Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30163
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสวัสดิ์ จงกล-
dc.contributor.authorนุชิต ศรีอาจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-03-22T03:06:38Z-
dc.date.available2013-03-22T03:06:38Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745677078-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30163-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 2. เพื่อศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 9 ที่เปิดสอนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีการศึกษา 2529 จำนวน 66 โรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูล ดังนี้คือ ผู้บริหาร จำนวน 198 คน และครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา จำนวน 125 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 323 คน จากแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งสิ้น 323 ฉบับ ได้รับคืนเป็นฉบับที่สมบูรณ์ จำนวน 273 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.52 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบและแบบปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัย สภาพการปฏิบัติในการใช้หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมีการปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ด้านการเตรียมบุคลากร โรงเรียนมีการจัดสำรวจความพร้อมของครูด้วยการสอบถามหัวหน้าหมวดวิชาสังคมศึกษา และผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ ประชุมปรึกษาหารือกับครู และมีการเตรียมครูผู้สอนด้วยการส่งครูเข้ารับการฝึกอบรมตามหน่วยงาน หรือหน่วยราชการต่างๆ 2. ด้านการจัดครูเข้าสอน ผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่เป็นครูหมวดวิชาสังคมศึกษา วิธีการจัดครูเข้าสอนด้วยการจัดผู้มีความรู้ และทักษะในการสอนพุทธศาสนาเข้าสอน โรงเรียนส่วนใหญ่มีครูผู้สอนพุทธศาสนา แต่ยังไม่เพียงพอ 3. ด้านการบริการหลักสูตรภายในโรงเรียน 3.1 เอกสารประกอบหลักสูตร โรงเรียนจัดหาด้วยวิธีการซึ่งส่วนใหญ่รับจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เอกสารประกอบหลักสูตรที่จัดหาให้ส่วนใหญ่ คือ หลักสูตร (แม่บท) และหนังสือแบบเรียน 3.2 สื่อการเรียนการสอน โรงเรียนส่วนใหญ่จัดให้มีการสำรวจสื่อการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ด้วยการให้ครู และหัวหน้าหมวดวิชาสังคมศึกษาเป็นผู้สำรวจ รายละเอียดในการสำรวจที่โรงเรียนใช้พิจารณา ส่วนใหญ่ คือ ความสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ส่วนน้อย คือ ด้านปริมาณ วัสดุอุปกรณ์การสอน มีแต่ยังไม่เพียงพอ การบริการสื่อการสอนโรงเรียนส่วนใหญ่จัดให้ความสะดวกในการนำไปใช้ และสนับสนุนส่งเสริมการผลิตสื่อการสอนด้วยการให้งบประมาณในการผลิต 3.3 ห้องสมุด โรงเรียนจัดบริการด้วยการแนะนำให้ครูใช้ห้องสมุดให้เป็นประโยชน์ต่อการสอนพุทธศาสนา และจัดหาหนังสือทางพระพุทธศาสนาให้แต่ยังไม่เพียงพอ 3.4 สถานที่ใช้ในการเรียนการสอน ส่วนใหญ่ใช้สอนในห้องเรียนธรรมดาและห้องจริยธรรม เกณฑ์ที่ใช้ในการจัดสถานที่ใช้สอน ส่วนใหญ่ คือ จัดสอดคล้องกับจุดประสงค์ของวิชา สภาพความเป็นจริงของห้องเรียน ส่วนใหญ่มีความเป็นระเบียบ สะอาด และอากาศถ่ายเทดี 4. ด้านการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร ผู้นิเทศส่วนใหญ่ คือ หัวหน้าหมวดวิชาสังคมศึกษา วิธีการนิเทศส่วนใหญ่ใช้การประชุมชี้แจง ให้ศึกษาเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ และให้คำแนะนำ ส่วนน้อย คือ สาธิตการสอน การติดตามผลการใช้หลักสูตรด้วยการตรวจสอบแผนการสอน แบบบันทึกการประเมินผลการเรียน การสนับสนุนให้ครูผู้สอนได้เพิ่มพูนทักษะความรู้ด้วยการส่งไปรับการอบรม/ศึกษาดูงาน จัดหาหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนา เอกสารวิชาการใหม่ๆ ให้อ่านศึกษา และส่วนใหญ่สนับสนุนให้กำลังใจครูผู้สอนด้วยการให้งบประมาณในการจัดกิจกรรม 5. ด้านการวางแผนการสอน ครูผู้สอนเตรียมการสอนทุกครั้ง มีการจัดทำแผนการสอนด้วยตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้หนังสือแบบเรียน และหลักสูตร (แม่บท) ประกอบการจัดทำ ก่อนสอนมีการแนะแนวทางการเรียนด้วยการทำเป็นบางครั้ง การฝึกภาคปฏิบัติ ส่วนใหญ่ให้ฝึกทุกครั้ง การใช้อุปกรณ์การสอน ส่วนใหญ่ใช้เป็นบางเรื่องด้วยการใช้รูปภาพเป็นส่วนใหญ่ รองลงมา คือ หนังสือพิมพ์ เครื่องบันทึกเสียงและของจริง และมีการใช้แหล่งวิทยาการในการสอน 6. ด้านเทคนิคและวิธีสอน ครูส่วนใหญ่สอนด้วยวิธี การบรรยาย รองลงมา คือ การอภิปราย การสนทนา และการศึกษาค้นคว้ารายงาน เกณฑ์เลือกวิธีสอน ส่วนใหญ่พิจารณาจุดประสงค์ของเนื้อหาวิชา ครูผู้สอนส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการเลือกวิธีสอน และยังไม่มีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ 7. ด้านกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน ด้วยการจัดเฉพาะที่เห็นว่าสำคัญ กิจกรรมที่จัดส่วนใหญ่ จัดกิจกรรมตามโอกาสต่างๆ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา สวดมนต์ ฝึกสมาธิ และนิมนต์พระมาบรรยายธรรม โรงเรียนให้การสนับสนุนช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมด้วยการให้งบประมาณ และให้คำปรึกษาแนะนำ ผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเป็นครูผู้สอน นักเรียนและครูหมวดวิชาสังคมศึกษา 8. ด้านการวัดและประเมินผล ครูผู้สอนมีการชี้แจง จุดมุ่งหมาย หลักเกณฑ์และวิธีการวัดผลให้นักเรียนทราบ การวัดผลจัดทำหลังจากจบบทเรียนแล้ว และตามแต่โอกาสที่เหมาะสม การวัดและประเมินผล ส่วนใหญ่เน้นด้านความรู้ความจำ การนำไปใช้และเจตคติ ด้วยการใช้แบบทดสอบ เป็นส่วนใหญ่ รองลงมา คือ ใช้การสังเกตพฤติกรรมและการปฏิบัติของนักเรียน การปฏิบัติแก้ไขหลังการวัดและประเมินผล แก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่แก้ไขน้อย คือการปรับปรุงเครื่องมือวัดผล มีการชี้แจงข้อที่ควรแก้ไขให้นักเรียนทราบทุกครั้งหลังการวัดและประเมินผล ปัญหาการใช้หลักสูตร ปัญหาที่สำคัญมีดังนี้ 1. ด้านการเตรียมบุคลากร ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา ได้รับการอบรมไม่ครบทุกคน งบประมาณไม่เพียงพอ ไม่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ หรือ การจัดอบรม 2. ด้านการจัดครูเข้าสอน ได้แก่ ขาดครูผู้สอนที่มีความรู้และทักษะในการสอนพุทธศาสนา ครูผู้สอนไม่มีวุฒิทางพระพุทธศาสนา 3. ด้านการบริการหลักสูตรภายในโรงเรียน ได้แก่ เอกสารประกอบหลักสูตรยังไม่เพียงพอ งบประมาณในการดำเนินการด้านสื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ ขาดอุปกรณ์การสอน และอุปกรณ์การสอนไม่มีประสิทิภาพ 4. ด้านการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร ได้แก่ ขาดบุคลากรในการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ บุคลากรในการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร ยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักวิชา และการปฏิบัติ 5. ด้านการวางแผนการสอน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาพระพุทธศาสนาของครูผู้สอนยังมีน้อย เวลาในการเตรียมการสอนไม่เพียงพอ 6. ด้านเทคนิคและวิธีสอน ได้แก่ ขาดอุปกรณ์การสอน 7. ด้านกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน ได้แก่ ความพร้อมของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมมีน้อย นักเรียนมีความสนใจในกิจกรรมที่จัดขึ้นน้อย งบประมาณไม่เพียงพอ 8. ด้านการวัดและประเมินผล ได้แก่ ครูผู้สอนยังไม่สามารถวัดผลให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ความรู้ความเข้าใจเรื่องวิธีการวัดผลของครูผู้สอนยังไม่เพียงพอ-
dc.description.abstractalternativePurposes : 1. To study the implementation of Buddhism subject in the Upper Secondary School Curriculum B.E. 2524 in schools under the jurisdiction of the General Education Department, Educational Region Nine. 2. To study the implementation problems concerning Buddhism subject in the Upper Secondary School Curriculum B.E. 2524 in schools under the jurisdiction of the General Education Department, Educational Region Nine. Procedures : This research was a survey research. The population used in the research were 66 secondary schools under the jurisdiction of the General Education Department, Educational Region Nine, which offered Buddhism subject in upper secondary school level, academic year 1986. The population were 198 administrators and 125 Buddhism subject teachers. The total was 323. From the total of 323 questionnaire sent out, 273 copies or 84.52 percent were completed and returned. The research instrument was a set of questionnaire using check list and open-ended. Percentage was used in data analysis. Findings: The population schools implemented Buddhism subject curriculum in upper secondary school level as follow: 1. In personnel preparation, the schools investigated teachers’ readiness by interviewing heads of Social Studies Department and assistant administrators in academic affairs by holding a meeting with teachers and the schools prepared teachers by sending them to attend workshops provided by government offices. 2. In assigning teachers to teach this subject, most Buddhism subject teachers were social studies teachers. The schools assigned teachers by selecting teachers with good knowledge and skills in teaching Buddhism. Most school had some Buddhism subject teachers, but still insufficient. 3. In curriculum services in school 3.1 Curriculum materials, the schools acquired curriculum materials by receiving them from diect responsible sections. Curriculum materials provided most were the curriculum and textbooks. 3.2 Instructional media, most schools assigned teachers and heads of Social Studies Department to investigate instructional media. The criterion used most in investigating was congruency with the subject matter, and the used least was the quantity. There were some instructional media which still insufficient. In instructional services, most schools provided facilities for teaching subject and providing budget to encourage media construction. 3.3 Library, the schools advised teachers to make use of library in teaching Buddhism, but Buddhist books were still insufficient. 3.4 Instructional site, most schools used regular classrooms and moral study room for teaching Buddhism subject. The criterion for site selection was conduciveness to subject objectives. In reality, most rooms were clean, neat and well ventilated. 4. In curriculum supervision and follow-up, most supervisors were heads of Social studies Department. The methods used most in supervision were staff meeting, and explaining, assigning staffs to study documents, and giving advices. The method rarely used was demonstration. They followed up teachers’ performance by checking lesson plans and instructional evaluation record. They support teachers by sending them to attend workshop and visit other schools, and providing Buddhist books and new academic documents. They encouraged teachers by providing budget for conducting activities. 5. In instructional planning, teachers prepared themselves every time before teaching. They constructed lesson plan by themselves by relying on curriculum and the textbooks. They occasionally guided their students how to study. Most teachers made their students actually [practiced] every time. The instructional media were used [occasionally]. Pictures were used most, then newspapers, tape recorder, and real objects respectively. Academic resources were also used to supplement regular instruction. 6. In teaching techniques, teachers used lecture method most, then discussion, oral and written respectively. The criteria used was considering subject objectives. Most teachers were still unable to select effective teaching techniques and the lack of skill in implementing instructional media. 7. In co-curricular activities the schools provided only co-curricular activities that they thought important. Most activities, provided in special occasions concerning Buddhist important days, i.e. praying, mediation and inviting monks to preach on Buddhist’s principles. The schools supported co-curricular activities by providing budget and giving advise. The personnel related to co-curricular were teachers, students, and social studies teachers. 8. In measurement and evaluation, teachers explained objectives, criteria and measuring methods to students. Measurement was administered after finishing lessons and in appropriate occasions. The measurement and evaluation techniques widely used were knowledge, memory, application and attitudes by using tests, and observing student behavior and practices respectively Corrective practice after measurement and evaluation implemented most was student behavior correction, and implemented least was measuring instrument improvement. Students were explained how to correct themselves every time after measurement and evaluation. Problems of curriculum implementation were as follows: 1. In personnel preparation, the problems were (1) not every Buddhism subject teacher attending workshop, (2) insufficient budget, and (3) lack of information of knowledge dissemination or workshops. 2. In assigning teachers to teach this subject, the problems were lack of teachers with sufficient knowledge and skill in teaching Buddhism subject, and teachers not having degrees in Buddhism. 3. In curriculum services in school, the problems were insufficient curriculum materials, in-adequate budget in providing instructional media, as well as insufficiency and inefficiency of instructional media. 4. In curriculum supervision and follow-up, the problems were lack of personnel of supervise and follow-up curriculum implementation regularly, and the personnel having insufficient knowledge and understanding in the principles and practice. 5. In instructional planning, the problems were insufficient knowledge and understanding in Buddhism subject of teachers and insufficient time in instructional preparation. 6. In teaching techniques, the problem was lack of instructional media. 7. In co-curricular activities, the problems were lack of teachers’ readiness in providing activities, students having little interest in the provided activities, and insufficient budget. 8. In measurement and evaluation, the problems were teachers’ inability to measure responding to the defined objectives, and insufficient knowledge and understanding of teachers in measuring methods.-
dc.format.extent1929169 bytes-
dc.format.extent1080420 bytes-
dc.format.extent2977122 bytes-
dc.format.extent645076 bytes-
dc.format.extent8639141 bytes-
dc.format.extent3924660 bytes-
dc.format.extent3402953 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการใช้หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9en
dc.title.alternativeAn implementation of Buddhism subject in the Upper Secondary School Curriculum B.E. 2524 in schools under the jurisdiction of the General Education Department, Educational Region Nineen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuchit_sr_front.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Nuchit_sr_ch1.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Nuchit_sr_ch2.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open
Nuchit_sr_ch3.pdf629.96 kBAdobe PDFView/Open
Nuchit_sr_ch4.pdf8.44 MBAdobe PDFView/Open
Nuchit_sr_ch5.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Nuchit_sr_back.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.