Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30028
Title: การศึกษาบทบาทพยาบาลเบาหวาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ
Other Titles: A study of diabetes nurses roles as perceived by professional nurses
Authors: พรรณวดี เหลืองรัตน์
Advisors: กัญญดา ประจุศิลป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: drgunyadar@gmail.com
Subjects: เบาหวาน -- การพยาบาล
พยาบาล -- ทัศนคติ
บริการการพยาบาล -- การบริหาร
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลเบาหวาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกที่มีการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 330 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และทดสอบความเที่ยงโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ค่าความเที่ยง .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1.บทบาทพยาบาลเบาหวานโดยรวมอยู่ที่ระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าบทบาทพยาบาลเบาหวานในด้านการปฏิบัติการพยาบาล (ค่าเฉลี่ย = 4.27, SD = 0.56) ด้านการประสานงานและการติดต่อสื่อสารกับทีมสหสาขาวิชาชีพ (ค่าเฉลี่ย = 3.57, SD = 0.76) อยู่ในระดับมาก แต่บทบาทพยาบาลเบาหวานด้านการจัดการและประเมินผลลัพธ์ (ค่าเฉลี่ย = 3.44, SD = 0.797) ด้านการให้ความรู้และคำปรึกษา (ค่าเฉลี่ย = 3.19, SD = 0.63) และด้านการวิจัยและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (ค่าเฉลี่ย = 3.19, SD = 0.84) อยู่ในระดับปานกลาง 2. พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานมีการรับรู้บทบาทดีกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ไม่ได้รับการอบรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่มี วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านวิชาชีพ และหน่วยงานที่ปฎิบัติงาน แตกต่างกัน มีการรับรู้บทบาทพยาบาลเบาหวานไม่ต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this study were to examine diabetes nurse roles as perceived by professional nurses in government hospitals and private hospitals, Bangkok Metropolis. Subjects were 330 nurses who were selected using multi-stage sampling technique. The research instruments were Nurse Roles in Diabetes patients care Questionnaire. The instrument tested for content validity and reliability by Cronbach’s alpha coefficients were .97. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA. The major findings were as follows: Overall diabetes nurses roles were high level. When was consider in each part found that professional practicing (X bar = 4.27, SD = 0.567) and coordination and communication with the multi-disciplinary team (X bar = 3.57, SD = 0.768) was high level. Contrast with management and evaluations (X bar = 3.44, SD = 0.797), education and consultation (X bar = 3.19, SD = 0.63), and research and using evidence-based practice (X bar = 3.19, SD = 0.84) was moderate level. ; Professional nurses who was trained had perceived more than professional nurses who was untrained diabetes care, statistical significantly (p< 0.5). However, professional nurse who have difference educational level, nursing experience and working units had perceived diabetes nurses roles not different.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30028
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1121
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1121
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phannavadee_lu.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.