Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29950
Title: การศึกษาความคลาดเคลื่อนในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of errors in mathematics problem solving of mathayom suksa three students in schools under the jurisdiction of the department of general education, Bangkok metropolis
Authors: อรัญ ซุยกระเดื่อง
Advisors: สุวัฒนา อุทัยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2533 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 374 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบอัตนัย เรื่องโจทย์สมการกำลังสอง ซึ่งผู้วิจัยนำแบบทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างประชากรแล้ว นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าร้อยละของความถี่ของความคลาดเคลื่อน จำแนกตามขั้นตอนในการแก้โจทย์สมการ 5 ขั้น คือ (1) ตีความและทำความเข้าใจโจทย์ (2) การใช้ตัวแปรแทนตัวไม่ทราบค่า (3) การเขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ตามที่โจทย์กำหนด (4) การแก้สมการหาคำตอบ และ (5) การตอบคำตอบตามที่โจทย์ต้องการ ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะความคลาดเคลื่อนในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำแนกตามขั้นตอนในการแก้โจทย์สมการเรียงตามลำดับค่าร้อยละของความถี่จากมากไปน้อยคือ คลาดเคลื่อนในการเขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ตามที่โจทย์กำหนดร้อยละ 25.17 คลาดเคลื่อนในการตอบคำตอบตามที่โจทย์ต้องการร้อยละ 24.55 คลาดเคลื่อนในการใช้ตัวแปรแทนตัวไม่ทราบค่าร้อยละ 21.93 คลาดเคลื่อนในการแก้สมการหาคำตอบร้อยละ 20.90 และคลาดเคลื่อนในการตีความและทำความเข้าใจโจทย์ร้อยละ 7.45 2.การตอบแบบทดสอบการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน จำแนกเป็น 4 ประเภท เรียงตามลำดับค่าร้อยละ จากมากไปน้อยคือ ถูกต้องร้อยละ 40.48 ไม่ทำร้อยละ 34.12 คลาดเคลื่อนร้อยละ 20.18 และถูกเพียงบางส่วนร้อยละ 5.22
Other Abstract: The purpose of this research was to study the errors in mathematics problem solving of mathayom suksa three students. The subjects were 374 mathayom suksa three students in the 1990 academic year from secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, Bangkok Metropolis. The research instrument which was the quadratic equation essay test was administered to the subjects. The obtained data were analyzed by means of percentage. The frequency of errors classified in each step in solving equation which were (1) interpreting and understanding problems (2) using variable to represent the unknown (3) writing equation to show the relationship as given in the problem (4) solving equation and (5) encoding the solution. The results of the research were as follows: 1. The types of errors in mathematics problem solving of mathayom suksa three students classified in each step from high to low percentage of frequency were: writing equation to show the relationship as given in problem (25.17%), encoding the solution (24.55%), using variable to represent the unknown (12.93%), solving equation (20.90%) and interpreting and understanding problem (7.45%). 2. The responses of students in mathematics problem solving classified into four categories and presented from high to low percentage of frequency were: correct (40.45%), no attempt (34.12%), error (20.18%) and partly correct (5.22%).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29950
ISBN: 9745788899
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arun_su_front.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open
Arun_su_ch1.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Arun_su_ch2.pdf11.21 MBAdobe PDFView/Open
Arun_su_ch3.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open
Arun_su_ch4.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Arun_su_ch5.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Arun_su_back.pdf7.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.