Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30451
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิตรา สุคนธทรัพย์-
dc.contributor.advisorวิชิต ชี้เชิญ-
dc.contributor.authorปวีณา มีศิลป์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2013-04-02T10:25:31Z-
dc.date.available2013-04-02T10:25:31Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30451-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการเล่นพื้นเมืองไทยที่มีต่อสุขสมรรถนะและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสขนาดเล็ก อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มควบคุม 24 คน กลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตตามปกติ กลุ่มทดลองให้ฝึกด้วยโปรแกรมการเล่นพื้นเมืองไทยเป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที ผู้วิจัยทำการทดสอบสุขสมรรถนะและวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One-way analysis of varience with repeated measures) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีแอลเอสดี (LSD) และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการฝึกด้วยโปรแกรมการเล่นพื้นเมืองไทยของกลุ่มทดลอง พบว่า สุขสมรรถนะ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ พบว่า ค่าเฉลี่ยสุขสมรรถนะของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นดัชนีมวลกาย ส่วนหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ พบว่า ค่าเฉลี่ยสุขสมรรถนะของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการฝึกด้วยด้วยโปรแกรมการเล่นพื้นเมืองไทยของกลุ่มทดลอง พบว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. หลังการทดลอง 6 สัปดาห์และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ พบว่า ค่าเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกด้วยโปรแกรมการเล่นพื้นเมืองไทยเป็นการฝึกที่สามารถเพิ่มสุขสมรรถนะและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นให้ดีขึ้นได้en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effects of Thai traditional play training program on health-related physical fitness and self-esteem among the lower high school students. The subject used in this study consisted of 48 lower high school students from the school of Amphur Ladbualuang, Ayutthaya Province. Twenty-four subjects were randomly assigned to the experimental group and the other twenty-four subjects were randomly assigned to the control group. The control group performed their normal daily routines while the experimental group performed the Thai traditional play training for 12 weeks, 3 days a week with 50 minutes a day. The researcher examined health-related physical fitness and self-esteem of the experimental group and the control group before experiment, after 6 weeks of experiment, and after 12 weeks of the experiment. The obtained data were analyzed in terms of means, standard deviations, one-way analysis of variance with repeated measures then the data were compared the differences by pair LSD and analysis of covariance at .05 level of statistical significance. The results were as follows; 1. The results of Thai traditional play training program regarding health-related physical fitness of the experimental group before experimentation, after 6 weeks experimentation and after 12 weeks experimentation were found to be significantly different at .05 level. (p≤.05) 2. After 6 weeks of experimentation, the means of health-related physical fitness between the experimental group and the control group were found to be significantly different at .05 level except body mass index (BMI) while after 12 weeks of experimentation, the means of health-related physical fitness between the experimental group and the control group were found to be significantly different at .05 level. (p≤.05) 3. The results of Thai traditional play training program regarding self-esteem of the experimental group before experimentation, after 6 weeks experimentation and after 12 weeks experimentation were found to be significantly different at .05 level. (p≤.05) 4. After 6 weeks and after 12 weeks of experimentation, the means of self-esteem between the experimental group and the control group were found to be significantly different at .05 level. (p≤.05) The results of this study showed that the Thai traditional play training program could increase health-related physical fitness and self-esteem among the lower high school students.en
dc.format.extent13321838 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1175-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการละเล่นen
dc.subjectการเล่นen
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- สุขภาพและอนามัยen
dc.subjectการรับรู้ตนเองในวัยรุ่นen
dc.titleผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการเล่นพื้นเมืองไทยที่มีต่อสุขสมรรถนะและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นen
dc.title.alternativeThe effects of Thai traditional play training program on health-related physical fitness and self-esteem among the lower high school studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuchitra.Su@Chula.ac.th-
dc.email.advisorVichit.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1175-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
paveena_me.pdf13.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.