Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31104
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุพา กาญจนดุล | - |
dc.contributor.advisor | วิรัช อภิเมธีธำรง | - |
dc.contributor.author | พิบูล เพ่งพันธุ์พัฒน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-05-20T04:34:35Z | - |
dc.date.available | 2013-05-20T04:34:35Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745676675 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31104 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en |
dc.description.abstract | การที่แผนพัฒนาเศรษบกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525-2529 ได้กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อควบคุมและจัดสรรรายจ่ายในภาครัฐบาลด้วยการปรับปรุงระบบงบประมาณแบบเดิมที่ใช้อยู่นานประมาณ 23 ปี (พ.ศ. 2502-2524) ซึ่งเป็นงบประมาณแบบแสดงรายการและงบประมาณแบบแสดงผลงานให้เป็นระบบงบประมาณแบบแผนงานให้เต็มรูปแบบภายในระยะเวลาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 นี้ โดยเริ่มปรับทิศทางของการจัดทำงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2525 เป็นต้นไปนั้น การปรับปรุงระบบงบประมาณก็ได้กระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปตลอดช่วงระยะเวลาปีงบปีประมาณ 2525-2529 ในลักษณะของการปฏิรูประบบงบประมาณแผ่นดิน และได้ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาความไม่สม่ำเสมอของแบบโครงสร้างแผนงานของการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีในงบประมาณแบบแผนงานสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐในระยะปีงบประมาณ 2525-2529 ซึ่งเป็นปฐมสนธิที่สำคัญของการศึกษาวิจัยนี้ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดหลักของระบบงบประมาณแบบแผนงานที่นำมาประยุกต์ในภาครัฐบาลไทยและหลักการจัดเตรียมงบประมาณแบบแผนงานสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักงบประมาณกำหนดไว้ในระยะปีงบประมาณ 2525-2529 จากนั้นจึงทำการศึกษาปัญหาความไม่สม่ำเสมอของแบบโครงสร้างแผนงานของการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีในระบบงบประมาณแบบแผนงานสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐในระยะปีงบประมาณ 2525-2529 ว่ามีสาเหตุประการใดที่มาจากแบบโครงสร้างแผนงานของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 5 พ.ศ. 2525-2529 ตลอดจนผลสรุปการเปรียบเทียบแบบโครงสร้างแผนงานของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฯ และแบบโครงสร้างของการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ กับหลักการของระบบงบประมาณแบบแผนงาน พร้อมทั้งเสนอแนวความคิดในการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามที่ควร โดยมีขอบเขตของการศึกษาวิจัย เฉพาะส่วนราชการที่กำหนดหลักการและกรอบของแบบโครงสร้างแผนงานสำหรับการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ คือสำนักงบประมาณ และทบวงมหาวิทยาลัยตามทิศทางของการกำกับการจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง และมีวิธีการค้นคว้าวิจัยในลักษณะของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่เป็นการวิจัยประยุกต์ ซึ่งมีการกำหนดแบบวิจัยเป็น Pre-Experimental Design โดยมีข้อมูลจากการสัมภาษณ์ คำแนะนำปรึกษาประสบการณ์ในระหว่างปฏิบัติราชการ หนังสือ เอกสาร และสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ จากห้องสมุด สำนักงบประมาณ ทบวงมหาวิทยาลัยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผนวกกับการศึกษาต่างๆ ตามหลักสูตรการบัญชี นิติศาสตร์ และการฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบงบประมาณแบบแผนงานที่สำนักงบประมาณ ในส่วนของการศึกษาและวิเคราะห์นั้นได้ใช้วิธีการสอบสวนความจริงย้อนหลังประกอบกับหลักการของระบบงบประมาณแบบแผนงานอันเป็นหลักบรรทัดฐานของการศึกษาวิจัยนี้ จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณแล้วสรุปการศึกษาวิจัยแบบนิรมัยตามหลักบรรทัดฐานประกอบกับหลักเหตุผล แล้วจึงเสนอผลการศึกษาวิจัยซึ่งเป็นรายงานในลักษณะการพรรณาโวหารประกอบกับแผนภาพและตารางต่างๆ ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการศึกษาวิจัยสามารถสรุปได้ว่า 1. ปัญหาความไม่สม่ำเสมอของแบบโครงสร้างแผนงานของการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีในระบบงบประมาณแบบแผนงานสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐในระยะปีงบประมาณ 2525-2529 มีสาเหตุมาจากแบบโครงสร้างแผนงานของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 5 พ.ศ. 2525-2529 ซึ่ง 1.1 ปฏิเสธสมมติฐานว่า มีแบบโครงสร้างแผนงานในแนวราบที่ไม่สม่ำเสมอ 1.2 ยอมรับสมมติฐานว่า ไม่มีส่วนประกอบของแบบโครงสร้างแผนงานในแนวตั้ง 1.3 ยอมรับสมมติฐานว่า ไม่เป็นไปตามหลักการของระบบงบประมาณแบบแผนงาน 1.4 ยอมรับสมมติฐานว่า ไม่สามารถยึดถือเป็นหลัก/กรอบของการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ 2. จากผลการเปรียบเทียบแบบโครงสร้างแผนงานฯ กับหลักการของระบบงบประมาณแบบแผนงาน 2.1 แบบโครงสร้างแผนงานของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 5 พ.ศ. 2525-2529 ไม่เป็นไปตามหลักการของระบบงบประมาณแบบแผนงาน 2.2 แบบโครงสร้างแผนงานของการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ในระยะปีงบประมาณ 2525-2527 ไม่เป็นไปตามหลักการของระบบงบประมาณแบบแผนงาน แต่แบบโครงสร้างแผนงานของการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีในระยะปีงบประมาณ 2528-2529 เป็นไปตามหลักการของระบบงบประมาณแบบแผนงาน ทั้งนี้โดยยึดหลัก/กรอบของแบบโครงสร้างแผนงานของทบวงมหาวิทยาลัย 2.3 ความสัมพันธ์ของแบบโครงสร้างแผนงานของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 5 พ.ศ. 2525-2529 กับ แบบโครงสร้างแผนงานของการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ในระยะปีงบประมาณ 2525-2529 ไม่เป็นไปตามหลักการของระบบงบประมาณแบบแผนงาน การศึกษาวิจัยนี้สามารถเสนอแนวความคิดของการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามที่ควร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แบบโครงสร้างแผนงานของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฯ และแบบโครงสร้างแผนงานของการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ในระยะต่อไปเป็นไปตามหลักการของระบบงบประมาณแบบแผนงาน และเพื่อให้การจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ยึดหลัก/กรอบของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะต่อไป ทั้งแบบโครงสร้าแผนงานและวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำแนกตามแผนงานนั้น มีสิ่งที่ควรกระทำดังนี้ 1. ให้มีการกำหนดแบบโครงสร้างแผนงานของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฯ และแบบโครงสร้างแผนงานของการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ให้ชัดเจนเป็นระบบตามหลักการของระบบงบประมาณแบบแผนงาน โดยให้มีการนิยามและกำหนดวัตถุประสงค์ของแบบโครงสร้างแผนงานในแนวราบ และส่วนประกอบของแบบโครงสร้างแผนงานในแนวตั้ง 2. กำหนดให้การจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยยึดถือหลัก/กรอบของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฯ ทั้งแบบโครงสร้างแผนงานและวงเงินงบประมาณรายจ่ายซึ่งจำแนกตามแผนงาน | - |
dc.description.abstractalternative | The Fifth National Economic and Social development Plan 1982-1986 set up a policy and measurement to control and allocate governmental expenses by re-structuring the old budget systems (The Line Item Budgeting and Performance Budgeting) Which had been used for about 23 years (1959-1981) to be a fully Planning-Programming-Budgeting System (PPBS) within the period of fiscal year 1982-1986. The re-structure of the budget system has been started from fiscal year 1982 onwards. Since then, the re-structuring has been developed step by step all through the duration of fiscal year 1982-1986 in order to reform the governmental budget system. Such re-structuring caused the inconsistency problem of the structural plan for the annual expenditure budget preparation in the PPBS for state universities during fiscal year 1982-1986 which is the subject of this research. The objectives of this research are to study the principle concept of PPBS which was applied by Thai Government and the expenditure budget preparation in the PPBS for state universities as established by the Ministry of University Affairs and Bureau of the Budget during fiscal year 1982-1986, then find out what are the causes which arose from the structural plan of the Fifth University Educational Development Plan 1982-1986 (FUEDP), also summarize the difference of the structural plan of FUEDP and the structural plan of the Annual Expenditure Budget Preparation (AEBP) from the principle of PPBS and finally present the appropriate adjustment concept. The research scope aims at the governmental agencies which adopt the principle/frame of structural plan and AEBP; such as the Ministry of University Affairs and Bureau of the Budget; in the topdown direction. The research process shall be done under pre-experimental design with the supported data from interviews, suggestions, official working experiences in the governmental agencies, books, documents and printed matters from libraries, Bureau of the Budget, the Ministry of University Affairs and other related governmental agencies, also from the study of Accountancy and Law curriculums plus the training on principle of PPBS from Bureau of Budget. On doing the study and analysis, exposed fact investigation technique coupled with the study on the principle of PPBS are used. Both quantitative and qualitative analyses are derived by deduction method in accordance with the normative and syllogistic approaches. The presentation of the research result will be expressed in descriptive format and supported by abstract model as well as quantitative and qualitative tables. | - |
dc.format.extent | 1748275 bytes | - |
dc.format.extent | 1173801 bytes | - |
dc.format.extent | 2159235 bytes | - |
dc.format.extent | 1813317 bytes | - |
dc.format.extent | 4796520 bytes | - |
dc.format.extent | 2708230 bytes | - |
dc.format.extent | 3352437 bytes | - |
dc.format.extent | 1886461 bytes | - |
dc.format.extent | 8074013 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาปัญหาความไม่สม่ำเสมอของแบบโครงสร้างแผนงานของการจัดเตรียมงบประมาณรายจ่ายประจำปี ในระบบงบประมาณแบบแผนงานสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐในระยะปีงบประมาณ 2525-2529 | en |
dc.title.alternative | A study on the tnconsistency problem of the structural plan for the annual expenditure budget preparation in the planning-programming-budgeting system for state iniversities during fiscal year 1982-1986 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pibool_pe_front.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pibool_pe_ch1.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pibool_pe_ch2.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pibool_pe_ch3.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pibool_pe_ch4.pdf | 4.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pibool_pe_ch5.pdf | 2.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pibool_pe_ch6.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pibool_pe_ch7.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pibool_pe_back.pdf | 7.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.