Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31851
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุริชัย หวันแก้ว-
dc.contributor.authorอังคณา อาตมียะนันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-06-03T05:02:54Z-
dc.date.available2013-06-03T05:02:54Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745677175-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31851-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มุ่งสนใจศึกษาบทบาทขององค์กรพัฒนา เอกชนในการผลักดันส่งเสริมให้เกิดองค์กรประชาชนที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชนและศึกษาถึงบทบาทการทำงานขององค์กรประชาชนดังกล่าวว่าจะสามารถเป็นตัวแทนของประชาชนในการพัฒนาอย่างเป็นอิสระและยังประโยชน์ให้ชุมชนอย่างแท้จริงหรือไม่ โดยที่ผู้ศึกษาได้ใช้กรณีศึกษาของโครงการพัฒนาชนบทแควระบม-สียัด ว่ามีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดกลุ่ม ธนาคารข้าว ธนาคารควาย และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการพัฒนาและศึกษาบทบาทการทำงานของกลุ่มทั้งสาม ว่าจะสามารถแก้ปัญหาและทำประโยชน์ให้กับชุมชนอย่างเป็นตัวของตัวเองหรือไม่ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนคือ ๑. การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง บทความ และผลงานวิจัยต่าง ๆ ๒. ข้อมูลจากการวิจัยสนาม ซึ่งจะเป็นข้อมูลจาก ๒.๑ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความต่อเนื่อง โดยเข้าไปอาศัยในชุมชน ๒.๒ การสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วยการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการตามแนวสัมภาษณ์ และการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งผู้ที่อยู่ในข่ายการสัมภาษณ์ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ หรือนักพัฒนาขององค์กร พัฒนาเอกชน และประชาชนในพื้นที่โครงการ จากการศึกษาพบว่า องค์กรพัฒนามีบทบาทที่สำคัญ ๔ ด้าน คือ บทบาทในการปรับตัว (Adaptation) บทบาทในการกระตุ้น (Agitator) บทบาทในการระดมทรัพยากร (Resource Mobiliser) และบทบาทในการประสานงาน (Coordinator) ที่มีส่วนผลักดันส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของตนเอง จนในที่สุดสามารถสร้างแกนนำในการพัฒนาคือ กลุ่มธนาคารข้าว ธนาคารควาย และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการพัฒนา ซึ่งกลุ่มเหล่านี้สามารถสร้างการยอมรับ และระดมความร่วมมือของประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการก่อการและดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มต้นตลอดทั้งขบวนการ ชาวบ้านมีความเข้าใจในกลุ่มทั้ง 3 และมีความรู้สึกผูกพันและเป็นเจ้าของ รวมทั้งให้ความร่วมมือในการดำเนินการเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังสามารถตกลงสร้างกฎเกณฑ์ร่วมกันได้ และทุกคนก็มีความเคารพในกติกาที่ร่วมกันสร้าง สามารถสรุปได้ว่ากลุ่มทั้ง 3 ทำให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นต่าง ๆ ของการพัฒนา คือ ๑. มีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาวิเคราะห์สาเหตุ พิจารณาแนวทางแก้ไข ๒. มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ไข และวางโครงการแก้ปัญหา ๓. มีส่วนร่วมปฏิบัติตามโครงการที่วางไว้ ๔. มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ที่ได้จากโครงการ ๕. มีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ บทบาทการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชนดังกล่าว นอกจากจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา และสามารถแก้ปัญหาและสนองความต้องการของชาวบ้านอย่างตรงเป้าหมายแล้ว ได้กลายเป็นสถาบันของชุมชนที่บทบาทในการแก้ปัญหาของธนาคารข้าว ธนาคารควาย และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการพัฒนา สามารถประสานกับกระบวนการสร้างความมั่นคงให้แก้ตัวกลุ่มทั้ง 3 เอง จนสามารถทำให้ กลุ่มธนาคารข้าว ธนาคารควาย และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการพัฒนา สามารถพัฒนาตนเองขึ้นจนกลายเป็นสถาบันที่ได้รับยอมรับจากชาวบ้าน และสามารถมีส่วนในการพัฒนาความคิดของชาวบ้าน จนกระทั่งเกิดความรู้สึกนึกคิดที่เชื่อมั่นและพร้อมที่จะดิ้นรนเพื่อแก้ไขปัญหาของตนเอง รวมทั้งสามารถพัฒนาความร่วมมือกันในหมู่บ้าน เกิดสำนึกตระหนักถึงหน้าที่ของตนในชุมชนที่จะต้องแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนกลายเป็นวิถีชีวิตที่ดีงามของชุมชนในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเกิดกระบวนการพัฒนาที่ประชาชนมีส่วนร่วมเกิดกลุ่มแกนนำที่กลายเป็นสถาบันของชุมชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาขึ้นภายในชุมชนแล้วก็ตาม แต่ก็มีขีดจำกัดมากมายในการดำเนินการพัฒนาที่จะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งขีดจำกัดดังกล่าวจะเป็นขีดจำกัดที่มาจากลักษณะโครงการเอง ได้แก่ ลักษณะการบริหารของโครงการลักษณะของการทำงานที่ขาดการกระจายข่าวสาร ขาดการรวดเร็วในการรับผลประโยชน์ และการขาดแคลนทรัพยากรของโครงการในการดำเนินการ ขีดจำกัดที่มาจากภาวะแวดล้อมของโครงการ ได้แก่ ขีดจำกัดทางกายภาพ, ขีดจำกัดทางเศรษฐกิจ, ขีดจำกัดทางสังคม, ขีดจำกัดทางการเมือง, ขีดจำกัดทางวัฒนธรรม และขีดจำกัดทางประวัติศาสตร์-
dc.description.abstractalternativeThis is study of the role of Non-governmental organization in the supporting people-organizations as vehicles of people’s participation in development. It is a case study of Kwairrabom-Seeyad Development project. The major aspect considered are the role of the Porject in support of rice bank, buffalo bank and the cooperation in development and the success achieved by the people’s organizations, both in overcoming immediate community problems and in acting as change agent for further development of the community. This study is devided in to two main parts. The first part is an inquity, based on documentation about the suitability an conditions for non-government organization to participate in national development. The second part is field research of the case study. Participant observation and unstructured interview with interview guide is employed. From this findings, it appears that the role of the non-government organization is adaptation agitator, resource-mobiliser and coordinator, the role of non-government organization can support of people participation in development and can astablish ricebank, buffalo bank and cooperation in development. This groups and vehicles of people’s participation in development. This groups and vehicles of people’s participation in development. People can participate in 5 stages which are 1. Find the problems of community 2. Decision making 3. Implementation 4. Benefits 5. Evaluation This part of the study also found that people organization can play a role in tackling the problems of poorer members of the community, an also acted as a change agent for the future development of the community. We can say that such people-organizations are facing the test of being institutionalized for the community. Although non-government organization can support people’s participation and institutions in the community there are also many limitations. The limitations are physical factors administrative accessibility and impoverish resources.-
dc.format.extent11006740 bytes-
dc.format.extent31140374 bytes-
dc.format.extent32706671 bytes-
dc.format.extent20948933 bytes-
dc.format.extent14675760 bytes-
dc.format.extent5758425 bytes-
dc.format.extent7021418 bytes-
dc.format.extent4461898 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนในการส่งเสริมการพัฒนา แบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาชนบทแควระบม-สียัดen
dc.title.alternativeThe role of non-governmental organizations in partictdatory development : the case study of Kwairrabom Seeyad development projecten
dc.typeThesises
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Angkana_ar_front.pdf10.75 MBAdobe PDFView/Open
Angkana_ar_ch1.pdf30.41 MBAdobe PDFView/Open
Angkana_ar_ch2.pdf31.94 MBAdobe PDFView/Open
Angkana_ar_ch3.pdf20.46 MBAdobe PDFView/Open
Angkana_ar_ch4.pdf14.33 MBAdobe PDFView/Open
Angkana_ar_ch5.pdf5.62 MBAdobe PDFView/Open
Angkana_ar_ch6.pdf6.86 MBAdobe PDFView/Open
Angkana_ar_back.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.