Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30713
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวรรณา สถาอานันท์-
dc.contributor.authorวิสิทธิ์ ตออำนวย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-04-28T05:58:56Z-
dc.date.available2013-04-28T05:58:56Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30713-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษามโนทัศน์ ซู่ ที่ปรากฏในหลุนอี่ว์ว่ามีแนวคิดอย่างไร และมีบทบาทในจริยศาสตร์ของขงจื่ออย่างไร จากการศึกษาพบว่า ซู่ หมายถึง “สิ่งใดตนไม่ปรารถนา สิ่งนั้นอย่าทำกับผู้อื่น” อันเป็นหลักปฏิบัติที่อาศัย “ความไม่ปรารถนา” ของตนเป็นรากฐานในการพิจารณาที่จะไม่กระทำต่อผู้อื่น การที่ ซู่ มีนัยยะเชิงลบ (ไม่ปรารถนา,ไม่ทำ) ทำให้ผู้ที่นำหลักการ ซู่ มาปฏิบัติเกิดความอ่อนน้อม กล่าวคือไม่อ้างว่าตนรู้ความต้องการของผู้อื่น หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจนำไปสู่การละเมิดผู้อื่น โดยไม่คาดหวังการต่างตอบแทน ก่อให้เกิดความรักความอาทรระหว่างมนุษย์ เป็นการขัดเกลาและแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองจนสามารถตั้งหลักมั่นคงในมนุษยธรรมได้สำเร็จ กระบวนการที่เกิดขึ้นเริ่มต้นจากความไม่ปรารถนาที่จะละเมิดมนุษยธรรมจนนำไปสู่ความปรารถนามนุษยธรรม การมีมนุษยธรรมกำกับความปรารถนาและความไม่ปรารถนาของมนุษย์ ทำให้ความปรารถนาและความไม่ปรารถนากลายเป็นเครื่องชี้นำทางศีลธรรม ซู่ จึงสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่อง “การทำตามอำเภอใจ” ของบุคคลได้ ซู่ มีบทบาทในการเสริมระบบจริยศาสตร์ทั้งในและนอกความสัมพันธ์ทั้งห้าได้ ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในความสัมพันธ์ทั้งห้า ซู่ ช่วยให้หลักการที่เสนอว่าพึงตรวจสอบตนเองว่าสิ่งใดตนไม่ปรารถนาก็หลีกเลี่ยงที่จะไม่กระทำสิ่งนั้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นก่อนเป็นเบื้องต้น แล้วจึงทบทวนบริบทที่เกี่ยวข้องในความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างถี่ถ้วน เพื่อค้นหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความสัมพันธ์นั้นๆ นอกจากนี้ ซู่ ยังสามารถใช้เป็นหลักปฏิบัติต่อผู้อื่นในกรณีที่อยู่นอกความสัมพันธ์ทั้งห้าได้อีกด้วย กล่าวคือบุคคลนอกความสัมพันธ์ทั้งห้า ซึ่งอาจเป็นบุคคลแปลกหน้าหรือเป็นบุคคลใดก็ได้ เป็นบุคคลที่ยังไม่มีโอกาสเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเพียงพอ ซู่ จะช่วยหลีกเลี่ยงการละเมิดมนุษยธรรมต่อผู้อื่นนอกความสัมพันธ์ได้ เพราะซู่มิได้เริ่มต้นจากการอ้างว่ามีความรู้ว่าผู้อื่นต้องการสิ่งใด เพียงแต่หลีกเลี่ยงการกระทำต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาเท่านั้นen
dc.description.abstractalternativeThis thesis offers an analysis of the concept “shu,” as discussed in The Analects, as well as its role in Confucian ethics. “Shu” means “What one does not desire, do not do to others.” This is a moral principle of using “what one does not desire” as a basis for not-doing. The negative implication of “shu” ( not desiring, not doing) would lead to epistemic humility of not claiming to know the desires of others, as well as moral humility of not doing anything which might violate other people. “Shu” does not imply an expectation of reciprocity, and could lead to a sense of caring for the welfare of others. Confucius also proposes a long process of moral self-cultivation and overcoming of one’s short-comings. This process would lead to a secure establishment of ren or humaneness. The desire not to violate ren could ultimately lead to the desire to cultivate ren. Ren as a guide of desires and non-desires would become a solid moral foundation. Ultimately, “shu” can avoid the problem of human desires being arbitrary. “Shu” helps provide additional insights for performing roles within and outside the Confucian ethics of the Five Relationships. When there is a conflict among the roles in the different sets of relationship, “shu” would provide a guideline for self-reflection of the role performer, who would avoid doing things which would cause harm to others. Then it helps generate moral discernment in selecting the best options in each situation and relationship. Moreover, outside the Five Relationships, “shu” could serve as a moral guidance in interaction with strangers or anyone who is not part of any of the Five Relationships. This is possible because “shu” operates in cases of not knowing the other people. A well-cultivated use of “shu” would avoid violating ren to any person. This is because “shu” does not assume that one knows the desires of others. “Shu” helps avoid doing things one does not desire to others or any others.en
dc.format.extent1639649 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1344-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปรัชญาขงจื๊อen
dc.subjectจริยศาสตร์en
dc.titleแนวคิดเรื่อง ซู่ ในหลุนอี่ว์en
dc.title.alternativeThe concept of Shu in the Analectsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปรัชญาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuwanna.Sat@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1344-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisit_to.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.