Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31530
Title: ต้นทุนและผลตอบแทนจากการแปรรูปปลาหมึกเพื่อการส่งออก
Other Titles: Cost and return on investment in processing squid for export
Authors: อรุณ สัณห์วิญญู
Advisors: เรืองไร โตกฤษณะ
ดวงสมร อรพินท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการแปรรูปปลาหมึก ต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตปลาหมึกแปรรูป เพื่อส่งเสริมให้การส่งออกปลาหมึกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้มีการแปรรูปเป็นปลาหมึกแห้ง ปลาหมึกปรุงรสหรือปลาหมึกแช่แข็งซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการส่งออกปลาหมึกจากประเทศไทยและเป็นแนวทางพัฒนาให้มีการแปรรูปก่อนการส่งออก ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนในการผลิตปลาหมึกแห้งเพื่อส่งออกในกรณีที่โรงงานทำประมงปลาหมึกมีต้นทุนโดยเฉลี่ยต่อ 1 กิโลกรัมต่ำที่สุด แต่จะลงทุนมากที่สุด ส่วนกรณีโรงงานซื้อปลาหมึกแห้งมาแปรรูปต่อจะมีต้นทุนต่อ 1 กิโลกรัมสูงที่สุด แต่จะลงทุนน้อยที่สุด นอกจากนี้โรงงานผู้ผลิตสามารถผลิตปลาหมึกแห้งควบคู่กับการผลิตปลาหมึกปรุงรสได้ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่ได้จากการผลิตและส่งออกปลาหมึกแห้งและปลาหมึกปรุงรสสูงกว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้จากการผลิตและส่งออกปลาหมึกแช่แข็ง ในการผลิตปลาหมึกแห้งและปลาหมึกปรุงรสอัตราผลตอบแทนจากค่าขาย ความสามารถในการหากำไร ในกรณีโรงงานซื้อปลาหมึกแห้งมาแปรรูปต่อจะมากที่สุดและจุดคุ้มทุนที่ได้ก็จะต่ำที่สุด ในการแปรรูปปลาหมึกผู้ประกอบการมักประสบปัญหาที่สำคัญคือ วัตถุดิบที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ การผลิตและตลาดต่างประเทศที่มีการแข่งขันกันมาก ปัญหาเหล่านี้ทั้งผู้ประกอบการและรัฐบาลควรร่วมมือกันแก้ไข โดยชาวประมงควรมีการพัฒนาวิธีการทำประมงนำเครื่องที่มีความเหมาะสมมาใช้ในการจับปลาหมึก ละเว้นการจับปลาหมึกที่ยังมีขนาดเล็กส่วนโรงงานผู้ผลิตควรใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพควรพัฒนาคุณภาพของบุคลากรและภาครัฐบาล ควรให้การสนับสนุนด้านเงินทุนและการต่อรองกับตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อรักษาตลาดสินค้าปลาหมึกแปรรูปของไทย
Other Abstract: This research aims to study squid processing, cost and return on investment and problems in processing in order to promote export of processed squid as dried, seasoned or frozen. Such promotion increases squid export opportunity and provide guideline for processing before export. The results are that in case of dried squid export factory with fishing has the lowest cost per kg. but highest investment. Factory buying dried squid for further processing has the highest cost per kg. but lowest investment. Beside the processors can also process dried squid along with seasoned squid. Rate of return on investment in case of drying and seasoning processing are higher than the freezing one. The net profit margin ratio and profitability ratios in case of reprocessing from buying dried squid are highest and lowest break even point. Squid processors face important problems concerning shortage of raw material and stiff competition abroad both in marketing and production. The problems can be solved by the coordinator between the processors and the government. Fisherman should improve their fishing using proper gears to catch squid and should not catch undersized squid. Processor should use efficient machine and improve staff quality. The government should support investment and negotiate in international market to maintain market share of processed squid export from Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31530
ISBN: 9745699314
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aroon_sa_front.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_sa_ch1.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_sa_ch2.pdf8.8 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_sa_ch3.pdf11.73 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_sa_ch4.pdf17.89 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_sa_ch5.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_sa_back.pdf12.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.