Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30292
Title: แนวทางการวางแผนเพื่อการพัฒนาสวนสาธารณะชุมชนในเขตชั้นใน ของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Plannning guidelines for the development of community parks in the inner districts of Bangkok Metroprolis
Authors: ชวนพิศ ดุษฎีประเสริฐ
Advisors: นพนันท์ ตาปนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและข้อจำกัดการพัฒนาสวนสาธารณะความสัมพันธ์ของลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินเขตชั้นใน และความต้องการที่มีต่อรูปแบบของสวนสาธารณะ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะชุมชน และการดำเนินการร่วมระหว่างรัฐและชุมชน สภาพการพัฒนาของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ได้ส่งผลต่อปัญหาความขาดแคลนสาธารณะและคุณภาพชีวิต อันเนื่องจากการขยายตัวของประชากรและการขยายตัวของอาคารที่เพิ่มสูงขึ้น มีผลให้พื้นที่สวนสาธารณะของกรุงเทพฯ ต่ำกว่ามาตรฐาน โดยสภาพปัญหาและข้อจำกัดของการพัฒนาสวนสาธารณะพบว่า มที่ดิน ที่ดินในเมืองส่วนใหญ่จะพัฒนาเพื่อผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับแผนนโยบายและมาตรการกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีผลต่อการพัฒนาสวนสาธารณะน้อยมาก โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่สามารถแปรแผนสวนสาธารณะที่มีอยู่ออกสู่การปฏิบัติจริง จากการพัฒนาเขตเมืองชั้นใน ซึ่งมีการพัฒนาพื้นที่เมืองอย่างหนาแน่น ทำให้สวนสาธารณะในเขตดังกล่าว มีข้อจำกัดด้านที่ดินเป็นอย่างมาก แนวทางการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวการพัฒนาสวนสาธารณะชุม โดยแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อลดปัญหาข้อจำกัดการพัฒนาสวนสาธารณะ ในแง่การจักหาที่ดิน จากการพัฒนาของภาคเอชน และในแง่การจัดการร่วมกันระหว่างรัฐและประชาชน เพื่อพัฒนาสวนสาธารณะ ให้สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพการพัฒนาของพื้นที่ จากผลการวิเคราะห์ความต้องการสวนสาธารณะ และรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนและกลุ่มองค์กรธุรกิจในพื้นที่ พบว่า ประชาชนต้องการสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อน โดยรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นส่วนร่วมทั้งในระดับการร่วมแสดงความคิดเห็น การมีส่วนร่วมทางการเงิน และการมีส่วนร่วมในการจัดการและพัฒนาสวนสาธารณะร่วมกับภาครัฐ ในส่วนขององค์กรธุรกิจ มีความสนใจในการมีส่วนร่วมสนับสนุน 2 กรณี คือ ความต่อเนื่องของพื้นที่สวนสาธารณะกับพื้นที่ขององค์กรธุรกิจ จะเป็นการมีส่วนร่วมทางด้านการเงิน และการพัฒนาที่โล่งว่างหน้าอาคารจะเป็นการตอบรับมาตราการทางกฎหมายของรัฐ ที่เสนอเป็นแรงจูงใจต่อการพัฒนาของภาคเอกชน ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะนำไปสู่รูปแบบการพัฒนาสวนสาธารณะชุมชน และพื้นที่โล่งว่างในเมือง
Other Abstract: The objective of this research are to study existing public park, problems, limited of public parks development and relation of land use in the inner area and demand that effect to public park characteristics. The result of the study will be useful for community parks development guidelines and management between community and government. The development of Bangkok metropolis effects lacking of public parks, together with the quality of life, increase of population and building causing to poor standards. Most of land development expects the economics and involve to measurement and agency duty effect to public parks. Especially, the development of inner districts has encouraged the high density of built – up area, this is resulted the development of public parks, this study tends to be the development guidelines of the public parks by the public participation. It is expected to solve the problems of land acquisition for public parks. The mutual management between the government and the private sector could make the development possible and suitable the need of community. The findings from the analysis revealed that the people badly want the public parks for the passive recreation. The pattern of public participation could be in both of giving the opinion as well as the financial contribution. The private sectors were interested to participate with the government at two aspects Firstly, the physical connection between the park and the business area would attract the financial donation. Secondly, the development of open space in front of big building being responsive to the legal measures could encourage the development of the private developers in terms of business. Such recommendation could lead to the appropriate patterns of public parks development and open space in the urban area.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30292
ISBN: 9746345524
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chuanphit_du_front.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Chuanphit_du_ch1.pdf554.93 kBAdobe PDFView/Open
Chuanphit_du_ch2.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Chuanphit_du_ch3.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open
Chuanphit_du_ch4.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
Chuanphit_du_ch5.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Chuanphit_du_ch6.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Chuanphit_du_back.pdf605.65 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.