Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31245
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ-
dc.contributor.authorพจนีย์ เถิงจ่าง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-05-23T14:10:06Z-
dc.date.available2013-05-23T14:10:06Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31245-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลกระทบของการศึกษาของระดับบัณฑิตศึกษา ภาคนอกเวลาราชการ ที่มีต่อการเรียน การปฏิบัติงาน คุณภาพชีวิตของนิสิต และเปรียบเทียบผลกระทบของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ภาคนอกเวลาราชการระหว่างนิสิต ที่เรียนต่างสาขาวิชาและมีภูมิหลังอาชีพที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตที่กำลังศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาคนอกเวลาราชการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 196 คน หัวหน้างานของนิสิต จำนวน 140 คน และคณาจารย์ที่สอนในหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาคนอกเวลาราชการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุนามแบบสองทาง (2-way MANOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS for Windows วิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) และการสร้างข้อสรุปอุปนัย(Induction Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการเรียน มีผลกระทบในระดับมากทุกด้าน โดยมีผลกระทบในด้านจิตพิสัยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านทักษะพิสัยและด้านพุทธิพิสัยตามลำดับ ในด้านจิตพิสัย นิสิตมีความภาคภูมิใจในสถาบันที่เข้าศึกษามีผลกระทบมากที่สุด ส่วนในด้านพุทธิพิสัย นิสิตมีความรู้อย่างลึกซึ้งในการทำวิจัยที่ตรงตามสาขาที่เรียนและมีความสามารถในการสังเคราะห์ความรู้ในการทำวิจัยตามสาขาที่เรียน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อวิชาชีพ มีผลกระทบน้อยที่สุด 2. ด้านการปฏิบัติงาน มีผลกระทบในระดับมากทุกด้าน โดยเฉพาะด้านความร่วมมือ พบว่านิสิตมีความเต็มใจที่จะปฏิบัติงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้รับบริการอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำงานตามที่กำหนดมีผลกระทบมากที่สุด ส่วนด้านคุณภาพของงาน พบว่า ผลงานที่นิสิตปฏิบัติออกมาไม่มีปัญหาเกิดติดตามมาภายหลังมีผลกระทบน้อยที่สุด 3. ด้านคุณภาพชีวิต พบว่ามีผลกระทบในระดับมากด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านสังคม และมีผลกระทบในระดับปานกลางด้านสุขภาพกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ และด้านเศรษฐกิจ 4. นิสิตที่เรียนในสาขาวิชาต่างกัน มีผลกระทบต่อการเรียนและการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันแต่มีผลกระทบด้านคุณภาพชีวิตของนิสิตแตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และนิสิตที่มีภูมิหลังอาชีพต่างกันมีผลกระทบต่อการเรียน การปฏิบัติงาน และคุณภาพชีวิตของนิสิตไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to investigate impacts of studying in the twilight graduate programs on students’ learning, work performance and quality of life, and compare impacts of studying in these programs between students with different fields of study and occupational backgrounds. Sample groups consisted of 196 students currently studying in the programs in faculty of education Chulalongkorn University, 140 chief of students and 26 instructors teaching in the programs. Data was collected by narrating-scale questionnaires and interview forms, and analyzed by descriptive statistics using 2 ways MANOVA and SPSS/PC for windows, content analysis and induction analysis. The research results were as follows: 1. Students’ learning had high impacts on students’ Affective Domain, Psychology Domain and Cognitive Domain respectively. For the Affective Domain, the highest level revealed in their proud of the institute. Cognitive Domain, the lowest level found in their in-depth knowledge on research in their fields of study and their ability to synthesize their research knowledge for the benefits of their professions. 2. Students’ work performance showed high impacts on cooperation as they were willing to work at their most capacity with their colleagues, subordinates and service receivers in order to achieve the set assignment goals. The least impact was on the quality of their performance in which none of problems was found after work completion. 3. Students’ quality of life had high impacts on both physical environment, social relationship and moderate impacts on physical health, emotion and mentality, and economy of the students. 4. The subject differentiated studying were not different impacted to studying and working but difference impacted to quality life of student by the significant level at 0.05 and the students who had different occupation background impacted to studying, work performance and quality of life are not difference by the significant level at 0.05en
dc.format.extent2390228 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.971-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- นักศึกษา -- สมรรถนะen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- นักศึกษา -- คุณภาพชีวิตen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- นักศึกษา -- คุณภาพชีวิตการทำงาน-
dc.titleผลกระทบของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ภาคนอกเวลาราชการที่มีต่อการเรียน การปฏิบัติงาน และคุณภาพชีวิตของนิสิตen
dc.title.alternativeImpacts of stduying in twilight graduate programs on students’ learning, work performance and quality of lifeen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDuangkamol.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.971-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Potchanee_th.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.