Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30741
Title: ปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการติดไดในการผลิตวงจรรวม
Other Titles: Efficiency improvement of die bond process in intergrated circurits manufacturing
Authors: ธนรัตน์ สมบูรณ์
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมแผงวงจรไฟฟ้า
ประสิทธิภาพทางอุตสาหกรรม
การเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรม
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการติดได หลังจากวิเคราะห์ด้วยแผนผังก้างปลาพบว่ามีสาเหตุของการส่งรุ่นให้กระบวนการผลิตถัดไปได้ล่าช้าอยู่ 2 ประการ คือ ประการที่ 1 การจัดตารางการผลิตไม่เหมาะสม เนื่องมาจากพนักงานจ่ายรุ่นเข้าเครื่องโดยเลือกจากเครื่องจักรที่ว่างอยู่โดยไม่คำนึงถึงว่าเครื่องนั้นผลิตรุ่นอะไรก่อนหน้า เป็นผลทำให้ต้องมีการปรับแต่งเครื่องจักรให้เหมาะสมกับรุ่นที่เข้ามาใหม่ ซึ่งจะทำให้เครื่องจักรไม่สามารถผลิตรุ่นได้อย่างต่อเนื่อง ประการที่ 2 การปรับแต่งเครื่องจักรใช้เวลานาน เนื่องมาจากการปรับแต่งเครื่องจักรมีหลายขั้นตอน ในการปรับปรุงประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การจัดตารางการผลิต โดยใช้เทคนิค EDD และ SPT มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการจัดตารางการผลิต ส่วนที่ 2 ลดเวลาการปรับแต่งเครื่องจักรให้เร็วขึ้น โดยใช้ Single Minute Exchange of Die (SMED) สำหรับแยกกิจกรรมเป็นกิจกรรมภายนอกและภายใน กิจกรรมภายนอกประกอบไปด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ (1) การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ (2) การปรับแต่งชุดหยิบลีดเฟรม และกิจกรรมภายใน 7 กิจกรรม เช่น กำหนดเครื่องจักรในส่วนตำแหน่งหยอดกาวและตำแหน่งการติดได ติดตั้งชุดเข็ม เป็นต้น อีกทั้งได้มีการพัฒนาโปรแกรมเว็บอินทราเน็ตสำหรับการเลือกเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อลดเวลาที่ใช้ในกิจกรรมภายนอก และทำการพัฒนาโปรแกรม library สำหรับจัดการพารามิเตอร์ เพื่อลดเวลาที่ใช้ในกิจกรรมภายใน ภายหลังการปรับปรุงพบว่า สามารถลดเวลาเปลี่ยนรุ่นจาก 65.3 นาที เหลือ 37.8 นาที (ลดลง 57.89%) ลดจำนวนรุ่นที่ไม่สามารถส่งได้ทัน จากเดิม 49.48% เหลือ 20.8% (ลดลง 58.54%) ลดเวลาผลิตลงจาก 1394.5 เหลือ 1034.81 นาที (ลดลง 25.79%) อีกทั้งสามารถใช้ประโยชน์เครื่องจักรได้ดีขึ้นจากเดิม 70.57% เป็น 81.14% (เพิ่มขึ้น 13.01%)
Other Abstract: The objective of this research is to improve die bond process efficiency. After analyzed by using fish bone diagram techniques, it found the two root causes of delay transferring lot to next operation. (1) Improper production scheduling due to operator brings lot to available machine without checking the pervious product processing. The machine will be needed to setup for current processing and un-continuously machine running. (2) Long time for machine setup due to several step machine setups. The improvement consists of two parts. They are : part 1 production scheduling improvement using EDD and SPT technique are applied to develop the computer program to help the management and part 2 reduce the machine setup time using SMED technique, this techniques can separate external and internal activities. The external activities are (1) tooling preparation (2) lead frame stack adjustment. The internal activities are such as define epoxy dispensing and bonding position, needle installation, etc. Furthermore, the web intranet is developed to reduce time of the external activity, tool selection. The library program is developed to reduce time of internal activities The result reveals that production can reduce machine setup time from 65.3 min to 37.8 min (reduce 57.89%), reduce the delay lot from 49.48% to 20.8% (reduce 58.54%), reduce the processing time from 1394.5 min to 1034.81 min (reduce 25.79%) and also improve the machine utilization from 70.57% to 81.14% (increase 13.01%).
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30741
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1237
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1237
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanarat_so.pdf3.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.