Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30969
Title: การศึกษาผลของชั้นความร้อนในโถงที่มีความสูงโดยใช้หุ่นจำลอง
Other Titles: A study of stratification in atrium using scale model simulation
Authors: ไพบูลย์ รักษาสุทธิพันธ์
Advisors: สมสิทธิ์ นิตยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมของชั้นความร้อนภายในโถง เพื่อพยายมหาแนวทางในการออกแบบ แก้ไขชั้นความร้อนที่เกิดขึ้นภายในโถง โดยได้เลือกทำการศึกษาถึงตัวแปร 5 ตัว ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของความร้อนภายในโถง คือ อุณหภูมิภายนอก, ตำแหน่งความสูงของจุดต่างๆ ภายในโถง, ค่ารังสีแสงอาทิตย์, ขนาดช่องเปิดระบายอากาศและความหนาแน่นของมวลสารที่เป็นวัสดุภายในโถง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงการทดลอง โดยศึกษาจากหุ่นจำลองโถง ซึ่งมีขนาดความกว้างภายใน 1.00 เมตร x 1.00 เมตร สูง 4 เมตร วัสดุเป็นอิฐและวัสดุเบา ทำการวัดค่าของอุณหภูมิภายในโถงที่ตำแหน่งความสูงต่างๆ รวมไปถึงค่าอุณหภูมิที่ผิววัสดุด้วยเครื่องมือวัดอุณหภูมิ (Thermo Couple) บันทึกข้อมูลอุณหภูมิทุกๆ 15 นาทีอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 2 วันต่อชุดการทดลองและวิเคราะห์ข้อมูล โดยโปรแกรมทางสถิติ SPSS-PC+ ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงของตัวแปรที่ศึกษา ผลจากการวิจัยได้ผลสรุปเป็น สมการการคาดการณ์ของอุณหภูมิภายในโถง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับตัวแปรต่างๆ ทั้ง 5 ตัวแปรดังที่กล่าวมาแล้ว
Other Abstract: The objective of this thesis is to study stratification effect in an atrium and design solution to solve that effect. Five factors that should have impact to the thermal behavior in the attium are studied. The factors are outside temperature, vertical distance of every height in the atrium (height), solar radiation, outlet opening area and density of mass in the atrium. This research is an experimental research using atrium mod els which inside dimension is 1.00 x 1.00 meters and 4 meters heigh. Atrium models are made of bricks and a light weight material, Inside are temperature at various levels of height including surface temperature were measured by Thermo Couple. The data is collected by recording the temperature every 15 minutes continuously for two consecutive days per one set of experiment. These data are analyzed with SPSS-PC+, a computer software package, by Multiple Regression and Correlation Method. The result of the research leads to an equation for inside atrium temperature prediction correlating with the above five factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30969
ISBN: 9745846902
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paiboon_ra_front.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_ra_ch1.pdf593.61 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_ra_ch2.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_ra_ch3.pdf426.31 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_ra_ch4.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_ra_ch5.pdf507.09 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_ra_back.pdf453.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.