Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30534
Title: ข้อจำกัดของญาณวิทยาแบบสัจจนิยมทางวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์ ความมีอยู่ของพระเจ้า
Other Titles: Limitations of scientific realtsts'epistemology in the study on god's existence
Authors: บัญชา ศรีวัลลภานนท์
Advisors: กีรติ บุญเจือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาดูว่า ถ้าเรายอมรับตามทัศนะของสัจจนิยมทางวิทยาศาสตร์ว่า วิทยาศาสตร์สามารถให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติแก่เราแล้ว วิธีเดียวกันนี้สามารถนำไปศึกษาความมีอยู่ของพระเจ้าได้หรือไม่ ในการวิจัยนี้ เป็นการศึกษาทัศนะของนักปรัชญาซึ่งพยายามใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปศึกษาความมีอยู่ของพระเจ้า ทัศนะของนักปรัชญาเหล่านี้แบ่งได้ 2 ลักษณะ ลักษณะแรก เป็นการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้าโดยตรง กล่าวคือ ใช้หลักฐานที่ได้รับจากประสบการณ์ทางผัสสะสนับสนุนความมีอยู่ของพระเจ้า จากผลการศึกษาของผู้เขียนพบว่า ยากที่จะนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้าได้ เนื่องจาก เราไม่สามารถทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความมีอยู่ของพระเจ้าด้วยเกณฑ์เชิงประจักษ์ เพราะว่าพระเจ้าไม่ทรงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ใดๆ เราจึงไม่สามารถทำนายเหตุการณ์เฉพาะเพื่อพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า ลักษณะที่สอง เป็นการปกป้องความน่าเชื่อถือของวิธีการทางศาสนาในการหาความรู้เกี่ยวกับความมีอยู่ของพระเจ้า โดยชี้ให้เห็นว่าวิธีการนี้คล้ายคลึงกับวิธีหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผลจากการศึกษา ผู้เขียนพบว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับเรื่องศาสนา ยังไม่สามารถพิสูจน์สนับสนุนความมีอยู่ของพระเจ้าได้ เพราะประสบการณทางศาสนายังไม่สามารถให้ความรู้เกี่ยวกับพระเจ้าผู้ซึ่งไร้ข้อจำกัด และไม่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ใดๆ การวิจัยนี้สรุปได้ว่า ข้อจำกัดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์แบบสัจจนิยมทางวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้าก็คือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาสิ่งที่มีความสม่ำเสมอ อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ แต่พระเจ้าไม่ทรงอยู่ใต้กฎเกณฑ์ใดๆ จึงยากที่จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าวพิสูจน์ความมีอยู่ของเจ้าได้
Other Abstract: This thesis studies whether scientific method can be used to investigate God's existence if we accept, according to scientific realism, that this method is capable of giving us knowledge of nature. The study explores philosophers' views trying to use scientific method to study God's existence. These views can be divided into 2 ways. The first is to use some evidence which can be perceived by sense experience to confirm the hypothesis about God's existence. The conclusion from the first way is that it is difficult to use scientific method to justify the hypothesis of God's existence, because the hypothesis cannot be tested by empirical criterion. Science God is not controlled by any definite law, we cannot predict any future event to test the hypothesis. The second way is to defend religious method's credibility by showing that this method is similar to scientific method. The conclusion from the second way shows that scientific method in religious matters cannot be used to justify the existence of God, because religious experience cannot give knowledge of God who is not controlled by any definite law. The conclusion of this thesis is that the scientific method can be used to study regular phenomena controlled by natural laws, but that since God is not under any definite law, it is difficult to justify the hypothesis of God's existence by the scientific method, so far concerned.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30534
ISBN: 9745690651
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Buncha_sr_front.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
Buncha_sr_ch1.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
Buncha_sr_ch2.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open
Buncha_sr_ch3.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
Buncha_sr_ch4.pdf35.54 MBAdobe PDFView/Open
Buncha_sr_ch5.pdf10.58 MBAdobe PDFView/Open
Buncha_sr_ch6.pdf9.52 MBAdobe PDFView/Open
Buncha_sr_ch7.pdf6.28 MBAdobe PDFView/Open
Buncha_sr_back.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.