Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31110
Title: การสำรวจยูเรเนียมตามแนวถนนบางสายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้หัววัดโซเดียมไอโอไดด์ (แทลเลียม)
Other Titles: Uranium prospecting along some northeastern highways using NAL (T1) detector
Authors: พิพัฒน์ โชคสุวัฒนสกุล
Advisors: ธัชชัย สุมิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการที่ได้มีการค้นพบแหล่งสะสมตัวของยูเรเนียม-ทองแดง ในบริเวณแหล่งภูเวียง ซึ่งอยู่ทางขอบด้านทิศตะวันตกของที่ราบสูงโคราชแสดงให้เห็นว่าบริเวณที่ราบสูงโคราชมีแนวโน้มที่จะเป็นแหล่งแร่ยูเรเนียมได้ผลการสำรวจตามถนนบางสายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้หัววัดโซเดียมไอโอไดด์ พบว่าบริเวณที่มีปริมาณรังสีแรงกว่าแบคกราวน์ดประมาณ 5 เท่ามีอยู่ 3 บริเวณ คือ (1) บริเวณริมถนนสายอุดร-หนองบัวลำภู กิโลเมตรที่ 35-43 (2) บริเวณทางแยกจากอำเภอภูเรือเข้าอำเภอภูหลวง ประมาณกิโลเมตรที่ 5 (3) บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยบริเวณทั้งสามอยู่ในบริเวณที่ราบสูงโคราช ต่างเป็นหินทรายและหินโคลนที่อยู่ในชุดเสาขัว โดยมีทรากบรรพชีวินแทรกสลับอยู่บ้าง สำหรับบริเวณที่ (1) และบริเวณที่ (2) มีลักษณะเป็นหินโคลนสีเขียวปนเทาเกิดแทรกเป็นสายอยู่กับชิ้นหินทราย และซิลท์ ส่วนที่บริเวณประตูตีหมาจะมีลักษระเป็นหินทรายสีเทาปนน้ำตาล และมีเกล็ดแร่ยูเรเนียมสีดำแทรกตัวอยู่ทั่วไป การวิเคราะห์ตัวอย่างโดยใช้หัววัด โซเดียมไอโอไดด์ (แทลเลียม) พบว่าที่บริเวณประตูตีหมามีปริมาณยูเรเนียมโดยเฉลี่ยเท่ากับ 700 ส่วนในล้านส่วน สำหรับที่บริเวณหนองบัวลำภู และบริเวณทางแยกเข้าภูหลวงมีปริมาณยูเรเนียมเท่ากับ 20 ส่วนในล้านส่วน
Other Abstract: The discovery of uranium mineralization in the Phu Wiang near the western edge of the Khorat Plateau indicated that the Khorat plateau may have the tendency to be uranium source rocks. Prospecting along some northeastern highways using NaI (T1) detector, it was found that there are three radioactive anomalies, about 5 times above background. First, at the left side of Udorn-Nhongbua Lumphu highways at km 35-43. Second, along the way from Phu Rua to Phu Luang at km 5 and the third, the place where uranium deposit was siscovered in 1987, at Pratoo Teema, Phu Rua subprovince. In all these areas, the uranium mineralization is associated with the sandstones and mudstones belonging to the Sao Khua series, with presence of pelecypods. In the first two areas, uranium deposit was found in the greenish mudstones forming layers between sandstones and silt. In the third area it was found in the greyish or brownish sandstones with black uranium flakes mixed into it. By using NaI (T1) detectors, it was found that at Pratoo Teema the average uranium content was about 700 ppm while at Nhongbua Lumphu and Phu Luang the average contents were about 20 ppm.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31110
ISBN: 9745679852
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pipat_ch_front.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_ch_ch1.pdf700.86 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_ch_ch2.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_ch_ch3.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_ch_ch4.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_ch_ch5.pdf925.38 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_ch_ch6.pdf642.38 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_ch_back.pdf916.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.