Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30695
Title: การพัฒนาเครื่องมือและคู่มือประเมินความเสี่ยงทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Development of the educational risk assessment instruments and manual of lower secondary school students
Authors: ภูมิ เพชรศักดาสิริ
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
อวยพร เรืองตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wsuwimon@chula.ac.th
Auyporn.R@chula.ac.th
Subjects: นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- การประเมินความเสี่ยง
การศึกษา -- การประเมินความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยง -- เครื่องมือ
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและคู่มือประเมินความเสี่ยงทางการศึกษาของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น 3) ประเมินความเสี่ยงทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2551 จำนวน 2,589 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย คือแบบสอบถามเกี่ยวกับความเสี่ยงทางการศึกษา ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ของกลุ่มตัวอย่าง โดยการนำเสนอค่าสถิติการแจกแจงความถี่ และร้อยละ และใช้การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม พหุ (multiple discriminant analysis) ในการจำแนกนักเรียนออกเป็นกลุ่มทั้ง 4 กลุ่ม สรุปผลการวิจัยที่สำคัญ ดังนี้ 1. ปัจจัยเสี่ยงทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่จำแนกนักเรียนกลุ่มออกกลางคัน ออกจากนักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเรียนอ่อน และกลุ่มได้ผลการเรียนไม่สมบูรณ์ มี 12 ปัจจัย คือ รายได้ของพ่อ แม่ พ่อเรียนจบระดับชั้นประถมศึกษา พ่อมีอาชีพรับจ้าง แม่มีอาชีพรับจ้าง ครูไม่ได้ไปเยี่ยมบ้าน ไม่มีครูรับ ฟังปัญหาและให้คำปรึกษาแก่นักเรียน เข้าเรียนสาย การขาดเรียน มีเพื่อนที่เคยติด 0 ร มส มีเพื่อนไม่ตั้งใจ เรียน มีเพื่อนที่ออกกลางคันไปแล้ว และมีเพื่อนที่ชอบใช้ความรุนแรง 2. เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยข้อ คำถาม 12 ข้อ จากการนำเครื่องมือไปทดลองใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มรู้ชัด (know group) ผลปรากฏว่า เครื่องมือมีคุณภาพด้านความตรงตามสภาพ (concurrent validity) คู่มือประเมินความเสี่ยงทางการศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตามความคิดเห็นของผู้ใช้เห็นว่า มีความเหมาะสม ระดับมาก 3. ผลการประเมินความเสี่ยงทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่าภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเสี่ยงต่อการออกกลางคันสูงสุด รองลงมาคือภาคกลาง และภาคเหนือมีความ เสี่ยงต่อการออกกลางคันต่ำสุด
Other Abstract: This research was aimed to 1) analyze the educational risk factors of lower secondary school students; 2) develop and evaluate the quality of the educational risk assessment instruments and manual; and 3) assess the educational risks of students in lower secondary schools. The research sample group comprised 2,589 lower secondary school students in the first semester of academic year 2008. Questionnaires on educational risks were used as the research tool. This study analyzed the basic data of the research sample group which is presented in terms of frequency and percentage. Multiple Discriminant Analysis was used to classify the students into four groups. The results of the study are as follows: 1. There are 12 factors that distinguish dropouts from normal, low ability, and incomplete academic record groups which are: parents’ income, father’s low level of education (primary school), father working as manual laborer, mother working as manual laborer, teachers not paying them home visits, lack of teachers who listen and give counsel to students, tardiness, absenteeism, friends who had obtained grade 0 (Fail), I (incomplete), or who were not allowed to take an examination, friends who dropped out, and friends with aggressive behaviors. 2. The educational risk factor assessment tools consisted of 12 questions. The tools were tried/ tested and results were compared with know group for which a concurrent validity was found. Feedback from users indicates that they found the educational risk assessment manuals very useful. 3. Students in lower secondary schools were determined to be at medium risk of dropping out. When looking by region, those in the northeastern region are at the highest risk, followed by the central region and those in the north who have the lowest risk of dropping out.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30695
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1294
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1294
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poom_ph.pdf6.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.