Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31457
Title: การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการศึกษาภาคบังคับของไทย
Other Titles: Historical analysis of practices in Thai compulsory education
Authors: เพ็ญจันทร์ ทัพประเสริฐ
Advisors: ดวงเดือน พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาและวิเคราะห์ วิวัฒนาการ แนวความคิดนโยบาย และโครงสร้างการจัดการศึกษาภาคบังคับของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2464 – 2520 เพื่อชี้ให้เห็นถึงเรื่อง นโยบาย แนวความคิด ปัญหา อุปสรรค ความสำเร็จ และความผิดพลาดในการจัดการศึกษาภาคบังคับของไทยอย่างชัดเจน อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการศึกษาภาคบังคับของไทยให้ตรงเป้าหมายยิ่งขึ้น และช่วยลดความสูญเปล่าทางการศึกษาอีกทางหนึ่งด้วย จากผลการวิจัยพบว่า นโยบายการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนของไทยในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยจนถึงระยะหลังสงครามโลกครั้ง 2 (พ.ศ. 2414 – 2494) นโยบายการจัดการศึกษาของไทยมุ่งสนองความต้องการทางการเมืองหรือความต้องการของรัฐ คือ ผลิตคนเพื่อเข้ารับรับราชการในระยะต่อมา มีนโยบายจัดวิชาชีพให้เรียนในระดับประถมศึกษา เพื่อปลูกฝังหรือให้ผู้เรียนสนใจประกอบอาชีพอิสระอื่น ๆ นอกเหนือจากการรับราชการ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาให้คนไทยตระหนักในการประกอบอาชีพดั้งเดิมของชาติ ซึ่งนับวันจะตกไปอยู่ในมือของชนต่างชาติ การจัดการศึกษาสมัยนี้มีการเปลี่ยนแผนการศึกษาชาติบ่อย ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ เนื่องจากองค์ประกอบหลายประการ เช่น หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน ครูขาดคุณภาพ จึงไม่เอื้อต่อการฝึกให้นักเรียนเกิดทักษะที่จะนำไปใช้ได้จริง ในระยะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย (พ.ศ. 2475 – 2494) นโยบายการจัดการศึกษาภาคบังคับของไทยมุ่งขยายการศึกษาทางด้านปริมาณอย่างเห็นได้ชัด เพื่อสนองต่อพระราชบัญญติรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ผลการดำเนินงานสามารถประกาศตั้งโรงเรียนประชาบาลได้ครบทุกตำบลใน พ.ศ. 2478 แต่คุณภาพของนักเรียนยังอยู่ในระดับต่ำ การจัดการศึกษาที่ผ่านมามุ่งสนองต่อความสำเร็จทางการเมืองมากเกินไป ทำให้เกิดปัญหาการสูญเปล่าทางการศึกษา คือ ขาดคุณภาพและสิ่งที่เรียนไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิตเท่าที่ควร ในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2494 – 2503) นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐมุ่งปรับปรุงคุณภาพของการศึกษา ได้นำวิธีการ หลักการ ทฤษฎี การจัดการศึกษาจากต่างประเทศมาทดลองใช้ และนำมาใช้ในประเทศในปี พ.ศ. 2503 คือ จัดการศึกษาสนองต่อความต้องการของสังคมและบุคคล แต่การนำแบบอย่างของต่างประเทศมาใช้นั้นเป็นลักษณะการลอกเลียนแบบ ไม่ได้นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมวัฒนธรรมไทย การจัดการศึกษาจึงไม่ให้ผลตามที่กำหนดนโยบายไว้ และไม่สนองต่อการดำรงชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง การลงทุนเพื่อการศึกษาจึงได้ผลไม่คุ้มค่าเท่าที่ควร ในยุคปฏิรูปการศึกษา รัฐได้แสวงหาแนวทาง การจัดการศึกษาให้ได้ผลโดยคำนึงถึงศาสตร์ต่าง ๆ มาเป็นปัจจัยในการสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาใหม่ เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ มานุษยวิทยา การวิเคราะห์การจัดการศึกษาของตนเองในอดีต ตลอดจนการจัดการศึกษาในต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้มีคุณค่ามากที่สุด วิธีการจัดการศึกษาในยุคนี้จึงมีลักษณะการนำศาสตร์ การศึกษาเปรียบเทียบในระยะที่ 3 คือ ระยะวิเคราะห์มาใช้ โดยเชื่อว่าแนวความคิดใหม่นี้จะลดความสูญเปล่าทางด้านการศึกษา เพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของคนไทยให้สูงขึ้นได้ ในการนำศาสตร์ การเปรียบเทียบมาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาของไทยนั้นพบว่า โครงการศึกษาฉบับแรก คือ โครงการศึกษาชาติ พ.ศ. 2441 ได้นำเอาเค้าโครงรูปแบบการจัดการศึกษาของประเทศอังกฤษมาประยุกต์ใช้ ต่อมาได้ปรับปรุงโครงการศึกษาของชาติใหม่ เป็นโครงการศึกษา พ.ศ. 2445 ซึ่งอาศัยข้อมูลจากแผนการศึกษาชาติของประเทศญี่ปุ่นมาเป็นแนวทางในการปรับปรุง วิธีการนำแผนการศึกษาจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้นี้ ตรงกับกระบวนการของศาสตร์การเปรียบเทียบระยะที่ 2 ที่เรียกว่า ระยะทำนาย (Prediction) ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากองค์การชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติในด้านปรับปรุงคุณภาพการศึกษาโดยการให้ความร่วมมือ และร่วมทำโครงการทดลองจัดการเรียนการเรียนการสอนแผนใหม่ที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีกระบวนการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาพิพัฒนาการ (Progressivism) ซึ่งเป็นต้นแบบของการพัฒนาการศึกษาแนวใหม่ในปัจจุบัน การจัดการศึกษาของไทยในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าได้เริ่มนำวิธีหรือกระบวนการของการศึกษาเปรียบเทียบมาใช้ในการจัดการศึกษา กล่าวคือ การจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2494 และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 เป็นกระบวนการของการศึกษาเปรียบเทียบระยะที่ 1 คือ ระยะขอยืม การจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520 เป็นกระบวนการของการศึกษาเปรียบเทียบระยะที่ 2 (ระยะทำนาย) กับระยะที่ 3 (ระยะวิเคราะห์) ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาโดยอาศัยหลักวิชา และพื้นฐานทางสังคม การปฏิรูปการศึกษาโดยวิธีการดังกล่าวข้างต้นนั้น ในยุคนี้มีความเชื่อว่าสามารถจัดการศึกษาได้สนองตามความต้องการของสังคมและบุคคล ซึ่งสนองต่อการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันได้จริง การลงทุนเพื่อศึกษาของรัฐจึงได้ประโยชน์คุ้มค่าทั้งของรัฐบาลและส่วนบุคคล ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า การศึกษาเปรียบเทียบเป็นศาสตร์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้เป็นหลักในกระบวนการปฏิรูปการศึกษาในยุคปัจจุบันและอนาคต
Other Abstract: This thesis aims at studying the development concepts, policies, and the structure of the Thai compulsory education between the years 1921-1977. Its main purpose is to examine extensively into the government policy : the concepts, the difficulties, the successes and failures of compulsory education, which, in turn, will be useful in helping our attempt to make educational reform achieve its aims more fully, and will be a way to reduce educational losses. From this study, it is found that the educational policy of the Thai school system before the form of government was change into democracy in 1932 to the period after World War II (A.D. 1871 – 1951) aimed at answering the needs of politics and government – to train students to become civil servants. Later on, there was a policy to incorporate vocational subjects into primary education in order to motivate students to be interested in independent jobs other than entering government service. This policy was a way of helping people to realize the importance of traditional jobs; otherwise, these jobs would soon have been in the hands of foreigners. Education at that time was changing quite often to solve the problems that arose. However, these changes were ineffective since there were many factors which obstructed change for the better, such as the problems based on curriculum, the teaching and learning process, and unqualified teachers. As a result, such changes did not help students to gain practical skills. After the form of government had been changed to democracy (A.D. 1932 – 1951), the government policy on compulsory education in Thailand clearly put a stress on quantity in response to the demand of the 1932 Temporary Constitution of Siam. The result was that the government was able to open local government schools in all districts by the year 1935. However, despite this large amount of schools, the student’s achievement was poor. An obvious reason for this was that the government aimed too much at fulfilling political aims. This resulted in educational losses, such as the lack of quality, and a learning experience that did not help the learners to improve their living standards as had been experience that did not help the learners to improve their living standards as had been expected. During the period after World War II (A.D. 1951 – 1960), the government policy on compulsory education was to improve the quality of education. The government, therefore, brought the methods, principles, and theory of foreign education into use in 1960, aiming to fulfill the needs of individuals and society. But, since the implementation of foreign educational concepts into the Thai system was a mere copy of the original, and was not at all adapted to suit the existing conditions and the Thai culture, it did not achieve its purpose – it did not help the learners in their lives after they left school. Again, the educational investment at that time did not produce worthwhile results. During the age of educational reform, the government tried to find ways to make education more effective. It incorporated all kinds of necessary disciplines, such as psychology, sociology, economics, and anthropology; it analysed educational planning in the past; and it included foreign educational plans as guidelines for making the Thai educational system as beneficial as possible, Thus, it seems clear that the third stage of comparative study __ the analysis __had been adopted in educational planning in this period, hoping that this method would help reduce educational losses, and would also help improve the quality of life of the learners. As a result of adopting the comparative study in educational planning in Thailand, the Thai First National Education Scheme was established in 1898. This education scheme was an adaptation of the English educational system. Later there was a reformation of the national educational scheme, and this resulted in the 1902 National Education Scheme. This new scheme was mainly based on a thorough study of the Japanese national education scheme. The method of establishing the national education scheme in this way, therefore, falls within the second stage of the comparative study called predictions. After World War II, from the year 1951 onwards, Thailand received assistance from the United Nation’s Specialized Agency to improve the quality of Thai education. This was to carry out an experimental project on new methods of teaching and learning at Chachoengsao Province, using the progressivism theory, the foundation for our modern education. It should be noted that after World War II Thailand started to employ the methods and processes of comparative study in educational planning. This can be clearly seen from the 1951 National Education Scheme, which obiously fall into the first stage of the comparative study __ the borrowing stage, the 1977 National Education Scheme, which matces the secod stage __ the prediction stage __ and the third stage __ the analytical stage. This method of educational reformation is a reformation firmly based on a practical, theoretical and social background. It is believed that the reformation based on a comparative study can fulfill the needs of individuals and society, which in turn, can provide practical skills needed for the learners to have good lives. The educational investment, thus, should produce worthwhile results for both the individuals and the government. Therefore, it can be concluded that comparative study is essential to the process of educational reform, both for the present and the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สารัตถศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31457
ISBN: 9745648612
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phenchan_tu_front.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Phenchan_tu_ch1.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Phenchan_tu_ch2.pdf8.67 MBAdobe PDFView/Open
Phenchan_tu_ch3.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open
Phenchan_tu_ch4.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open
Phenchan_tu_ch5.pdf5.02 MBAdobe PDFView/Open
Phenchan_tu_ch6.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Phenchan_tu_back.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.