Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30106
Title: การประเมินผลทางคลินิคของการใช้ยาเซฟโฟแทคซีม ในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียที่รุนแรง ในทารกและเด็ก
Other Titles: Clinical evaluation of cefotaxime in treatment of serious bacterial infection in infants and children
Authors: อนุสรา ภู่จีนาพันธุ์
Advisors: สมศักดิ์ โล่ห์เลขา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Cefotaxime (CTX) เป็นยาในกลุ่ม third generation cephalosporin ที่ออกฤทธิ์กว้างขวางทั้งแบคทีเรียกรัมบวกและกรัมลบ นอกจากนี้ยังมีผลต่อเชื้อ Pseudomonas aeruginosa บางพันธ์ได้ มีพิษต่อไตต่ำ การศึกษาครั้งนี้ต้องการประเมินผลของยาในแง่ต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ยานี้ในผู้ป่วยคนไทยได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ผู้ป่วยที่นำมาทำการศึกษา เป็นผู้ป่วยเด็กในภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในปี 2524-2525 ซึ่งมีการติดเชื้อที่รุนแรง และได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล ผลการทดสอบความไวโดยวิธี disc diffusion ของเชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยทั้งก่อน, ระหว่างให้และหลังให้ยา จำนวน 28 พันธ์ พบว่าไว 16 พันธ์ (ร้อยละ 57.14) ไวปานกลาง 6 พันธ์ (ร้อยละ 21.43) และดื้อ 5 พันธ์ (ร้อยละ 17.86) เมื่อนำเชื้อเหล่านี้มาหาค่า MTC (Minimal Inhibitory Concentration) โดยวิธี Agar dilution พบว่า E.coli ไวต่อ CTX มาก (MTC 0.031-0.125 ไมโครกรัม/มล) klebsiella และ Enterobacter aerogenes ก็ไวต่อ CTX เช่นกัน แต่ Enterobacter cloacae MTC จะสูงกว่า (0.125-64 ไมโครกรัม/ มล.) สำหรับ Pseudomonas aeruginosa ค่อนข้างดื้อต่อ cefotaxime ระดับยาในเลือด 1 ชม. หลังให้ยาและก่อนให้ยาครั้งต่อไป เมื่อให้ขนาด 100 มก/กก/. วัน (แบ่งให้ทุก 6 ชม.) มีค่า 26.43±6.17 ไมโครกรัม/มล. และ 2.82±0.65 ไมโครกรัม/มล. ตามลำดับ หลังจากให้ยาในช่วงเวลาให้การรักษา ไม่พบว่ามีการสะสมของยาในร่างกายระดับยาในน้ำไขสันหลัง เมื่อให้ยาขนาด 100-200 มก./กก/. วัน มีค่า 1.36-4.2 ไมโครกรัม/มล. สำหรับระดับยาในปัสสาวะสูงมาก สูงกว่าระดับยาในเลือดถึง 265.5 เท่าในผู้ป่วยที่มีหน้าที่ของไตปกติ และ 7.6 เท่าในผู้ป่วยที่มีหน้าที่ของไตผิดปกติ การประเมินผลทางจุลชีววิทยาของ CTX มีเชื้อที่เป็นสาเหตุ 30 พันธ์ พบว่าเชื้อถูกกำจัดหมดสิ้น 27 พันธ์ (ร้อยละ 90) เชื้อยังคงมีอยู่ 1 พันธ์ (ร้อยละ 3.3) และไม่สามารถประเมินผลได้ 2 พันธ์ (ร้อยละ 6.7) การประเมินผลทางคลินิกโดยแยกเป็นการติดเชื้อของระบบต่างๆ รวม 7 ระบบ และ 29 แห่ง (site of infection) ประกอบด้วย ระบบทางเดินหายใจ (7), ระบบทางเดินปัสสาวะ (4), ระบบเลือด (5), ระบบผิวหนังและเนื้อเยื่อ (3), ระบบประสาทส่วนกลาง (3), ระบบทางเดินอาหาร (ท่อน้ำดีและตับ) (6) และระบบกระดูก (1) พบว่าคนไข้หายจากโรค (Complete resolution) ร้อยละ 20.7, ดีขึ้น (Improvement) ร้อยละ 55.2, ล้มเหลว (Failure) ร้อยละ 20.7 และไม่สามารถประเมินผลได้ร้อยละ 3.4 จะเห็นได้ว่าทั้ง 7 ระบบให้การรักษาด้วย CTX ได้ผลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินปัสสาวะให้ผลดีมาก แม้ในบางรายเชื้อที่เป็นสาเหตุดื้อต่อ CTX ในหลอดทดลอง แต่เมื่อให้การรักษาด้วย CTX ก็สามารถกำจัดเชื้อได้หมดสิ้นเนื่องจากระดับยาในปัสสาวะสูง ผูป่วยที่มีการติดเชื้อของทางเดินหายใจ เชื้อที่เป็นสาเหตุทั้งหมด 11 พันธ์ ถูกกำจัดหมด 10 พันธ์ และเชื้อยังคงอยู่เพียง 1 พันธ์ (Pseudomonas aeruginosa) แต่มีผู้ป่วย 3 รายในทั้งหมด 7 รายที่ได้รับการประเมินผลทางคลินิกว่า Failure ทั้งนี้ เนื่องจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ (Underllying disease) รุนแรง พบว่ามีฤทธิ์ข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในผู้ป่วย 8 ราย (ร้อยละ 38.1) จากผู้ป่วยทั้งหมด 21 คน ฤทธิ์ข้างเคียงดังกล่าวมี ผื่น, ไข้, การติดเชื้อราแคนดิดา, False positive Coombs' test และท้องเดิน จากการตรวจหน้าที่ของระบบโลหิตวิทยา และหน้าที่ของตับและไต ก่อนและหลังให้ยา ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมากจากยาแต่ประการใด
Other Abstract: Cefotaxime is a third generation cephalosporin with broad spectrum activity against both gram positive and gram negative bacteria. It is also effective against some strains of Pseudomonas aeruginosa. Its nephrotoxicity is low. This study wanted to evaluate various aspects of this drug (in vitro activity, efficacy, antibiotic level and safety) in order to use as a guide line for treatment of infectious diseases in Thailand. Patients studied were from department of pediatrics, Ramathibodi hospital and Pramongkutklao hospital in 1981-1982 who had serious infections and failed to respond to other antimicrobial agents. In vitro susceptibility testing of 28 strains the organisms isolated from the patients before, during, and after cefotaxime treatment by using disc diffusion technique revealed that 16 strains were sensitive (57.14%), 6 strains were inter- mediate sensitive (21.43%) and 5 strains were resistant(17. 86%). Minimum inhibitory concentration determination of these organisms by agar dilution technique revealed that E.coli, Klebsiella 'spp. and Enterobacter aerogenes were very sensitive to cefotaxime (MIC 0.031-0.125 μg/ml.) Enterobacter cloacae had higher MIC (0.125-64 μg/ml). Pseudomonas aeruginosa were relative resistant to cefotaxime. Peak (1 hour after injection) and trough serum concentration of cefotaxime in a dose of 100 mg/kg/day (divided into 4 doses every 6 hours) were 26.43±6.17 μg/ml and 2.82±0.65 μg /ml respectively. There was no evidence of drug accumulation after prolonged treatment. Cefotaxime concentration in the cerebrospinal fluid in the dose of 100-200 mg/kg/day ranged from 1.36 to 4.2 μg /ml. Urinary concentration of the drug was 265 times higher than serum concentration in patients with normal renal function and 7.6 times serum concentration in patients with renal impairment. Bacteriological results of 30 strains of causative organisms revealed 27 elimination (90%), 1 persistent (3.3%) and 2 indeterminate (6.7%). Clinical efficacy of cefotaxime was evaluated by system of infection. There were 29 site of infections in 7 systems; respiratory (7), urinary tract (4), septicemia (5) skin and soft tissue (3), central nervous system (3), intestinal and hepatobiliary (6), bone and joint (1). The results were complete resolution 20.7%, improvement 55.2%, failure 20.7%, and indeterminate 3.4%, This data indicated that cefataxime was an effective drug in the treatment of infection at various sites especially in urinary tract infection. The organisms could be eliminated from the urine in spite of in vitro resistant since the urinary concentration of the drug was very high. Ten out of 11 organisms isolated from patients with respiratory tract infection were eliminated. Only one strain (Pseudomonas aeruginosa) was persistent. However, 3 out of 7 patients were evaluated as clinical failure, This was due to severe underlying diseases. Adverse drug reactions were found in 8 out of 21 cases (38.1%). They were rashes, fever, condida superinfection, false positive Coombs' test and diarrhoea. There were no change in hematologic, liver and renal function after treatment with cefotaxime.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30106
ISBN: 9745623865
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anusara_poo_front.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Anusara_poo_ch1.pdf529.94 kBAdobe PDFView/Open
Anusara_poo_ch2.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Anusara_poo_ch3.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Anusara_poo_ch4.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Anusara_poo_ch5.pdf798.39 kBAdobe PDFView/Open
Anusara_poo_back.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.