Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31802
Title: พฤติกรรมเชิงวัฏจักรของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ
Other Titles: Cyclical behavior of international capital flows
Authors: วรพรรธน์ ชุติมา
Advisors: ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Teerana.B@Chula.ac.th, Teerana@hotmail.com
Subjects: การเคลื่อนย้ายเงินทุน
การลงทุนของต่างประเทศ
เงินทุน
Capital movements
Investments, Foreign
Capital
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาพฤติกรรมเชิงวัฎจักรของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศในแต่ละประเภทและศึกษาความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายแต่ละประเภทที่แต่ละช่วงเวลา เราใช้ข้อมูลรายไตรมาสของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ตั้งแต่ มี.ค. 2536 – ธ.ค. 2550 สำหรับส่วนแรก เราสกัดส่วนวัฎจักรออกจากข้อมูลอนุกรมเวลาแต่ละชุด จากนั้นนำส่วนวัฎจักรไปหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ข้าม และทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลของเงินทุนเคลื่อนย้ายกับวัฎจักรธุรกิจ และสำหรับส่วนที่สอง เราแยกเงินทุนเคลื่อนย้ายออกเป็น 7 ช่วงเวลาย่อยโดยใช้การแปลงเวฟเลตเต็มหน่วย แล้วหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในแต่ละช่วงเวลา จากผลการศึกษา เราพบว่า (1) เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิโดยภาพรวมและเงินกู้จากต่างประเทศเกิดขึ้นในทิศทางเดียวกันกับวัฎจักรธุรกิจ (2) เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินลงทุนในตราสารทุนเกิดขึ้นในทิศทางตรงกันข้ามกับวัฎจักรธุรกิจ (3) เงินลงทุนในตราสารหนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับวัฎจักรธุรกิจ (4) เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิและเงินกู้จากต่างประเทศเป็นทั้งสาเหตุและทั้งผลของวัฎจักรธุรกิจ (5) เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ, เงินลงทุนในตราสารทุน และเงินลงทุนในตราสารหนี้เป็นเพียงผลของวัฎจักรธุรกิจ (6) ที่ช่วงเวลายาว จะมีความผันผวนน้อยกว่าที่ช่วงเวลาสั้น จากผลการศึกษาข้างต้น เพื่อลดโอกาสที่เงินทุนเคลื่อนย้ายจะสร้างความผันผวนแก่วัฎจักรธุรกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกมาตรการเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้เพื่อเพิ่มทางเลือกและความสะดวกให้กับการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งจะทำให้สัดส่วนในการลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้นและสัดส่วนในการกู้เงินจากต่างประเทศลดลง ส่วนเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ กับเงินลงทุนในตราสารทุนนั้นเป็นเงินทุนที่ช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ จึงควรออกมาตรการเพื่อเพิ่มการพึ่งพิงเงินทุนดังกล่าว
Other Abstract: The research is aimed at studying cyclical behavior and volatility of international capital flows disaggregated into types and time scales. We used quarterly series (Mar. 1993 to Dec. 2007) of capital flows and gross domestic product. For first objective, we extracted cyclical component from each series. Then, we calculated cross correlation coefficient. Also, we performed causality test. For second objective, we decomposed capital flows into 7 sub-time scales with discrete wavelet transformation. Then, we calculated standard deviation in each time scale. Research findings showed that (1) capital net flows and foreign loan were pro-cyclical; (2) foreign direct investment and portfolio equity investment were counter-cyclical; (3) portfolio debt investment was a-cyclical; (4) capital net flows and foreign loan were both cause and effect of business cycle; (5) foreign direct investment, portfolio equity investment and portfolio debt investment were effect of business cycle; (6) the volatility in long range time scale was lower than in short range time scale. From the results above, to minimize volatility in business cycle caused by international capital flows. The policy makers should issue measures to develop bond market to induce portfolio debt investment inflow which may lessen foreign loan inflow proportion. Moreover, they should encourage foreign direct investment and portfolio equity investment inflows since these flows stabilize business cycle.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31802
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1418
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1418
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vorapat_ch.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.