Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30042
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัฎฐมา นิลนพคุณ-
dc.contributor.authorพลพีร์ แสงสุวอ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialสุรินทร์-
dc.date.accessioned2013-03-19T08:08:46Z-
dc.date.available2013-03-19T08:08:46Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30042-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านทอผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาทำการท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์ จำนวนกลุ่มตัวอย่างของประชาชนและนักท่องเที่ยวคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เป็นประชาชนจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 200 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาทำการท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 200 คน การเก็บข้อมูลการวิจัยของทั้งสองกลุ่มใช้แบบสอบถามโดยการสุ่มแบบสะดวก สำหรับเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวละผู้นำชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 8 คนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงและใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล นำผลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาจัดกลุ่ม สรุปเป็นความเรียงตามข้อคำถาม ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนในท้องถิ่นส่วนใหญ่ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ประกอบการท่องเที่ยวในระดับมากทุกด้านได้แก่ด้านพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย = 4.17) ด้านกิจกรรมและกระบวนการส่งเสริมจากภาครัฐ (ค่าเฉลี่ย = 4.16) ด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย = 4.00) ส่วนนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความต้องการให้หมู่บ้านมีการพัฒนาองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้แก่ ด้านการจัดโปรแกรมท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย = 4.16) ด้านบริการเสริม (ค่าเฉลี่ย = 4.16) ด้านการคมนาคมเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว(ค่าเฉลี่ย = 4.12) การสัมภาษณ์ก็ได้ผลไปในทิศทางเดียวกันจากการวิจัยสรุปแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านทอผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ ได้ดังนี้ ทางจังหวัดควรมีการจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในระยะสั้น และ แผนระยะยาว หน่วยงานของท้องถิ่นควรมีการทำความเข้าใจกับประชาชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมแก่ประชาชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวen
dc.description.abstractalternativeThis study examined residents and tourists’ opinions towards tourism development in Surin, coupled with interviewing government officers and elite persons in the communities. Three groups of sampling included: Surin residents; tourists visiting Surin; and government officers and elite persons responsible for tourism development in Surin. Sampling size was calculated using Yamanae equation. Data was collected by convenience sampling using questionnaire to 200 Surin residents, and 200 Thai tourists. Three government officers and 8 elite persons were interviewed using in-depth interview technique. Data from questionnaires were analyzed using mean and percentile, and data from the interviews were grouped and described. It was found that most residents had highly willing to involve in: development of tourism attraction (X bar = 4.17), tourism activities that government support (X bar = 4.16), and tourism management (X bar = 4.17). Most tourists highly agreed that tourism products in Thai Silk Villages should be developed such as accessibility (X bar = 4.16), available packages (X bar = 4.12), and ancillary services (X-bar = 4.12). Guidelines for tourism development of Thai Silk villages in Surin concluded from the study were as follow: long-term and short-term tourism planning should be developed; local government department should educate communities in tourism development and promote community involvement in tourism development; and development of tourism products and services were necessary.en
dc.format.extent2695738 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1126-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- การจัดการen
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- สุรินทร์en
dc.subjectวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว -- ไทย -- สุรินทร์en
dc.subjectการทอผ้าไหม -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทย -- สุรินทร์en
dc.titleแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านทอผ้าไหม จังหวัดสุรินทร์en
dc.title.alternativeGuidelines for tourism development Thai silk villages in Surin Provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1126-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
polpee_sa.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.