Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30434
Title: การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการคัดเลือกผู้สูงอายุเพื่อรับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพในประเทศไทย
Other Titles: An analysis of targeting efficiency of old-age allowance system in Thailand
Authors: เหมือนขวัญ รองเดช
Advisors: วรเวศม์ สุวรรณระดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Worawet.S@chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ -- การสงเคราะห์ -- ไทย
การตรวจสอบฐานะ
บริการสังคม -- ไทย
Old age assistance -- Thailand
Means tests
Social services -- Thailand
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์การคัดเลือกได้ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายของกระบวนการจัดสรรเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ (เบี้ยยังชีพ) ในประเทศไทย รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับของปัญหาการคัดเลือกอย่างไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่เกิดขึ้น ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ การศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ เป็นการศึกษาถึงการคัดเลือกได้ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายสองประเภท ได้แก่ ผู้ที่มีสิทธิ์แต่ไม่ได้รับการจัดสรรเบี้ยยังชีพ (Non-take up rate, NTUR) และผู้ที่ไม่มีสิทธิ์แต่ได้รับการจัดสรรเบี้ยยังชีพ (Overpayment rate, OPR) ในระดับภาพรวมของประเทศ ภูมิภาค เขตการปกครอง และจังหวัด ส่วนที่สองเป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการคัดเลือกได้ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายทั้งสองประเภท โดยใช้ข้อมูลระดับจังหวัด วิธีการศึกษาเป็นการประมาณค่าแบบจำลองการถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาส่วนที่หนึ่งพบว่า ในภาพรวมของประเทศ NTUR มีสัดส่วนคิดเป็น 62.1% ส่วน OPR มีสัดส่วนคิดเป็น 24.9% การพิจารณาในระดับภูมิภาคพบว่า กรุงเทพมหานครมีสัดส่วน NTUR มากที่สุด ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วน OPR มากที่สุด หากพิจารณาตามเขตการปกครองพบว่าในเขตชนบทมีสัดส่วน NTUR และ OPR มากกว่าในเขตเมือง ผลการศึกษาส่วนที่สองพบว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิด NTUR ได้ง่าย ได้แก่ สัดส่วนคนยากจนในจังหวัด สัดส่วนการไม่ทราบสิทธิ์เกี่ยวกับเงินสงเคราะห์ฯของผู้สูงอายุ และรายได้จากการจัดเก็บภาษีในท้องถิ่นต่อจำนวนประชากร ส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้เกิด OPR ได้ง่ายคือ สัดส่วนผู้สูงอายุที่อยู่นอกเขตเทศบาลต่อผู้สูงอายุทั้งหมด
Other Abstract: To analyze the targeting inefficiency of old-age allowance system in Thailand and to clarify the factors affecting the magnitude of targeting inefficiency. The data used in this study is The Survey of Older Persons in Thailand in 2007, collected by National Statistical Office. This study is composed of 2 parts. In the first part, we estimated 2 types of the targeting inefficiency, namely, the Non-Take Up Rate (NTUR) and the Overpayment Rate (OPR) at national, regional, administrative district and provincial levels. In the second part, we investigated the factors that effect the magnitude of 2 types of targeting inefficiencies by using provincial data. The method for the estimation is Logistic Regression Analysis. The results of the first part’s analysis found that, at national level, the NTUR is 62.1% and the OPR is 24.9%. Considering regional level, we found that, NTUR in Bangkok is the highest whereas OPR in the Northeastern region is the highest. At administrative district’s level, we found that the NTUR and OPR in rural area is higher than those of urban areas. The second part of analysis confirmed the fact that, the factors increasing NTUR are poverty incidence, lack of information on the rights and level of tax per capita. The factor increasing OPR is a proportion between rural elderly people and total elderly population.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30434
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1405
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1405
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
muankwan_ ro.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.