Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31134
Title: | Chemotaxonomy of some nitrogen-fixing bacteria isolated from the Rhizosphere of rice (oryza sativa L.) Grown in Thailand |
Other Titles: | อนุกรมวิธานทางเคมีของแบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนบางชนิด ซึ่งแยกจากบริเวณรากข้าว (Oryza sativa L.) ที่ปลูกในประเทศไทย |
Authors: | Anchan Choonhahirun |
Advisors: | Jariya Boonjawat |
Other author: | Chulalongkorn University. Graduate School |
Issue Date: | 1986 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | R15, R17 and R25 are strains of N₂-fixing bacteria isolated from the rhizosphere of rice grown at Rangsit adn Tapra during 1979-1981. To determine the genera of these bacteria, their biochemical properties were compared with standard reference strains Klebsiella oxytoca 1301 from Japan, Azospirillum lipoferum FS, A. lipoferum 34H, Pseudomonas H8 and P. KLH76 from the Philippines. The DNA base composition when determined by melting temperature (Tm) method and DNA sequence homology when analyzed by reassociation experiment indicated that the three unknown strains should be classified in two distinct groups; R1 5 and R1 7 were Klebsiella-liked (mol % G + C, 52- 56 %) but R25 was most fitted in Azospirillum sp. (mol % G + c, 69-71 %). Several biochemical properties together with growth condition and acetylene reduction activity under specific conditions also supported that R15 and R17 were Klebsiella-liked strains because of their ability to produce indole, to utilize malonate as sole carbon source and positive test to Voges-Proskauer reaction. As for R25, which requires biotin for growth and forms pink-colony when grown on nutrient agar plate whereas it forms yellow-colony on rich agar plate, together with the ability to grown in NFb semisolid medium supplied with 0.5% glucose in place of malate, thus R25 is identified as A. lipoferum strain according to all results previously mentioned. In addition, glucose was the preferential carbon source for growth and N₂-fixation under either aerobic or microaerobic condition of both K. R15 and K. R17 in contrast to A. R25 that malate was preferred for growth and N₂-fixation under microaerobic condition only. The other charcters of K. R15 and K. R17 were that they harbored at least one plasmid which were larger than the plasmid of A. R25. Both K.R15 arid K.R17 were SDS and salt tolerant and also resisted to ampicillin, kanamycin, streptomycin and sulfanilamide while A. R25 resisted to ampicillin and sulfanilamide only. These results also indicated that R15/R17 and R25 belong to the distinct genus. |
Other Abstract: | R15, R17 และ R25 เป็นสายเชื้อแบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนซึ่งแยกจากบริเวณรากข้าวที่ปลูกที่รังสิต และท่าพระ ในปี 2522-2524 การหาสกุลของแบคทีเรียเหล่านี้ทำโดยเปรียบเทียบสมบัติทางชีวเคมีกับสายเชื้อมาตรฐาน Klebsiella oxytoca 1301 จากประเทศญี่ปุ่น Azospirillum lipoferum FS, A. lipoferum 34H, Pseudomonas H8 และ P. KLH76 จากประเทศฟิลิปปินส์ องค์ประกอบของเบสใน ดี เอ็น เอ (DNA) ซึ่งหาโดยวิธีวัดอุณหภูมิหลอมตัว (melting-temperature, Tm) และความคล้ายคลึงกันในลำดับของเบสใน ดี เอ็น เอ (DNA sequence homology) ซึ่งวิเคราะห์โดยวิธีรีแอซโซซิเอชัน (reassociation) แสดงให้เห็นว่าสามารถแบ่งกลุ่มของแบคทีเรียที่ยังไม่ทราบสกุลทั้งสามสายเชื้อนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม ที่แตกต่างกันคือ R15 และ R17 จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ Klebsiella (mol % G + C, 52- 56 %) ส่วน R25 ใกล้เคียงกับแบคทีเรียในสกุล Azospirillum (mol % G + C, 69- 71 %) มากที่สุด สมบัติทางชีวเคมีอีกหลายประการประกอบกับสภาวะที่จำเพาะสำหรับการเจริญของเชื้อเหล่านี้ และความสามารถในการรีดิวซ์อะเซธิลีนภายใต้สภาวะจำเพาะสนับสนุนว่า R15 และ R17 เป็นแบคทีเรียในสกุล Klebsiella เนื่องจากสามารถผลิตอินโดล สามารถใช้มาโลเนตเป็นสารต้นตอคาร์บอน และให้ผลบวกในปฏิกิริยา Voges-Proskauer สำหรับ R25 ซึ่งต้องอาศัยไบโอทินในการเจริญ และให้โคโลนีสีชมพูบนจานอาหารวุ้นแข็ง แต่ให้โคโลนีสีเหลืองบนจานอาหารวุ้นอุดม รวมทั้งความสามารถในการเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อกึ่งแข็งที่ปราศจากไนโตรเจน ซึ่งเติมกลูโคนเป็นสารต้นตอคาร์บอนแทนมาเลต R25 จัดเป็นสายเชื้อ Azospirillum ชนิด lipoferum โดยผลการทดลองที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด นอกจากนี้พบว่ากลูโคสเป็นสารต้นตอคาร์บอนที่ดีที่สุด สำหรับการเจริญและการตรึงไนโตรเจนสำหรับเชื้อ K.R15 และ K.R17 ทั้งภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน (aerobic) และเมื่อมีออกซิเจนจำกัด (microaerobic) ซึ่งตรงข้ามกับเชื้อ A.R25 ซึ่งใช้มาเลตเป็นสารต้นตอคาร์บอนได้ดีที่สุดสำหรับการเจริญ และการตรึงไนโตรเจนภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนจำกัด (microaerobic) เท่านั้น ลักษณะอื่น ๆ ของ K.R15 กับ K.R17 คือมีพลาสมิดอย่างน้อยหนึ่งอัน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าพลาสมิดของ A.R25 ทั้ง K.R15 และ K.R17 เป็นสายเชื้อที่สามารถทนต่อ เอส ดี เอส และเกลือได้และยังต้านยาแอมพิซิลิน คานามัยซิน สเตรปโตมัยซิน และซัลฟานิลาไมด์อีกด้วย ในขณะที่ A.R25 ต้านยาแอมพิซิลิน และซัลฟานิลาไมด์เท่านั้น ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า R15 และ R17 เป็นแบคทีเรียต่างสกุลกันแน่นอน |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1986 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Biochemistry |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31134 |
ISBN: | 9745668982 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anchan_ch_front.pdf | 947.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anchan_ch_ch1.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anchan_ch_ch2.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anchan_ch_ch3.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anchan_ch_ch4.pdf | 901.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anchan_ch_back.pdf | 822.06 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.