Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31121
Title: การจัดการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงทะเล ในน่านน้ำเขตอำนาจของประเทศไทย
Other Titles: Fishery management and conservation in maritimes jurisdiction of thailand
Authors: พิภพ เหล่าพัดจัน
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ให้ทราบว่าการจัดการประมงเป็นบทบาทและหน้าที่ของรัฐที่จะดำเนินการให้การแสวงประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำทะเลก่อเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมให้กับประชากรในชาติ ปัจจุบันการลงแรงประมง (Fishing effort) ของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น จนเป็นการทำลายสัตว์น้ำ เป็นผลให้จำนวนสัตว์น้ำในแหล่งน่านน้ำไทยลดลง การประกาศอ้างสิทธิ เขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 มีผลทำให้ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยเหนือทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยตามหลักกฎหมายทะเลซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ การอ้างสิทธิดังกล่าวเท่ากับเป็นการก่อตั้งทรัพย์สิทธิของรัฐ ที่มีผลทำให้รัฐอื่นไม่มีสิทธิเข้าทำการประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย กรณีการใช้สิทธิอธิปไตยเพื่อนำทรัพยากรประมงในเขตเศรษฐกิจำเพาะมาใช้ประโยชน์ ประเทศไทยมีหน้าที่โดยปริยายที่จะต้องอนุรักษ์ทรัพยากรเหล่านั้นด้วย ตามอนุสัญญากฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กำหนดให้รัฐชายฝั่งต้องคำนวณว่าปริมาณที่จะนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ได้ (Allowable catch) มีมากน้อยเท่าใด แล้วจะต้องคำนวณต่อไปว่าตนมีความสามารถใช้ได้ทั้งหมด โยมีทรัพยากรส่วนเกิด (Surplus) ที่เหลืออยู่ รัฐชายฝั่งจะต้องเปิดโอกาสให้ประโยชน์รัฐอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรส่วนเกินนั้นด้วย จนถึงบัดนี้รัฐบาลไทยยังมิได้ออกกฎหมายว่าด้วยเขตเศรษฐกิจำเพาะบังคับใช้ และรองรับหลักกฎหมายทะเลในส่วนที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด ส่วนกฎหมายประมง 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. การประมง พ.ศ. 2490 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ. 2482 ปัจจุบันนี้ สภาวะการณ์ประมงได้เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีการทำประมงได้พัฒนาก้าวหน้ามาก จึงสมควรจะได้ปรับปรุง แก้ไข พ.ร.บ. การประมงทั้งสองฉบับ เพื่อให้เหมาะสมกับความจำเป็นและความต้องการของประเทศในเรื่องนี้ ป้องกันมิได้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อผลประโยชน์ทางการประมงของประเทศชาติขึ้นได้ต่อไปในอนาคต
Other Abstract: Management in the fisheries concerns governmental actions taken deliverately to influence the physical yields from wild fish stocks, the distribution of economic yields over nations. The key fisheries provisions of the Law of the Sea Convention are articles 61 and 62. These articles provide that the coastal state shall determine whether it has the capacity to harvest all the living resources of its extended zone and determine whether there is a surplus of living resources. If a surplus does exist, it is to be distributed to other states. The Thai government is currently evaluating the entire LOS Convention and detailing the requisite legislation for the implementation of the EEZ. The government activity is the lack of an effective means of controlling, concerning the serious problem of overfishing damage by fishing vessels. Conservation and management will be more important than ever before, since there will be fewer resources and a potential for greater damage by overfishing. The Fisheries Act B.E.2490 and the Act governing the right to fish in Thai fishery waters B.E. 2482, are outdated legislation and bears little relationship to current realities. The Department of Fisheries should to revise both of the legislations. The new legislations will be restricted to policy and framework concerns, a direction for the future can be established.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31121
ISBN: 9745789038
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pipop_lh_front.pdf828.15 kBAdobe PDFView/Open
Pipop_lh_ch1.pdf703.63 kBAdobe PDFView/Open
Pipop_lh_ch2.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
Pipop_lh_ch3.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Pipop_lh_ch4.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
Pipop_lh_ch5.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Pipop_lh_ch6.pdf627.33 kBAdobe PDFView/Open
Pipop_lh_back.pdf9.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.