการเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เพราะการชลประทานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และจะนำมาซึ่งการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในท้ายที่สุด จากผลการศึกษา พบว่า โครงการชลประทานพิษณุโลก สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ กล่าวคือ โครงการฯ มีผลทำให้เกษตรกรสามารถทำการ เพาะปลูกได้ตลอดปี สามารถเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว ทำให้ความต้องการการใช้แรงงานเพิ่มขึ้น ช่วยให้เกิดความสะดวกในการขนส่งและการคมนาคม และช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตโครงการ นอกจากนั้น โครงการฯ มีผลให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน โดยขยายพื้นที่ปลูกข้าว เพิ่มมากขึ้น และเกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้สองครั้งต่อปี การถือครองที่ดินเป็นพื้นที่เช่าทำกินเพิ่มมากขึ้นเกษตรกร เปลี่ยนแปลงวิธีการทำนา มีการยอมรับเทคโนโลยีทางการเกษตร เพิ่มขึ้น มีการรวมกลุ่มเพื่อตอบสนองระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของตนเพิ่มขึ้น มีการ เดินทางติดต่อซื้อขายปัจจัยการผลิตและรับบริการจากราชการได้มากขึ้น และมีทัศนคติที่ดีต่อการชลประทาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโครงการฯ ครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างใหญ่ และมีความแตกต่างกันในพื้นที่ ดังนั้นจึงเกิดปัญหาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนา โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งปัญหาที่เกิดจากระบบ ทางวิศวกรรมชลประทานและการจัดการเกี่ยวกับการชลประทาน และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการเสริมของการพัฒนา เช่น การส่งเสริมการเกษตร การส่งเสริมสหกรณ์ และการให้สินเชื่อ เพื่อการเกษตรเป็นต้น การแก้ไขปัญหานั้น จำเป็นต้องแก้ไขทั้งด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับวิศวกรรมชลประทานและด้านการจัดการ ซึ่งการแก้ไขด้านเทคโนโลยีนั้นสามารถทำได้โดยง่าย แต่ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการ เกี่ยวกับน้ำและระบบการจัดการเสริม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จโดยสมบูรณ์ของการพัฒนานั้นเป็นปัญหาที่สลับ ซับซ้อน การแก้ไขจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ดังนั้นหน่วยงานที่เป็นกลไก เหล่านั้นจำเป็นต้องประสานงานกันโดยมุ่งในเป้าหมาย เดียวกัน คือ เพื่อพัฒนาการเกษตร นอกจากนั้นแล้วยังต้องให้ความสนใจในส่วนของประชาชนด้วย โดยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชนมีความรู้สึกเกี่ยวข้อง และพร้อมที่จะร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการชลประทานต่อไป
Other Abstract: Irrigation is very essential for the development of the agricultural countries, especially for Pitsanuloke an agricultural province in the north of Thailand. Irrigation is the most important factor causing to the increase of farming products that finally leads to the higher revenue of farmers. The result of this research reveals that the Pilsanuloke Irregation Project can fulfill its expected objectives. Irrigation contributes to the all-season farming, the increased income by the increased yields, more demand for the farm employees, more convenience in the farming products transport and the flood denudation. In details, the Pitsanuloke Irrigation Project has changed the pattern of land utilization. The paddy fields can be expanded and farming can be done twice a year. More people want to be farmers, resulting in more land rental for that purpose. New technology is introduced and accepted. More co-operatives among farmers create the mutual assistance in their profession. The governmental aid is guicker because of the improved transport. Finally, the farmers have the positive attitudes to the irrigation. However, since the Pitsanuloke Project covers the very large area, there is a problem of development inequality. Such inequality has been caused by both of the irrigation engineering system and the management. The latter is the inappropriation in the governmental services, such as the agricultural and co-operative promotion, and the financial credit. To solve the problem, the improvement in technology of water, enengineering as well as service management must be done. However, the engineering work seems to be more easily practiced than the management. The success in management of the irregation project needs the co-operation among the relovant governmental departments under the goal of agricultural development. Moreover, the suppart and the responsibility from the farmers for the governmental programs are the most necessary. To attain that prospect the explanation and the education from the governmental officials to the farmers in the irregation project is unavoidable.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29933
ISBN: 9745697044
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pirat_to_front.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open
Pirat_to_ch1.pdf5.73 MBAdobe PDFView/Open
Pirat_to_ch2.pdf10.85 MBAdobe PDFView/Open
Pirat_to_ch3.pdf23.77 MBAdobe PDFView/Open
Pirat_to_ch4.pdf8 MBAdobe PDFView/Open
Pirat_to_ch5.pdf34.88 MBAdobe PDFView/Open
Pirat_to_ch6.pdf7.6 MBAdobe PDFView/Open
Pirat_to_ch7.pdf8.38 MBAdobe PDFView/Open
Pirat_to_back.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.