Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31534
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบทบาทที่สำคัญของรายการโทรทัศน์ชื่อ "มองต่างมุม" ในฐานะเป็นตลาดเสรีทางความคิด
Other Titles: An analysis of factor influencing a crucial : role of television program entitled "Mong Tang Moom" as a form for market of free idea
Authors: เพ็ญพรรณ พงศ์สวัสดิ์
Advisors: สุธี พลพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า รายการมองต่างมุมมีพัฒนาการมาอย่างไร และมีปัจจัยอะไรที่มีผลกระทบต่อการนำเสนอรายการ โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับสถาบันขององค์กรผู้ผลิต สื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อของรัฐมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากเทปโทรทัศน์ที่นำเสนอทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การเข้าไปสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และศึกษาจากเอกสารงานวิจัย และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ประกอบด้วย ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า องค์ประกอบทั้ง 6 ส่วน ของรายการมองต่างมุมอันได้แก่ 1. รูปแบบรายการ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอ 2. การตั้งกระทู้และการคัดเลือกคำถาม 3. วิทยากรที่มาร่วมรายการ 4. พิธีกรดำเนินรายการ 5. ผู้ชมที่มาร่วมรายการ และ 6. กระบวนการผลิตรายการได้มีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด โดยที่ในระยะเริ่มแรก ลักษณะของรายการจะมีความหลากหลายทั้งในแง่เนื้อหา วิทยากร ฯลฯ แต่ในระยะต่อมารายการนี้ได้เน้นหนักไปในเรื่องของการเมือง และตัวบุคคลทางการเมืองเป็นหลัก จากการศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ในส่วนที่เกี่ยวกับการนำเสนอรายการ พบว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลัก ๆ อยู่ 2 ประเภท คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1. องค์กรผู้ผลิต 2. ฐานะและบทบาทของกรมประชาสัมพันธ์กับกฎระเบียบของสถานี ผลการวิจัยพบว่า การทำงานร่วมระหว่างองค์กรอย่างเป็นทางการ กับองค์กรแบบไม่เป็นทางการ ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องมาจากการบริหารหรือการจัดการ บุคลากร อุปกรณ์ และงบประมาณ ที่ไม่เอื้ออำนวย และพบว่าการควบคุมทางการเมืองยังคงมีอิทธิพลต่อการบริหารและการกำกับดูแลสื่อของรัฐ ส่วนปัจจัยภายนอกที่ เกี่ยวข้องได้แก่ 1. อิทธิพลทางการเมืองกับนโยบายของรัฐบาล 2. วัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารของสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลแทรกแซงทางการเมืองภายนอกที่เข้ามาควบคุมการบริหารขององค์กร ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อรายการด้วย รวมทั้งอิทธิพลจากวัฒนธรรมการสื่อสารของสังคมไทยที่ไม่นิยมความก้าวร้าวของพิธีกรผู้ดำเนินรายการ
Other Abstract: The objectives of this research are twofold. Firstly, it is aimed to study how the popular television program, Mong Tang Moom, was founded and developed. Secondly, it is aimed to find out what factors have an effect on the presentation of this talk show. The analysis framework is based on the concept of the role of the organization in charge of the production of this TV program, TV program, TV channel 11, as the government’s media. In this study, the method of qualitative research is used to analyse the contents of this TV program from the recorded video tapes, broadcasted on channel 11. Research methods also include an in-depth interview of prominent people involved, the researcher’s participation in the production process and a study of research documents as well as printed matter. It was found that this TV program consists of six components: 1. the format, contents and presentation 2. the questions raised by the audience and the selection of the questions by the host of the TV program 3. the guest speakers 4. the host of the TV program 5. the audience, and 6. the process of the program production. These six components have been changed and developed since the foundation of the TV program. In the first phase, this program dealt with diverse contents and guests speakers with different professions were invited. Later, however, it focused on more political issues and most of the guest speakers were politicians. Regarding the factors influencing the presentation of the TV program, it was found that the major factors are inside factors and outside factors. The inside factors include 1. the organization responsible for the production of the TV program and 2. the status and the role of the Public Relations Department as well as the regulations TV channel 11 has to follow. Also, research findings indicated that the cooperation between a formal organization and a non-formal organization had met with little success, resulting from the problems of either administration or management, personnel, equipment and a tight budget. It was also found that control from political organizations still has an influence on the management an supervision of the government’s media. Regarding the outside factors, it was found that they include 1. Political influence and the government’s policies and 2. Communication culture of Thai society. The research finding also indicated that outside intervention from political factors that control the management of the producing organization has an influence on this TV program. Finally, it was found that the audience disapproved of the aggressive manner of the TV anchorman.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31534
ISBN: 9746340638
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penpun_po_front.pdf759.14 kBAdobe PDFView/Open
Penpun_po_ch1.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Penpun_po_ch2.pdf714.3 kBAdobe PDFView/Open
Penpun_po_ch3.pdf972.23 kBAdobe PDFView/Open
Penpun_po_ch4.pdf7.71 MBAdobe PDFView/Open
Penpun_po_ch5.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Penpun_po_ch6.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Penpun_po_back.pdf631.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.