Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30672
Title: | การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่ออัตราการไหลอิ่มตัวบริเวณจุดกลับรถ |
Other Titles: | Study of physical factors affecting saturation flows at U-turn locations |
Authors: | กิตติพงศ์ สุนทราเดชอังกูร |
Advisors: | จิตติชัย รุจนกนกนาฏ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jittichai.R@Chula.ac.th |
Subjects: | วิศวกรรมจราจร จราจรในเมือง -- วิจัย ถนน -- ความสามารถรองรับปริมาณการจราจร |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการเก็บข้อมูลการกลับรถในเขตเมือง โดยพิจารณาเฉพาะรถที่กลับโดยที่ปราศจากการรบกวนของฝั่งตรงข้าม หรือเพื่อหาค่าอัตราการไหลอิ่มตัวของรถ จากนั้นจึงทำการสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพที่มีผลต่อการไหลอิ่มตัวของจุดกลับรถบนถนนในกรุงเทพฯและปริมณฑล และหาค่าเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลของรถที่ทำการกลับรถ โดยได้สำรวจลักษณะทางกายภาพของจุดกลับรถในกรุงเทพฯและปริมณฑล จากจุดกลับรถ 20 จุด ซึ่งครอบคลุมลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันรวม 4 ประเภท คือ จุดที่มีสัญญาณไฟควบคุมรถที่สวนมา จุดที่มีตำรวจจราจรกั้นรถที่สวนมา จุดที่อยู่ใต้สะพานลอยข้ามทางแยก และจุดระหว่างทางแยกโดยไม่มีการควบคุม โดยเก็บเวลาและชนิดที่รถแต่ละคันผ่านเส้นอ้างอิงที่กำหนด รวมถึงลักษณะทางกายภาพอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่ออัตราการไหลอิ่มตัว ซึ่งจากผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ว่าความกว้างของช่องทางรอเลี้ยวกลับรถ มีผลต่ออัตราการไหลอิ่มตัวของจุดกลับรถประเภทอยู่ระหว่างทางแยก ส่วนจุดกลับรถแบบอื่นนั้นยังไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญ ดังนั้นผู้ออกแบบจึงควรให้ความสำคัญกับปัจจัยนี้ในการออกแบบจุดกลับรถ นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้ทำการหาค่าเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลขณะกลับรถ และผลของการกลับรถตามกันต่อเวลาที่ใช้ในการกลับรถ ซึ่งสามารถนำไปใช้อ้างอิงในการออกแบบและวิเคราะห์ทางวิศวกรรมจราจรต่อไปได้ |
Other Abstract: | This research collects traffic data, particularly the times for each vehicle that can make a U-turn without any interference from traffic in the opposite direction, at urban U-turn locations to analyze the U-turn’s saturation flows. The data are then used to find whether geometric designs can influence the saturation flows and determine the passenger car equivalent values of different vehicle types at the U-turn locations. The study includes twenty U-Turn locations with four distinct physical characteristics, i.e., 1) U-Turns at signalized intersection, 2) grade-separated U-Turns, 3) Mid-block U-Turns with police control, and 4) Mid-block U-Turns without police control. At each location, vehicle types as well as their U-Turn departure times from reference line are collected along with site’s physical geometric design. The findings from this research show that U-turn lane widths significantly affect U-turn’s saturation flows only for a midblock U-turn type but not for others. Therefore, traffic designers would focus on this factor for better U-turn operations. Additionally, the passenger-car-equivalent numbers of different vehicle types and the effect of car-following during U-turn operations were calculated and could be used for further references in traffic engineering design and analysis. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30672 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.278 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.278 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kittipong_so.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.