Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30032
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐนิภา คุปรัตน์ | |
dc.contributor.advisor | สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม | |
dc.contributor.author | ไพศาล สินลารัตน์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-03-19T05:53:02Z | |
dc.date.available | 2013-03-19T05:53:02Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9745667692 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30032 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการฝึกงานของนักศึกษา สาขาวิชาช่างก่อสร้าง ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมานคร 2. เพื่อนำเสนอเกณฑ์ประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา สาขาวิชาช่างก่อสร้าง ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหาร วิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 16 กน อาจารย์ผู้สอน และอาจารย์นิเทศก์สาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิค สังกัด กรมอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 63 คน วิศวกรหรือผู้ควบคุมงานจากสถานประกอบการต่าง ๆ จำนวน 20 คน นักศึกษาแผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านการฝึกงานแล้ว จำนวน 242 คน รวมทั้งสิ้น 341 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างใช้สุ่มแบบเจาะจง ( Purposive Sampling )จากผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหาร จำนวน 8 คน อาจารย์ผู้สอน อาจารย์นิเทศก์สาขาวิชาช่างก่อสร้าง จำนวน 12 คน วิศวกรหรือผู้ควบคุมงานจากสถานประกอบการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบสัมภาษณ์ใช้สำหรับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาคุณลักษณะย่อยขององค์ประกอบการฝึกงานของนักศึกษา 2. แบบสอบถามความคิดเห็น ใช้สำหรับประชากร โดยแบ่งเป็นสถานภาพ ของผู้ตอบแบบสอบถาม ความคิดเห็นต่อรายการประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้น้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบการฝึกงาน ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ขั้นที่ 1 ศึกษาเอกสาร ตำรา นโยบาย และเกณฑ์ประเมินผลการฝึกงานจากแหล่งต่าง ๆ ขั้นที่ 2 กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ได้แก่องค์ประกอบของการฝึกงาน ประกอบด้วย 1. ความรู้ความสามารถและทักษะ 2. ปริมาณและคุณภาพของงาน 3. บุคลิกภาพส่วนตัว ขั้นที่ 3 สร้างเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ มี 2 ชนิด 1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อศึกษาคุณลักษณะย่อยขององค์ประกอบการฝึกงานในแต่ละด้าน 2. แบบสอบถาม เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการ ประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า ขั้นที่ 4 รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ขั้นที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลจากการสัมภาษณ์วิเคราะห์โดยการจัดหมวดหมู่ตามลำดับความสำคัญ ข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ( %) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) สรุปผลการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับที่แน่ใจว่ารายการประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำเป็นต้องประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา จำนวน 50 รายการจาก 67 รายการ และสมควรนำไปใช้เป็นเกณฑ์ประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบการฝึกงานของนักศึกษา 3 ด้านด้วยกันคือ 1. องค์ประกอบด้านความรู้ ความสามารถและทักษะ 2. องค์ประกอบด้านปริมานและคุณภาพของงาน 3.องค์ประกอบด้านบุคลิกภาพส่วนตัว องค์ประกอบการฝึกงานแต่ละด้านนั้น ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำหนักความสำคัญแตกต่างกันไปคือ องค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถและทักษะ มีค่าร้อยละ 60 องค์ประกอบด้านปริมาณและคุณภาพของงาน และองค์ประกอบด้าน บุคลิกภาพส่วนตัวมีค่าร้อยละ 20 เท่ากันทั้ง 2 ด้าน การนำเกณฑ์ประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษาไปใช้นั้น ผู้วิจัยได้กำหนดน้ำหนักคะแนนขององค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถและทักษะ 60 คะแนน องค์ประกอบด้านปริมาณและคุณภาพของงาน 20 คะแนน องค์ประกอบด้านบุคลิกภาพส่วนตัว 20 คะแนน โดยให้ผู้ควบคุมการฝึกงานของนักศึกษา ที่สถานประกอบการแต่ละแห่งแต่งตั้งมอบหมายรับผิดชอบ เป็นผู้ประเมิน | |
dc.description.abstractalternative | Proposes: 1. To study the field practice’s composition of the students majoring in building construction technology-trades & industry in Technical College under the jurisdiction of Vocational Educational Department in Bangkok Metropolis 2. To propose evaluative criteria of students' field practice majoring in building construction technology-trades & industry in Technical College under the jurisdiction of Vocational Educational Department in Bangkok Metropolis Research Procedure Population and Sample 1. The population for this research consists of 16 administrators and assistants, and 63 lecturers and supervisors in building construction in Technical College under the jurisdiction of Vocational Educational Department in Bangkok Metroplis, 20 engineers or foreman, at various sites, and 242 post field practice students majoring in building construction in Technical College under the Jurisdiction of Vocational Educational Department in Bangkok Metropolis. Totaling of 341 persons. 2. The sampling groups in purposive sampling technique are from 8 administrators and assistants, 12 lecturers and supervisors, and 20 engineers of foreman. Totaling of 40 persons. Research instruments 1. Structured interview for the sampling groups to fine out the detail of the student’s field practice composition. 2. Questionnaire use with population is divided by status of person answering questionnaire in to opinion of questionnaire, opinion on the importance of field practice composition. Findings : The population and the sampling groups are certain that 50 questions out of the 67 are important for field practice students. They recommend that it should be used for as evaluative criterion which consist of 3 criteria for the field practice students. They are as the followings: 1. knowledge, ability and skill 2. volume and quality of work 3. Personality About the field practice’s composition, they give 00 percent to knowledge, ability and skill, and 20 percent each to volume and quality of work, and personality. In using the evaluative criteria of field practice students, the researcher gave 60 scores to knowledge, ability and skill, 20 scores to volume and quality of work, and 20 scores to personality. The supervisor of each training site for field practice students is to be responsible for evaluation. | |
dc.format.extent | 5932647 bytes | |
dc.format.extent | 5637261 bytes | |
dc.format.extent | 13710193 bytes | |
dc.format.extent | 3933598 bytes | |
dc.format.extent | 13396681 bytes | |
dc.format.extent | 4986622 bytes | |
dc.format.extent | 3487599 bytes | |
dc.format.extent | 12552036 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การนำเสนอเกณฑ์ประเมินผลการฝึกงาน ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | A proposed evaluative criteria for field practice of students majoring in building construction technology, trades and industry in technical colleges under the Jurisdiction of Vocational Education Department, Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paisal_si_front.pdf | 5.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_si_ch1.pdf | 5.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_si_ch2.pdf | 13.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_si_ch3.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_si_ch4.pdf | 13.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_si_ch5.pdf | 4.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_si_ch6.pdf | 3.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paisal_si_back.pdf | 12.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.