Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30265
Title: การเปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์กลุ่มเล็ก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระหว่างกลุ่มที่มีความสามารถแบบเอกพันธ์ และแบบวิวิธพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: A comparison of small group interaction and mathematics learning achievement in homogeneous and heterogeneous ability grouping of students in mathayom suksa one
Authors: บังอร ชาวน้ำ
Advisors: โยธิน ศันสนยุทธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์กลุ่มเล็กและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระหว่างกลุ่มที่มีความสามารถแบบเอกพันธ์และแบบวิวิธพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนในสภาพการณ์กลุ่มเล็กที่มีความสามารถแบบเอกพันธ์และแบบวิวิธพันธ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกัน 2. นักเรียนความสามารถสูงที่เรียนในสภาพการณ์กลุ่มเล็กแบบเอกพันธ์ และในสภาพการณ์กลุ่มเล็กแบบวิวิธพันธ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกัน 3. นักเรียนความสามารถปานกลาง ที่เรียนในสภาพการณ์กลุ่มเล็กแบบเอกพันธ์และในสภาพการณ์กลุ่มเล็กแบบวิวิธพันธ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนความสามารถต่ำที่เรียนในสภาพการณ์กลุ่มเล็กแบบเอกพันธ์และในสภาพการณ์กลุ่มเล็กแบบวิวิธพันธ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. จากปฏิสัมพันธ์ทั้ง 7 ประเภท พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสภาพการณ์กลุ่มเล็กที่มีความสามารถแบบเอกพันธ์และแบบวิวิธพันธ์ใน 2 ประเภท คือ การถามคำถามและได้รับคำตอบ และการไม่ทำงานกลุ่ม สำหรับการถามคำถามและได้รับคำตอบ นักเรียนในกลุ่มเล็กที่มีความสามารถแบบเอกพันธ์ มีปฏิสัมพันธ์มากกว่านักเรียนในกลุ่มที่มีความสามารถแบบวิวิธพันธ์ ส่วนการไม่ทำงานกลุ่ม นักเรียนในกลุ่มที่มีความสามารถแบบวิวิธพันธ์มีปฏิสัมพันธ์มากกว่านักเรียนในกลุ่มที่มีความสามารถแบบเอกพันธ์
Other Abstract: The purpose of this research was to compare small group interaction and mathematics learning achievement in homogeneous and heterogeneous ability grouping of students in mathayom suksa one. Results show that : 1. Students in homogeneous and heterogeneous ability groups showed no significant difference in mathematics learning achievement. 2. High-ability students in homogeneous and heterogeneous ability groups showed no significant difference in mathematics learning achievement. 3. Medium-ability students in homogeneous and heterogeneous ability groups showed significant difference in mathematics learning achievement at .05 level. 4. Low-ability students in homogeneous and heterogeneous ability groups showed significant difference in mathematics learning achievement at .05 level. 5. Of the seven types of interactions, two were found significant difference between homogeneous and heterogeneous ability groups. These were the type "Asking Questions, and Receiving Responses" and the Type "Off task" In the "Asking Questions, and Receiving Responses" type, the students in homogeneous ability group had higher interaction than the students in heterogeneous ability group had higher interaction than the students in homogeneous ability group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30265
ISBN: 9745770264
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bangorn_ch_front.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open
Bangorn_ch_ch1.pdf14.25 MBAdobe PDFView/Open
Bangorn_ch_ch2.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Bangorn_ch_ch3.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open
Bangorn_ch_ch4.pdf8.12 MBAdobe PDFView/Open
Bangorn_ch_ch5.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Bangorn_ch_back.pdf15.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.