Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29968
Title: การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A comparison of physical fitness of hearing impaired students and visual impaired students Bangkok metropoles
Authors: ไพรัช ยิ้มสนิท
Advisors: สุเนตุ นวกิจกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น และเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จำแนกตามเพศ และความบกพร่องทางกาย ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในโรงเรียบเศรษฐเสถียร 50 คน เป็นชาย 25 คน เป็นหญิง 25 คน และโรงเรียนสอนคนตาบอด 50 คน เป็นชาย 25 คน เป็นหญิง 25 คน โดยการทดสอบ สมรรถภาพทางกายทั้งหมด 6 รายการทดสอบดังนี้ ยืนกระโดดไกล แรงบีบมือที่ถนัด ลุก-นั่ง 30 วินาที ดึงข้อการก้าวขึ้นลงแบบฮาร์เวิร์ด ผลรวมไขมันใต้ผิวหนัง นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์โดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนมาตรฐาน "ที" วิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง และทดสอบความแตกต่าง รายคู่แบบ "เชพเฟ่" โดยการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกายรายการยืนกระโดดไกล ลุก-นั่ง 30 วินาที การก้าวขึ้นลง แบบฮาร์เวิร์ด ผลรวมไขมันใต้ผิวหนัง และสมรรถภาพทางกายรวมทุกรายการ ระหว่างเพศกับความบกพร่อง ทางกายของนักเรียนไม่มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกาย 4 รายการ คือ ยืนกระโดดไกล ลุก-นั่ง 30 วินาที การก้าวขึ้น-ลงแบบฮาร์เวิร์ด ผลรวมไขมันใต้ผิวหนัง และสมรรถภาพทางกายรวมทุกรายการระหว่างนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น มีความแตกต่างกันอย่างมนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 โดยความแตกต่างนี้ ไม่มีอิทธิพลของเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง
3. ค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกาย 3 รายการคือ ลุก-นั่ง 30 วินาที การก้าวขึ้น-ลงแบบฮาร์เวิร์ด ผลรวมไขมันใต้ผิวหนังและสมรรถภาพทางกายรวมทุกรายการ ระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียน หญิงที่มีความบกพร่องทางกาย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยความแตกต่างนี้ไม่มีอิทธิพล ของความบกพร่องทางกายเข้ามาเกี่ยวข้อง 4. ค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกายสำหรับรายการแรงบีบมือที่ถนัดระหว่างเพศกับความบกพร่อง ทางกายของนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการทดสอบรายคู่พบว่า ค่าเฉลี่ยของนักเรียนชายที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นกับนักเรียนชายที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน นักเรียนชายที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นกับนักเรียนหญิงที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 ยกเว้นนักเรียนชายที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกับนักเรียนหญิงที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนักเรียนหญิงที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นกับนักเรียนหญิงที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study physical fitness of hearing impaired students and visual impaired students: and to compare the physical fitness of hearing impaired student and visual impaired students: and also to study interaction of physical fitness between sex and impaired students. The samples were 50 students who study in Setsatean hearing impaired school and 50 student who study in Bangkok visual impaired school, Bangkok Metropolis. The physical fitness was measured by test 6 items: standing Broad Jump, Hand Grip, Sit-up 30 seconds, Pull-up (for male), Flexed-arm Hang (for female) Harvard Step test, Sum Skinfolds. The data were then analyzed by utilizing mean, Standard deviation, T-score and Two-way Analysis of Variance, Sheffe's multiple comparison method was also employed to determine the significant difference. It was found that: 1. The mean of physical fitness 4 items: Standing Broad Jump, Sit-up 30 seconds, Harvard Step Test, sum skinfolds and total physical fitness between sex and impaired students had not interacted at the .05 level. 2. It was found that the mean of physical fitness (4 items): Standing Broad Jump, Sit-up 30 seconds, Harvard Step Test, Sum Skinfolds between hearing impaired students and Visual impaired students have significant at the .05 level, as this significant had not influence of sex to concerning. 3. The mean of physical fitness 3 items: Sit-up 30 seconds, Harvard Step test, Sum Skinfolds between male students and female students who was impaired body have significant at the .05 level, as this significant had not influence of impaired-body. 4. The mean of physical fitness: Hand Grip between sex and impaired students had interacted at the .05 level, resulted of multiple comparison: The mean of Hand-Grip physical fitness of Visual impaired male students and hearing impaired meal students, visual impaired male students and visual impaired female students have significant at the .05 level; excepted hearing impaired male students and hearing impaired female students, visual impaired female students and hearing impaired female students have not significant at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29968
ISBN: 9745817619
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pairat_yi_front.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_yi_ch1.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_yi_ch2.pdf19.88 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_yi_ch3.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_yi_ch4.pdf7.83 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_yi_ch5.pdf9.34 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_yi_back.pdf9.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.