Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30006
Title: บทบาทและปัญหาของหัวหน้าหอผู้ป่วยด้านการตัดสินใจ การปฏิสัมพันธ์ และการสื่อข้อมูล ตามการรับรู้ของผู้บริหารการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย และพยาบาลประจำการ
Other Titles: Roles and problems of head nurses concerning decision making, interpesonal and informational aspects as perceived by nurse administrators head nurses and staff nurses
Authors: หฤทยา ปรีชาสุข
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้บทบาทและปัญหาในการปฏิบัติงานตามบทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยด้านการตัดสินใจ การปฏิสัมพันธ์ และการสื่อข้อมูลตามการรับรู้ของผู้บริหารการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย และพยาบาลประจำการ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 629 คน เลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่สร้างโดยผู้วิจัยและผ่านกระบวนการทดสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงภายในแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ 1. ผู้บริหารการพยาบาล และหัวหน้าหอผู้ป่วยโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้บทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยทุกด้าน สูงกว่าพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหัวหน้าหอผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สูงสุด พยาบาลประจำการมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด และบทบาทที่มีคะแนนเฉลี่ยในระดับ “ปฏิบัติน้อย” คือ บทบาทด้านการริเริ่มสร้างสรรค์2. พยาบาลวิชาชีพสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้บทบาทด้านการตัดสินใจและการปฏิสัมพันธ์สูงกว่าพยาบาลวิชาชีพ สังกัดกระทรวงกลาโหม ทบวงมหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้บทบาททุกด้านสูงสุด และพยาบาลวิชาชีพสังกัดกระทรวงกลาโหมมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด 3. พยาบาลวิชาชีพที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้บทบาททุกด้านสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีการศึกษาระดับตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้บริหารการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย และพยาบาลประจำการ มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ปัญหาทุกด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ปัญหาด้านการสื่อข้อมูล อยู่ในระดับ “มีปัญหาปานกลาง” 5. พยาบาลวิชาชีพที่มีการศึกษาระดับตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ปัญหาด้านการปฏิสัมพันธ์สูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. บทบาทที่มีความสำคัญตามการรับรู้เป็นอันดับที่ 1 คือ “บทบาทหัวหน้า” และปัญหาที่มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 1 คือ “การขาดความรู้และทักษะด้านการบริหารงาน”
Other Abstract: This research was designed to study and to compare roles and problems of head nurses concerning decision making, interpersonal and informational aspects as perceived by nurse administrators, head nurses and staff nurses. Six hundred and twenty-nine subjects were selected by using the multistage sampling method. The instrument developed by the investigator was the questionnaire which was validated and tested for internal consistency. Data was analyzed by using one way analysis of varience and Scheffe’s method. The major findings were as follows: 1. Nurse administrators and head nurses showed higher means concerning head nurses’ roles in all aspects than staff nurses at .05 significant level. The highest mean was indicated by head nurses while staff nurses showed the lowest mean. The innitiated role has been practicing at low level. 2. Professional nurses under jurisdiction of the Ministry of Public Health showed higher mean of decision making and interpersonal roles than those under jurisdiction of the Ministry of Defence, the Ministry of University Affairs, and Thai Red Cross Hospital at .05 significant level. The highest and the lowest means of those roles were found in the Ministry of Public Health and the Ministry of Defence respectively. 3. Certificate and Diploma nurses showed higher mean of head nurses’ roles than the undergraduate and graduate nurses at .05 significant level. 4. There were no statistically significant differences in perception of problems concerning head nurses’ role perceived by the subjects. The problems of information roles was at minimal level. 5. Undergraduate and graduate nurses perceived the problems of interpersonal roles higher than certificate and diploma nurses at .05 significant level. 6. Figure head role was ranked at the most important one as well as lacking of knowledge and skill in administration was perceived at the highest rank.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30006
ISBN: 9745765309
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Haruetaya_pr_front.pdf6.46 MBAdobe PDFView/Open
Haruetaya_pr_ch1.pdf11.28 MBAdobe PDFView/Open
Haruetaya_pr_ch2.pdf19.77 MBAdobe PDFView/Open
Haruetaya_pr_ch3.pdf4.77 MBAdobe PDFView/Open
Haruetaya_pr_ch4.pdf23.7 MBAdobe PDFView/Open
Haruetaya_pr_ch5.pdf19.41 MBAdobe PDFView/Open
Haruetaya_pr_back.pdf22.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.