Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30905
Title: การเปรียบเทียบความวิตกกังวลของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน และนอกโครงการพัฒนากีฬาชาติ
Other Titles: A comparison of anxiety of Chulalongkorn University students in and out of the national sports development project
Authors: ธัชนาถ ทองประกอบ
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลตามสถานการณ์และตามลักษณะประจำตัวของบุคคลของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในและนอกโครงการพัฒนากีฬาชาติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2534 จำนวน 300 คน แบ่งเป็นประชากรที่เป็นนิสิตในโครงการพัฒนากีฬาชาติ จำนวน 150 คน และกลุ่มตัวอย่างนิสิตนอกโครงการพัฒนากีฬาชาติ จำนวน 150 คน โดยผู้วิจัยทำการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความวิตกกังวลของสปิลเบอร์เกอร์ (Spielberger) ที่มีชื่อว่า แบบวัด เอส ที เอ ไอ | The state-trait anxiety inventory : (STAI) | ฉบับภาษาไทย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เอส พี เอส เอส เอ็กซ์ (Statistical Package for the Social Sciences Version X : SPSSX) หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแล้วจึงทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตในและนอกโครงการพัฒนากีฬาชาติ มีความวิตกกังวลตามสถานการณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นิสิตในและนอกโครงการพัฒนากีฬาชาติ มีความวิตกกังวลตามลักษณะประจำตัวของบุคคลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the state and trait anxiety of Chulalongkorn University students in and out of the National Sports Development Project. The subjects were 300 students of Chulalongkorn University in the 1991 academic year. Population was 150 students in the National Sports Development Project. One hundred and fifty samples were selected by purposive sampling. The instrument used in this research was the State-Trait Anxiety inventory (STAI) of Spielberger in Thai Language Version. The data were analyzed by the Statistical Package for the Social Sciences Version X : SPSSX for the means, standard deviation and the test of differences by t-test. The results were : 1. There was a significant difference in the State Anxiety between the students in and out of the National Sports Development Project at the level of .05. 2. There was a significant difference in the Trait Anxiety between the students in and out of the National Sports Development Project at the level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30905
ISBN: 9745811246
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tatchanart_to_front.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Tatchanart_to_ch1.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open
Tatchanart_to_ch2.pdf15.05 MBAdobe PDFView/Open
Tatchanart_to_ch3.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open
Tatchanart_to_ch4.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Tatchanart_to_ch5.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
Tatchanart_to_back.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.