Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30057
Title: ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่ใช้ระยะเวลาต่างกัน ที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือด
Other Titles: Effects of exercise programs with different durations on biochemistry substances in blood
Authors: อนุทิน เพชรอุทัย
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่ใช้ระยะเวลาต่างกันที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือด กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นบุคลากรหญิงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 25-40 ปี ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 20 คน ก่อนการทดลองได้มีการตรวจสารชีวเคมีในเลือด แล้วใช้ค่าคอเลสเตอรอลเป็นตัวจัดกลุ่มโดยวิธีจับกลุ่ม (Matched Group) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้ระยะเวลาฝึก 30 นาที กลุ่มที่ 2 ใช้ระยะเวลาฝึก 40 นาที ทั้งสองกลุ่มทำการออกกำลังกายด้วยความหนักของงาน 70 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ ตามโปรแกรมการออกกำลังกาย ซึ่งประกอบด้วย เดิน-วิ่ง ขี่จักรยานอยู่กับที่ และแอโรบิคดานซ์ หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองนำค่าตรวจสารชีวเคมีในเลือดมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า "ที" (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าคอเลสเตอรอล และแอลดีแอล ของกลุ่มที่ 1 ก่อนและหลังการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ค่ากลูโคส และค่าไครกลีเซอไรด์ ของกลุ่มที่ 2 ก่อนและหลังการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ค่าเอชดีแอล ของทั้งสองกลุ่ม ก่อนและหลังการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ค่ากลูโคส คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ เอชดีแอล และแอลดีแอล ระหว่างกลุ่มที่ 1 กับกลุ่มที่ 2 หลังการฝึก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study and to compare the effects of exercise programs with different durations on biochemistry substances in blood. Subjects were twenty female volunteer personnels of Chulalongkorn University, aged 25-40 years old. They were devided into two groups and matched group by blood cholesterol. The first group was trained for thirty minutes. The second group was trained for forty minutes. Both groups were trained with intensity at seventy percent of the maximum heart rate, three days per week for twelve weeks. The exercise programs were jogging-walking, ergometer and aerobic dance. After the experiment, the biochemistry substances in blood were then measured in both groups. The data-were analyzed in term of means, standard deviations and t-test at the significant level of .05. The results of this research were that: 1. The means of cholesterol and LDL between pre and post experiments of the first group was significantly different at the .05 level. 2. The means of glucose and triglyceride between pre and post experiments of the second group was significantly different at the .05 level. 3. The means of HDL between pre and post experiments of both groups were significantly different at the .05 level. 4. The means of glucose, cholesterol, triglyceride, HDL and LDL for post experiment of the both groups were not significantly different at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30057
ISBN: 9745811831
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anutin_pa_front.pdf772.66 kBAdobe PDFView/Open
Anutin_pa_ch1.pdf850.06 kBAdobe PDFView/Open
Anutin_pa_ch2.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Anutin_pa_ch3.pdf401.61 kBAdobe PDFView/Open
Anutin_pa_ch4.pdf843.15 kBAdobe PDFView/Open
Anutin_pa_ch5.pdf816.77 kBAdobe PDFView/Open
Anutin_pa_back.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.