Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31539
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประนอม โอทกานนท์-
dc.contributor.authorเพ็ญพักตร์ ยอดน้ำคำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-05-29T04:27:22Z-
dc.date.available2013-05-29T04:27:22Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.isbn9745688568-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31539-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมอนามัยด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับงานควบคุมโรคเรื้อนของครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อนกลุ่มอาการสงบ และกลุ่มอาการไม่สงบ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อนกลุ่มอาการสงบมีพฤติกรรมอนามัยด้านความรู้เกี่ยวกับงานควบคุมโรคเรื้อนดีกว่าครอบครัวผู้ป่วยกลุ่มอาการไม่สงบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ใน 11 ข้อคือ (1) โรคเรื้อนเกิดจากเชื้อโรคขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (2) โรคเรื้อนไม่ติดต่อโดยกินอาหารหรือน้ำร่วมกับผู้ป่วย (3) คนทุกคนมีโอกาสเป็นโรคเรื้อนได้ไม่เท่ากัน (4) โรคเรื้อนหากรีบรักษาแต่ต้นอย่างสม่ำเสมอจะหายและไม่พิการ (5) โรคเรื้อนใช้ระยะเวลารักษาต่างกันขึ้นกับอาการ (6) การเตือนให้ผู้ป่วยไปตรวจตามนัดแสดงว่าเห็นความสำคัญของการรักษา (7) ผู้อยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยควรตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละครั้ง (8) การตรวจร่างกายผู้สัมผัสร่วมบ้านช่วยให้ค้นพบผู้ป่วยได้ตั้งแต่ระยะแรก (9) การป้องกันโรคเรื้อนระยะทุติยภูมิวิธีง่ายที่สุด ซึ่งทำด้วยตนเองได้คือการตรวจสอบอาการทางผิวหนัง (10) หากไม่สามารถไปตรวจร่างกายได้ตามนัด การกระทำที่ถูกคือรีบไปตรวจในเวลาใกล้เคียงกัน (11) ความพิการในผู้ป่วยโรคเรื้อนสามารถป้องกันและแก้ไขได้ 2. ครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อนกลุ่มอาการสงบมีพฤติกรรมอนามัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับงานควบคุมโรคเรื้อนดีกว่าครอบครัวผู้ป่วยกลุ่มอาการไม่สงบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ใน 8 ข้อคือ (1) การที่ผู้ป่วยโรคเรื้อนเดินผ่านมาใกล้ ๆ ไม่ทำให้ท่านติดโรค (2) พร้อมที่จะแนะนำให้สมาชิกอื่นลดความรังเกียจผู้ป่วย (3) ผู้ป่วยโรคเรื้อนสามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ (4) พร้อมที่จะแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันทีเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ (7) ยินดีแนะนำเพื่อนบ้านที่มีอาการน่าสงสัยให้ไปตรวจ (8) พร้อมจะตรวจอาการผิดปกติทางผิวหนังให้แก่สมาชิกในครอบครัว 3. ครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อนกลุ่มอาการสงบพฤติกรรมอนามัยด้านการปฏิบัติตนเกี่ยวกับงานควบคุมโรคเรื้อนดีกว่าครอบครัวผู้ป่วยกลุ่มอาการไม่สงบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกข้อยกเว้น 1 ข้อคือ (1) อ่านเอกสารความรู้เรื่องโรคเรื้อนที่เจ้าหน้าที่แจกให้-
dc.description.abstractalternativeThis research was attempted to study and compare the leprosy control health behavior concerning “Knowledge” “Attitude” and “Practice” between inactive and active groups of leprosy families that were registered at the Leprosy Control Zone Twelve. The major findings: 1. The families of inactive group had better mean score of “Knowledge” than the families of active group at the 0.05 level of significance in 11 items: (1) The leprosy is caused by an organism (2) The leprosy is not transmitted by elementary tract. (3) A chance to be a leprosy patient is unequal (4) Early and regular treatment lead to the sucess of curation and prevention of deformity (5) The time spent in treatment of leprosy depends on the severity of disease (6) Warning the patient of their medical appointment is an expression of therapeutic participation. (7) The contact of leprosy patient should have physical check up at least one time a year. (8) Leprosy patient in early stage can be found out by physical examination of the contact. (9) The simplest way of secondary prevention which can be performed by oneself is skin examination. (10) Physical examination as soon as possible can be compensated the missing of medical appointment. (11) The prevention and correction of deformity caused by leprosy is possible. 2. The families of inactive group had better mean score of “Attitude” than the families of active group at the 0.05 level of significance in 8 items: (1) Leprosy can not be transmitted by causal contact. (2) Prompted to give guidance to the others to understand patient (3) Leprosy patient can be treated at home (4) Prompted to notify health personel when patient change their address (5) Health service available for leprosy patient in every health station (6) Informed health personel when the patient has complication (7) To be glad to give guidance for the suspect to get physical examination (8) Prompted to give skin examination to the member at home 3. The families of inactive group had better mean score of “Practice” than the families of active group at the 0.05 level of significance in every items except the item namely “Reading paper distributed by leprosy health personel.”-
dc.format.extent1128417 bytes-
dc.format.extent1364684 bytes-
dc.format.extent3571674 bytes-
dc.format.extent1242349 bytes-
dc.format.extent3123641 bytes-
dc.format.extent2266992 bytes-
dc.format.extent2715733 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปรียบเทียบพฤติกรรมอนามัยของครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อน กลุ่มอาการสงบและกลุ่มอาการไม่สงบ ศูนย์โรคเรื้อนเขต 12en
dc.title.alternativeA comparison of health behaviop between inactive and active groups of leprosy patient 's families, the center of leprosy control zone twelveen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penpugtr_yo_front.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Penpugtr_yo_ch1.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Penpugtr_yo_ch2.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open
Penpugtr_yo_ch3.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Penpugtr_yo_ch4.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Penpugtr_yo_ch5.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Penpugtr_yo_back.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.