Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30909
Title: การสกัดโอลีโอเรซินส์จากกระเทียม เพื่อเตรียมเครื่องเทศผงชนิดดิสเพอร์ส
Other Titles: Extraction of oleoresins from garlic for the preparation of dispersed spice
Authors: ธัญญวัฒน์ รุ่งทิวาสุวรรณ
Advisors: พันธิพา จันทวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตโอลีโอเรซินส์จากกระเทียมพันธุ์เชียงใหม่และศรีสะเกษ เพื่อเตรียมเครื่องเทศผงชนิดดิสเพอร์ส และการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร ในขั้นแรกศึกษาภาวะการสกัด โดยแปรปริมาณความชื้นในกระเทียม (ใช้เวลาเก็บเป็นเกณฑ์) เป็น 4, 6, 8 และ 10 เดือน แล้วแปรอัตราส่วนกระเทียมต่อ methanol เป็น 1:1, 1:2. 1:3 และ 1:4 โดยน้ำหนัก เวลาสกัด 4, 5 และ 6 ชั่วโมง และอุณหภูมิในการระเหย methanol 30, 35, 40 และ 45 องศาเซลเซียส เลือกภาวะที่ดีที่สุดโดยวัดปริมาณผลผลิต ปริมาณ pyruvate คุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านกลิ่น และปริมาณ methanol ตกค้างในโอลีโอเรซินส์ ตัวอย่างที่ดีที่สุดของกระเทียมแต่ละพันธุ์ นำมาเตรียมกระเทียมผงชนิดดิสเพอร์ส โดยแปรชนิดสารเพิ่มปริมาณเป็น pregel waxy maize starch, maltodextrin และ glucose syrup solid เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีค่าการกระจายตัวในน้ำสูงสุด และเวลาในการละลายต่ำสุดมาวิเคราะห์ flavor profile และเปรียบเทียบคุณภาพทางประสาทสัมผัสกับกระเทียมผง เมื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ซุปผงสำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องปรุงรสสำหรับขนมอบกรอบ ผลจากการทดลองเลือกกระเทียมพันธุ์เชียงใหม่ที่มีความชื้นร้อยละ 52.49-54.96 โดยน้ำหนักและพันธุ์ศรีสะเกษความชื้นร้อยละ 50.16-51.61 โดยน้ำหนัก สกัดโดยใช้อัตราส่วนกระเทียมต่อ methanol 1:2 เวลาสกัด 4 ชั่วโมง ระเหยสารสกัดที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ที่ภาวะดังกล่าวได้ผลิผลิตโอลีโอเรซินส์ร้อยละ 12-14 โดยน้ำหนัก เตรียมเครื่องเทศผงชนิดดิสเพอร์สโดยใช้ maltodextrin 17-19 DE. ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากกระเทียมพันธุ์เชียงใหม่มีกลิ่นสด ส่วนพันธุ์ศรีสะเกษมีกลิ่นคล้ายเนื้อสัตว์ผลิตภัณฑ์ที่ได้ใช้เป็นสารแต่งกลิ่นได้ในอาหารทั้ง 2 ชนิด
Other Abstract: Appropriate conditions in the production of garlic oleoresins (Chiengmai and Srisagate Var.) for dispersed spice preparation and food product application were studied. Effect of extraction conditions comprising initial moisture content (use storage time as measuring criteria) at 4, 6, 8 and 10 months., garlic : methanol ratio at 1:1, 1:2, 1:3 and 1:4 (w/w), extraction time at 4, 5 and 6 hours and evaporation temperature at 30, 35, 40 and 45℃ were studied. The best condition for each experiment was selected by measuring yields, pyruvate content, sensory quality and residual methanol of the products. Dispersed spice was prepared by using pregel waxy maize starch, maltodextrin and glucose syrup solid as diluents, the best quality products were selected according to their dispersibilities and solubilities values. Flavor profiles of the developed products were analysed and their sensory qualities were compared with those of garlic power in instant noodle soup mix and snack seasoning. The most appropriate moisture contents for Chiengmai and Srisagate (var.) garlics are 52.49-54.96 and 50.16-51.61% by weight respectively. The ratio of garlic : methanol, 1:2, 4 hours extraction and 45℃ solvent evaporation were the best conditions found for oleoresins extractions from both variety garlics. The oleoresin yield at this condition was 12-14% by weight. Dispersed spices were prepared by using 17-19 DE. Maltodextrin. The middle note flavor of the Chiengmai variety was fresh while that found for the Srisagate was meaty. Both products can effectively be used in the two selected food products.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30909
ISBN: 9746325841
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanyawat_ru_front.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open
Thanyawat_ru_ch1.pdf988.16 kBAdobe PDFView/Open
Thanyawat_ru_ch2.pdf10.1 MBAdobe PDFView/Open
Thanyawat_ru_ch3.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open
Thanyawat_ru_ch4.pdf13.51 MBAdobe PDFView/Open
Thanyawat_ru_ch5.pdf9.95 MBAdobe PDFView/Open
Thanyawat_ru_ch6.pdf918.77 kBAdobe PDFView/Open
Thanyawat_ru_back.pdf10.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.