Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31007
Title: การอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรส
Other Titles: Unmarried Cohabitation
Authors: อัชลียา อภิวณิชย์กุล
Advisors: ประสพสุข บุญเดช
วิมลศิริ ชำนาญเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ สิทธิ และหน้าที่ ทั้งในทางส่วนตัวและทรัพย์สินของชายหญิงที่อยู่กินฉันสามีภริยา โดยไม่มีการจดทะเบียนสมรสตามระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายต่าง ๆ และหาแนวทางในการพัฒนาและปรับบทกฎหมายเพื่อใช้กับความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าว ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กฎหมายไทยยังมิได้มีบัญญัติที่ให้การรับรอง และคุ้มครองความสัมพันธ์สิทธิ และหน้าที่ของชายหญิงที่อยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรสไว้โดยตรงดังเช่นชายหญิงที่สมรสตามกฎหมายได้รับ ในขณะที่ต่างประเทศได้มีการปรับบทกฎหมายครอบครัวและการสมรสที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่มีการสมรสตามกฎหมายให้สามารถอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรสได้ตามสมควร อย่างไรก็ตาม ประเทศที่มีแนวโน้มในการยอมรับรู้และให้สิทธิแก่ชายหญิงที่อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา โดยไม่มีการจดทะเบียนสมรสส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common law) และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเน้นระบบการสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียว โดยเคร่งครัด และการหย่าร้างทำได้โดยยาก ต่างกับสังคมไทยซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) และคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธที่มิได้เน้นระบบการสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียวโดยเคร่งครัด ดังนั้นการที่จะนำกฎหมายและแนวโน้มการแก้ไขกฎหมายของประเทศเหล่านั้นมาปรับใช้ในประเทศไทยย่อมไม่เหมาะสมเพราะมีสภาพสังคมที่แตกต่างกัน
Other Abstract: The objectives of the thesis are to study the relationship rights and duties of unmarried cohabitants in the context of the Thai legal system and the legal systems of some major countries. The result of the studies will contribute to the development and the modification of the Thai Family and Succession Laws as appropriate. The studies reveals that there is no concise provision in the Thai Laws acknowledging the existence of the unmarried couples. This is not the case in the law of some major countries. In these countries quite a number of Family and succession Laws are applied to the De Facto marriage. The studies further reveals that countries of latter cases are mostly, Common Law countries. The people in these countries are Christian and severely monogamy. In these countries, it is difficulty for the married to divorce. Thailand is a Civil Law country the majority of people are Buddhist and polygamy is not uncommon. It is therefore unappropriate to apply the law and the practice of those countries acknowledging the unmarried cohabitant into the Thai legal system.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31007
ISBN: 9745691585
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Achaleya_ap_front.pdf592.5 kBAdobe PDFView/Open
Achaleya_ap_ch1.pdf553.64 kBAdobe PDFView/Open
Achaleya_ap_ch2.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Achaleya_ap_ch3.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open
Achaleya_ap_ch4.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open
Achaleya_ap_ch5.pdf690.83 kBAdobe PDFView/Open
Achaleya_ap_back.pdf537.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.