Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31598
Title: การเปรียบเทียบคะแนนของแบบสอบความเรียงที่ได้จากวิธีการตรวจต่างแบบ
Other Titles: A comparison of essay type-test scores from different scoring methods
Authors: อรุณี เร้าอรุณ
Advisors: อุทุมพร จามรมาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ คะแนนของแบบสอบความเรียงค่าความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจ ค่าความเที่ยงของการตรวจซ้ำของผู้ตรวจคนเดียวกัน ที่ได้จากวิธีตรวจ 3 วิธี คือ วิธีตรวจแบบอิงประเด็นที่กำหนด วิธีตรวจแบบอิงการเรียงคุณภาพ และวิธีตรวจแบบอิงความประทับใจและเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากวิธีการตรวจทั้ง 3 แบบ กับคะแนนที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญตรวจ แบบสอบที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบความเรียงกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นพร้อมทั้งเกณฑ์การตรวจ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้ตอบซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2535 จำนวน 30 คน ที่สุ่มจากประชากรจำนวน 520 คน และกลุ่มผู้ตรวจซึ่งเป็นครูสอนในกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 คน ที่สุ่มจากประชากร 14 คน ผู้วิจัยถ่ายสำเนาคำตอบนักเรียนทั้งหมด จำนวน 9 ชุด เพื่อให้ผู้ตรวจจำนวน 6 คน และผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เป็นผู้ตรวจให้คะแนน ผลการวิจัยพบว่า 1. วิธีตรวจแบบอิงประเด็นที่กำหนดมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของกลุ่มตัวอย่างต่ำที่สุด ส่วนวิธีตรวจแบบอิงความประทับใจมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงสุดแต่ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายของวิธีตรวจแบบวิธีตรวจแบบอิงประเด็นที่กำหนดมีค่าสูงกว่าวิธีตรวจแบบอิงความประทับใจ และแบบอิงการเรียงคุณภาพตามลำดับ 2. วิธีตรวจแบบอิงการเรียงคุณภาพและวิธีตรวจแบบอิงความประทับใจต่างให้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าวิธีตรวจแบบอิงประเด็นที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าวิธีตรวจแบอิงความประทับใจให้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าวิธีตรวจแบบอิงการเรียงคุณภาพ 3. วิธีตรวจแบบอิงการเรียงคุณภาพและวิธีตรวจแบบอิงความประทับใจต่างมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าวิธีตรวจของผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าวิธีตรวจแบบอิงประเด็นที่กำหนดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าวิธีตรวจของผู้เชี่ยวชาญ 4. วิธีตรวจแบบอิงประเด็นที่กำหนดมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจสูงกว่าวิธีตรวจแบบอิงการเรียงคุณภาพ และแบบอิงความประทับใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับค่าความเที่ยงของการตรวจซ้ำ ของผู้ตรวจทั้ง 6 คน ไม่สามารถสรุปได้ว่าแตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this study were to compare the Essay Type-Test scores, Interrater Reliabilities, Intrarater Reliabilities obtained from the three different scoring methods: Point method, Sorting method and Impression marking method, and to compare these scores with experts' marked scores. The Essay Type-Test was developed by the researcher in order to cover the content area of life experiences of Prathom Suksa Six. The samples consisted of 30 Prathom Suksa Six students in Nakorn Pathom Province randomly assigned to take the tests and 6 teachers and 3 experts who had experiences in teaching the life experiences in Prathom Suksa Six. The 30 answer sheets were copied for each of 9 scorers. The results of study were as follows: 1. The scores obtained by the point method showed the lowest mean and SD, while those obtained by the impression marking method showed the highest mean and SD. The coefficient of variation of scores obtained by the point method showed larger value than those obtained by the other two methods. 2. The mean score of the sorting as well as the impression marking methods was higher significant than that of the point method, (p<.01). 3. The mean score of the sorting, and the impression marking methods was higher significant than that of the expert marked method, (p<.01). 4. The Interrater Reliability value of the point method was higher significant than that of the sorting method and that of the impression marking method, (p<.05)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31598
ISBN: 9745834726
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunee_ra_front.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_ra_ch1.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_ra_ch2.pdf12.64 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_ra_ch3.pdf21.45 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_ra_ch4.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_ra_ch5.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_ra_back.pdf8.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.