Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30254
Title: ระบบไมโครโปรเซสเซอร์แบบกระจายขนาดเล็กที่ใช้หน่วยความจำร่วม
Other Titles: Small scale distributed microprocessor system using shared memory technique
Authors: บวร ปภัสราทร
Advisors: ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การใช้หน่วยความจำร่วมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์แบบกระจาย เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดวิธีหนึ่ง วิทยานิพนธ์นี้เสนอการใช้หน่วยความจำร่วม RMA โดยใช้วงจร ARBITER ที่สร้างขึ้นจากฮาร์ดแวร์ง่ายๆ และไม่ต้องการสัญญาณ clock จากภายนอก วงจร ARBITER ประกอบด้วย CONTROLLER และ SCANNER โดย CONTROLLER ทำหน้าที่รับสัญญาณขอใช้หน่วยความจำร่วมจากไมโครโปรเซสเซอร์และส่งสัญญาณอนุญาตหรือหยุดรอกลับไปให้ไมโครโปรเซสเซอร์ตัวนั้นตามคำสั่งของ SCANNER ซึ่งทำหน้าที่จัดลำดับการใช้หน่วยความจำร่วม วงจร รARBITER นี้ใช้ได้กับระบบที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ Z-80 4 ตัว แต่สามารถเพิ่มขึ้นเป็น 6 ตัวได้ และใช้ได้กับระบบไมโครโปรเซสเซอร์แบบกระจายทุกแบบที่มีการสื่อสารข้อมูลระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์ไม่เกิน 58 Kilobytes/second ไม่ว่าจะมี priority ลักษณะใด และไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ชนิดเดียวกันโดยมีข้อแม้ว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้จะต้องมีสภาวะการรอ (Wait state) และสัญญาณเอาท์พุทบอกสภาวะเฟทช์ (Fetch state) ระบบไมโครโปรเซสเซอร์แบบกระจายที่ใช้หน่วยความจำร่วมที่เสนอ นำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่างและใช้ได้ดีกับระบบควบคุมขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
Other Abstract: Using shared memory as a data exchange media among the microprocessors in the Distributed microprocessor system is one of the suitable method. A shared Random Access Memory (RAM) technique using an arbiter that needs simple hardware and no external clock is presented. The arbiter consists of CONTROLLER and SCANNER, CONTROLLER receives shared memory request signal from microprocessor and sends grant or wait signal back to the microprocessor according to a command from SCANNER which schedules shared memory accessing. The proposed system can be used with 4 Z-80 microprocessors but can be increased up to 6 microprocessors and can be used with any distributed system on any given priority basis which requires an interprocessor communication at a rate of less than 58 Kilobytes/second. The microprocessor in the system need not be identical but only requires to have wait state and fetch state indicator. The proposed distributed system has many applications and is good for small to medium scale real time control applications.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30254
ISBN: 9745631663
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Borworn_pa_front.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open
Borworn_pa_ch1.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Borworn_pa_ch2.pdf8.21 MBAdobe PDFView/Open
Borworn_pa_ch3.pdf12.06 MBAdobe PDFView/Open
Borworn_pa_ch4.pdf13.75 MBAdobe PDFView/Open
Borworn_pa_ch5.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Borworn_pa_back.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.